เช็กด่วน! หมอเผย 12 ข้อสังเกต อาการโควิด-19 สายพันธุ์จากทองหล่อ
วันนี้ (10 เม.ย.64) พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ออกมาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอาการของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์จากพื้นที่ทองหล่อ กรุงเทพฯ เทียบกับการแพร่ระบาดจากพื้นที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วย 60 คน และรับผู้ป่วยมา 5 วัน
ต่อมามีชาวเน็ตช่วยกันแปลภาษาทางการแพทย์ ให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ดังนี้
- ระยะเวลาการเกิดโรคและแสดงอาการชัดเจนมาก 2-3 วันหลังสัมผัสเชื้อ
- อาการตอนแรกจะปวดเมื่อยเป็นหลักเหมือนไข้ต่ำๆ เจ็บคอนิดๆ แต่ไม่เป็นอะไรเยอะ
- อาการที่เกี่ยวข้องกับลำไส้และทางเดินอาหาร มีมาก่อนได้ เจอประมาณ 3 คน (5%) ที่มีอาการถ่ายเหลวนำมาก่อน ซึ่งสายพันธุ์เดิมก็มีถ่ายเหลวได้แต่จะเกิดขึ้นในวันหลังๆ
- ไข้เด่นมาก (หมายถึง มีไข้นำมาก่อนชัดเจนมากและไข้สูง) หลายคนมีไข้ 38.5-39.0 องศา มาเยอะตอนวันหลังๆ ประมาณวันที่ 3-4 ของการมีอาการ
- ปวดเมื่อยตามตัวตามช่วงที่มีไข้ คนไข้จะบอกว่าปวดหนักๆ ลึกๆ ปวดกระดูกเป็นพักๆ
- มีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนบน (ไอ น้ำมูก จาม เจ็บคอ) บ้าง แต่ไม่เยอะ แบบหวัดธรรมดา
- กลิ่นยังโอเค ได้กลิ่นดี กินข้าวไม่อร่อยบ้างแต่ยังรับรสดีอยู่ อาจจะเป็นเพราะมาพบแพทย์เร็ว ต้องดูอีกทีสัปดาห์หน้า
- ปอดบวมมีบ้าง แต่ดูไม่เยอะเท่ารอบแรก แต่ที่ได้ยินเวลาโรคมีการเปลี่ยนแปลงจะแย่ลงเร็วมาก ให้ระวัง ที่เจอยังไม่เยอะ อาจจะเป็นวันแรกๆก็ได้ สัปดาห์หน้ามาดูกันใหม่
- เม็ดเลือดขาวต่ำกว่ารอบแรก รอบนี้ประมาณ 3,000 และเป็นชนิด ลิมโฟไซต์ 800-1500 เกร็ดเลือดค่อนต่ำหลายคน
- ผู้หญิงหลายคนดูฟิล์ม (แปลผลอาการปอดอักเสบ) ยากกว่าเดิมมาก เพราะทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกกันเยอะ
- ติดเชื้อแล้วไม่แสดงอาการ ไม่มาก แค่ 5% ได้
- ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมไวรัสโควิด (Cycle threshold ยิ่งผลตรวจออกมาได้ค่า Ct น้อยๆ แสดงว่ามีเชื้อไวรัสเยอะ เพราะทำแค่ไม่กี่รอบก็สามารถเพิ่มสารพันธุกรรมจนตรวจเจอได้แล้ว) รอบนี้ ต่ำประมาณ 10 กว่า เยอะมาก
สิ่งที่กังวลคือ จะให้ผู้ป่วยกลับบ้านหลังจากดูอาการและคนไข้ไม่มีอาการแล้ว 10 วันได้หรือไม่ และไวรัสสายพันธุ์ใหม่ยังจะแอบแพร่เชื้อได้หรือไม่