ชาวเน็ตขอคำตอบ โควิดสายพันธุ์อังกฤษหลุดเข้ามาได้อย่างไร ทั้งที่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ชาวเน็ตขอคำตอบ โควิดสายพันธุ์อังกฤษหลุดเข้ามาได้อย่างไร ทั้งที่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ชาวเน็ตขอคำตอบ โควิดสายพันธุ์อังกฤษหลุดเข้ามาได้อย่างไร ทั้งที่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพากันสงสัยและต้องการคำตอบจากภาครัฐ เมื่อวันพุธ (7 เม.ย.) ว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) สายพันธุ์อังกฤษเล็ดลอดเข้ามาได้อย่างไร ทั้งที่มีการบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าสภาวะปกติ

ข้อสงสัยดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดเผยจากหลายฝ่ายว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 นี้ ที่ระบาดหนักในกลุ่มผู้ใช้บริการสถานบันเทิงย่านทองหล่อและตลาดบางแค ในกรุงเทพมหานคร อยู่นี้ และมีการระบาดไปยังหลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ที่แพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดก่อนหน้านี้

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันพุธ (7 เม.ย.) ว่าไวรัสสายพันธุ์อังกฤษนี้ ระบาดรวดเร็วกว่าถึง 1.7 เท่า

ไม่ใข่แค่นั้น ศ.นพ.ยง ยังกล่าวระหว่างการแถลงข่าวกับกระทรวงสาธารณสุขเมื่อเช่นเดียวกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า ตนเองก็ยังสงสัยว่าสายพันธุ์นี้หลุดเข้ามาในไทยได้อย่างไร ทั้งที่มีการกักตัวผู้เดินทางเข้าแล้ว

ด้านแพทย์และนักร้อง โอ๊ค-สมิทธิ์ อารยะสกุล โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า เท่าที่ตนทราบ วัคซีนหนึ่งใน 2 ยี่ห้อที่รัฐบาลไทยนำเข้ามาฉีดให้ประชาชน คือ ยี่ห้อ ซิโนแวค มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สายพันธุ์อังกฤษ ค่อนข้างต่ำ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าวัคซีนให้เสรีมากกว่านี้ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการป้องกันตัวเองมากขึ้น

"เท่าที่ทราบล่าสุด เหมือนรอบนี้เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ที่การป้องกันด้วย sinovac น่าจะได้น้อย ควรคิดถึงตัวเลือกอื่นๆด้วยหรือไม่ครับ" โอ๊ค สมิทธิ์ โพสต์

ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยอ้างว่านำมาใช้ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มามากกว่า 1 ปี แล้ว แต่ยังพบว่ามีการระบาดของโรคโควิด-19 หลายระลอก ทั้งที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าปกติ

ข้อมูลการฉีดวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ระบุว่า ไทยฉีดวัคซีนให้กับประชาชนไปแล้วเพียง 257,484 โดส จากประชากรกว่า 69 ล้านคน หรือคิดเป็นเพียง 0.31% เท่านั้น ถือเป็นอัตราต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook