ลุงตู่ สุดปลื้ม! "คลองโอ่งอ่าง" คว้ารางวัลระดับโลก การันตีความสำเร็จปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง

ลุงตู่ สุดปลื้ม! "คลองโอ่งอ่าง" คว้ารางวัลระดับโลก การันตีความสำเร็จปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง

ลุงตู่ สุดปลื้ม! "คลองโอ่งอ่าง" คว้ารางวัลระดับโลก การันตีความสำเร็จปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกฯ ปลื้ม "คลองโอ่งอ่าง" ได้รางวัลระดับโลก ตอกย้ำความสำเร็จการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

วันนี้ (14 มี.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความยินดีที่โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ได้รับรางวัล 2020 Asian Townscape Awards จากโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Programme: UN-HABITAT) ถือเป็นความภาคภูมิใจในความสำเร็จของโครงการพัฒนาคูคลองของกรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

ขณะเดียวกัน โครงการนี้จะเป็นต้นแบบของการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ในการปรับปรุงพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ส่งผลในแง่บวกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

“นายกรัฐมนตรีติดตามการพัฒนาและบริหารจัดการคลองโอ่งอ่างมาโดยตลอด ได้พบว่าประสบความสำเร็จทั้งด้านเศรษฐกิจและการยอมรับ มีหลากหลายกิจกรรมสามารถดึงดูดความสนใจ กลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานครได้ในเวลาอันรวดเร็ว ที่สำคัญยังเป็นต้นแบบของการพัฒนาบริเวณโดยรอบคูคลองให้กับพื้นที่อื่นๆ ให้กลับมามีชีวิตชีวา” รองโฆษกรัฐบาลระบุ

นอกจากนี้ น.ส.ไตรศุลี กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณคูคลอง เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เฉพาะในกรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงและอยู่ในระหว่างการปรับปรุงคลองแล้วหลายสาย เช่น คลองหลอด คลองผดุงกรุงเกษม คลองลาดพร้าว คลองช่องนนทรี โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การปรับภูมิทัศน์พื้นที่เมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

มีการวางแนวทางการปรับปรุงที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวชุมชน รักษาเอกลักษณ์ของพื้นที่ พร้อมเพิ่มกิจกรรมใหม่ๆ ให้มีความหลากหลาย ทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยรอบคูคลองให้กลายเป็นที่พักผ่อนของประชาชน รวมถึงการเชื่อมโยงการเดินทาง ซึ่งผลที่ได้มาคือ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะถูกพัฒนาต่อยอดไปจากมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับวิถีชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook