ฮือฮา! หลวงพ่อทันใจ 6 แผ่นดิน พระโบราณจากหินศิลาแลง นิ้วโป้งขวางอกเหมือนเล็บยาว
ฮือฮา หลวงพ่อทันใจ 6 แผ่นดิน พระโบราณจากหินศิลาแลง นิ้วโป้งขวางอกเหมือนเล็บยาวสีเหลืองทอง
(27 มี.ค. 64) ที่วัดห้วยหมู ตั้งอยู่หมู่บ้านห้วยหมู หมู่ที่ 9 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทันใจ (หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านห้วยหมู เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินศิลาแลง “ปางมารวิชัย” อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี เป็นศิลปกรรมไทยสร้างสมัยรัตนโกสินทร์ ปี 2445 ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของอุโบสถเก่าร้อยปีที่สร้างโดยช่างชาวเขมร ที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านห้วยหมู
หลวงพ่อทันใจ (หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านห้วยหมูให้ความเคารพและศรัทธามายาวนานตั้งแต่เกิดหมู่บ้านห้วยหมู จากแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวบ้านห้วยหมูที่ต้องการมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ชาวบ้านต่างเชื่อและรำลือกันว่า หลวงพ่อทันใจ องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขอพรอะไรมักจะสำเร็จทันใจสมปรารถนาในทุกๆ เรื่อง แต่ที่สร้างความฮือฮาให้กับชาวบ้านที่เข้ามากราบไว้คือ ที่นิ้วโป้งพระหัตถ์ขวาชี้ลงพื้นธรณี เกิดปรากฏการณ์เล็บงอกยาวสีเหลืองทอง ออกมาจากนิ้วโป้งหัวแม่มือพระหัตถ์ขวา
นางสุพรตา ชมเชย ชาวชุมชนบ้านเอื้ออาทรราชบุรี หมู่ที่ 10 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง กล่าวว่า ตนได้มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่อทันใจองค์นี้มากๆ เพราะตนเองมีความเดือนเนื้อร้อนใจ เกี่ยวกับบ้านที่อยู่อาศัย จึงได้เข้ามากราบไหว้ และบนบานสารกล่าวต่อหลวงพ่อทันใจ เมื่อปี 2562 จนกระทั่งสามารถซื้อบ้านหลังที่อยู่อาศัยได้สำเร็จตามที่มาบนบานศาลกล่าวไว้ ซึ่งสำเร็จทันใจไม่ถึง 2 สัปดาห์ และเมื่อราวเดือน สิงหาคม ปี 2563 ตนได้มาขอพรจากหลวงพ่อทันใจ และสังเกตเห็นที่นิ้วมือหัวแม่โป้งพระหัตถ์ขวาเกิดปรากฏการณ์เล็บงอกยาวสีเหลืองทอง ที่เกิดจากหยดน้ำมันรักที่ทาองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ชาวบ้านได้ปิดทอง มีการหยดคล้ายคลึงกับหินยอกหินย้อยภายในถ้ำ หากมองไกลๆ แล้วเสมือนเล็บที่งอกออกมาจากนิ้วโป้งหัวแม่มือพระหัตถ์ขวา ตนจึงได้ไปบอกต่อๆ กับชาวบ้าน สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก
ขณะที่พระครูธรรมธรกษิดิ์เดช สุมิตฺโต พระเลขาเจ้าอาวาสวัดห้วยหมู กล่าวว่า วัดห้วยหมู เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้น เมื่อพ.ศ. 2445 รัตนโกสินทรศก 121 หรือ ร.ศ. 121 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 5 โดยตามตำนานกล่าวว่าชาวเขมรเป็นผู้สร้างวัดขึ้น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวาเดิมสภาพพื้นที่วัดมีลำห้วยและมีรูปหมูป่ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยหมู” ต่อมามีพระธุดงค์มาจากเขมร ได้มาปักกลด ซึ่งชาวบ้านได้เกิดความเลื่อมใสได้นิมนต์พระรูปดังกล่าวให้อยู่เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านห้วยหมู จึงได้สร้างที่พักสงฆ์ และตั้งวัดขึ้นพร้อมทั้งตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน
วัดห้วยหมูได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรห้วยหมูมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส คือ รูปที่ 1 พระสาม รูปที่ 2 พระครูอมรธรรมรัตน์ (หลวงปู่พร้อม) และในปี พ.ศ. 2522 – 2527 พระครูสมุห์น้อย เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ปี พ.ศ. 2528 – 2530 รูปที่ 4 คือ พระขวัญชัย และรูปที่ 5 พระครูจันทสีลากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน
หลังจากที่ได้สร้างอุโบสถได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2545 และสร้างเสร็จเมื่อปี 2546 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร พระครูอมรธรรมรัตน์ (หลวงปู่พร้อม) เจ้าอาวาส รูปที่ 2 ได้อัญเชิญ หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ หรือ (หลวงพ่อทันใจ) มาประดิษฐานไว้ภายในโบสถ์ เพื่อให้ประชาชนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จนกระทั่งพระขวัญชัย ได้นิมนต์หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ (หลวงพ่อทันใจ) จากภายในอุโบสถ์มาตั้งที่ด้านหน้าอุโบสถ เพื่อให้ชาวบ้านที่มีแรงศรัทธาได้กราบไว้และปิดทองกัน
พระครูธรรมธรกษิดิ์เดช สุมิตฺโต เล่าต่อว่า จากนั้นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูจันทสีลากร ได้ทำการบูรณะ อุโบสถและหลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ เมื่อปี 2560 และได้ขุดพบพระโบราณ จำนวนมากเช่นกัน และลูกนิมิตที่ทำจากหินสิลาแรง จำ 10 ลูก โดยได้นำมาตั้งไว้ที่ข้างพลวงร้อยปีมุนีนาถ ซึ่งชาวบ้านได้มากราบไหว้ และศรัทธาจำนวนมากทั้งในจังหวัดราชบุรี และ ในต่างจังหวัด จากนั้นพระครูจันทสีลากร เจ้าอาวาสวัดฯ ได้ตั้งชื่อจาก “หลวงพ่อร้อยปีมุนีนาถ” ขึ้นใหม่ว่า “หลวงพ่อทันใจ” เนื่องมีญาติโยมได้มากราบไหว้ขอพรและสำเร็จทันดัง สมปรารถนา และได้เรียกหลวงพ่อทันใจเรื่อยมา