อนุทิน ลั่นเจรจาซื้อวัคซีนโควิดสารพัดยี่ห้อ แต่ส่งไม่ทัน พ.ค. สักราย ย้ำเป้าฉีดวงกว้าง มิ.ย.

อนุทิน ลั่นเจรจาซื้อวัคซีนโควิดสารพัดยี่ห้อ แต่ส่งไม่ทัน พ.ค. สักราย ย้ำเป้าฉีดวงกว้าง มิ.ย.

อนุทิน ลั่นเจรจาซื้อวัคซีนโควิดสารพัดยี่ห้อ แต่ส่งไม่ทัน พ.ค. สักราย ย้ำเป้าฉีดวงกว้าง มิ.ย.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเมื่อวันอังคาร (20 เม.ย.) ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกับ ไฟเซอร์ บริษัทยาจากสหรัฐ เพื่อซื้อวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แล้ว แต่ติดปัญหาเรื่องการจัดส่งที่ไม่ทันความต้องการของไทย

รัฐมนตรีรายนี้กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมายังมีการเจรจาซื้อวัคซีนโควิด-19 กับบริษัทอีกหลายแห่ง แต่ก็ติดปัญหาเดียวกันหมด จะมีแต่วัคซีนของซิโนแวคเท่านั้นที่จัดหามาได้

อย่างไรก็ตาม นายอนุทินยังคงยืนยันเป้าหมายหลักของไทย คือ การให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในวงกว้างภายในเดือน มิ.ย. ปีนี้

จ่อขึ้นทะเบียนให้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

นายอนุทิน กล่าวถึงวัคซีนโควิด-19 ที่แอสตร้าเซนเนก้า บริษัทยาจากสหราชอาณาจักร พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดว่า สัปดาห์นี้ องค์การอาหารและยา (อย.) จะขึ้นทะเบียนอนุมัติไซต์การผลิตวัคซีนแล้ว และที่ผ่านมา การผลิตวัคซีนของไทยได้มาตรฐานดีมาก คิดว่าทุกอย่างจะดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ ส่วนแผนการในขณะนี้ คือ การฉีดวัคซีนให้บุคลากรการแพทย์ให้ครบ 100%

ยาโควิดมีพอ เตียงด้วย

ส่วนข้อกังวลเรื่องจำนวนยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกัน นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ได้รับรายงานมา ยังมีจำนวนเพียงพอ และตนได้สั่งการให้จัดหาเข้ามาเรื่อยๆ ยาฟาวิพิราเวียร์ ต้องมีสต็อกอย่างน้อย 500,000-1 ล้านเม็ด ส่วนสถานที่รองรับผู้ป่วย มีนโยบายว่า ผู้ติดเชื้อ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ เราต้องทำทุกทางเพื่อรักษาชีวิตประชาชน มีความเป็นห่วงเรื่องข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นประเด็นที่สังคมสนใจ ขอให้ประชาชนรับข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ควบคู่กันเพื่อตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งอื่น เพราะทางกระทรวงอธิบายตามข้อเท็จจริง โดยผู้ที่ทำงานจริง เข้าใจสถานการณ์จริง ก่อนหน้านี้ มีหมอจากจังหวัดภาคเหนือ ออกมากล่าวว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่พอ ก็ต้องให้ส่วนกลางชี้แจงว่ามีเพียงพอจนเข้าใจ ซึ่งคุณหมอได้ออกมาทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ว่าหลายฝ่ายกังวลว่าผู้ป่วยรายใหม่มีแนวโน้มมีอาการรุนแรงขึ้นและเตียงอาจจะไม่พอ ว่าตอนนี้ได้เตรียมเตียงไอซียูไว้รองรับแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาจะเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนในต่างจังหวัดมีผู้ป่วยไม่มากก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะมีการบริหารจัดการที่กระจายอำนาจไปซึ่งมีทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาล มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ อสม. บูรณาการกันทำงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook