"ทะเลสองห้อง" คร่าชีวิตนักดำน้ำอีกราย คาดเจอภาวะ "น้ำหนีบ" จนหมดสติใต้น้ำ

"ทะเลสองห้อง" คร่าชีวิตนักดำน้ำอีกราย คาดเจอภาวะ "น้ำหนีบ" จนหมดสติใต้น้ำ

"ทะเลสองห้อง" คร่าชีวิตนักดำน้ำอีกราย คาดเจอภาวะ "น้ำหนีบ" จนหมดสติใต้น้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเวลา 16.30 น.ของวันที่ 3 มีนาคม 2564 ร้อยตำรวจเอกอนันต์ พานิชกุล พนักงานสอบสวน สภ.ทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รับแจ้งเหตุนักดำน้ำ ได้เกิดอุบัติเหตุขณะดำน้ำลึกในสวนสาธารณะทะเลสองห้อง หมู่ 6 ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ ส่งผลให้มีนักดำน้ำเสียชีวิต 1 ราย หลังจากนั้นจึงเข้าทำการสอบสวนในที่เกิดเหตุพร้อมด้วยหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ทุ่งใหญ่สนธิกำลังเข้าให้การช่วยเหลือ

ในที่เกิดเหตุพบว่ามีนักประดาน้ำยังอยู่ในชุดดำน้ำลึกพร้อมอุปกรณ์ดำน้ำลึกชั้นสูง เสียชีวิตอยู่บนผิวน้ำเจ้าหน้าที่จึงกู้ร่างขึ้นมาจากน้ำแล้วปลดอุปกรณ์ออกจากร่าง ต่อมาทราบชื่อคือนายต่อศักดิ์  วรินทร์ชัยกมล อายุ 47 ปี สภาพศพไม่พบบาดแผลใดๆ ชุดประดาน้ำยังอยู่ในสภาพเรียบร้อย

ก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลได้ความว่านายต่อศักดิ์ พร้อมด้วยเพื่อนที่เป็นนักดำน้ำลึกได้นัดหมายกันมาดำน้ำชมทะเลสองห้อง ต่างได้ลงดำไปด้วยความเชี่ยวชาญในการดำน้ำลึก ขณะที่อุปกรณ์ของนายต่อศักดิ์ได้ระบุระดับลึกที่สุดที่ดำลงไปได้ถึง 79.4 เมตร ใช้เวลาในการดำน้ำ 25 นาที โดยก่อนหน้าที่จะขึ้นนั้นนายต่อศักดิ์ได้ส่งสัญญาณมือกับเพื่อนว่ากำลังมีปัญหาแล้วลอยตัวขึ้นมา สันนิษฐานว่าขณะที่กำลังลอยตัวขึ้นจากระดับความลึกอาจเกิดภาวะน้ำหนีบทำให้หมดสติและเสียชีวิตจนอุปกรณ์พาลอยขึ้นมาจนถึงผิวน้ำ ขณะที่เพื่อนที่ขึ้นสู่ผิวน้ำภายหลังพบว่านายต่อศักดิ์ลอยอยู่จึงเข้าไปช่วยเหลือจึงพบว่าเสียชีวิตไปแล้วจึงแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ

สำหรับแหล่งดำน้ำที่เกิดเหตุมีชื่อว่า “ทะเลสองห้อง” เป็นแหล่งน้ำจืด มีลักษณะมีความลึกที่ยังไม่มีใครสามารถวัดได้ โดยนักวิชาการได้ระบุสัณฐานธรณีวิทยาว่า เป็นปล่องภูเขาไฟสมัยดึกดำบรรพ์ ที่หมดสภาพไปแล้ว และกลายเป็นโพรงถ้ำลึกที่มีน้ำท่วมขัง โดยมีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำนี้มีความลึกที่สุดในทวีปเอเชีย เป็นที่นิยมชื่นชอบของนักดำน้ำลึกด้วยอุปกรณ์ชั้นสูง และแม้ว่าผู้ที่เข้าดำน้ำในทะเลสองห้องล้วนแต่เป็นนักดำน้ำประสบการณ์สูง กลับปรากฎว่ามีการเสียชีวิตอยู่แทบทุกปี โดยนายต่อศักดิ์ เป็นรายล่าสุด โดยภาษานักดำน้ำเรียกปรากฏการณ์ที่ส่งผลให้เสียชีวิตในขณะดำน้ำลึกเช่นนี้ว่าภาวะน้ำหนีบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook