ใกล้วิกฤต! เตียงไอซียู กทม. รับมือโควิดได้ไม่เกิน 20 วัน วอนประชาชนล็อกดาวน์ตัวเอง

ใกล้วิกฤต! เตียงไอซียู กทม. รับมือโควิดได้ไม่เกิน 20 วัน วอนประชาชนล็อกดาวน์ตัวเอง

ใกล้วิกฤต! เตียงไอซียู กทม. รับมือโควิดได้ไม่เกิน 20 วัน วอนประชาชนล็อกดาวน์ตัวเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เตียงไอซียู กทม. รับมือโควิดได้ไม่เกิน 20 วัน หลังขยายเตียงแล้ว กรมการแพทย์วอนประชาชนร่วมมือ ล็อกดาวน์ตัวเอง 2 สัปดาห์ ช่วยกันดึงกราฟคนติดเชื้อลง

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดนั้น ยังมีส่วนที่มีปัญหาคือ เตียงไอซียู โดย ไอซียูในต่างจังหวัดไม่มีปัญหา มีปัญหาเฉพาะ เตียงไอซียู กทม. ซึ่งจากข้อมูลตอนนี้ รวมรพ.ทุกสังกัด มีประมาณ 700 เตียง แต่ตอนนี้ว่างอยู่ประมาณ 140 เตียง หากตัวเลขผู้ติดเชื้อยังสูง และมีผู้อาการหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็คาดกันว่าเตียง ICU จะรองรับได้ประมาณ 10 วัน

ปัจจุบัน รพ.แต่ละแห่ง ไปขยายเตียงไอซียู เพิ่มเติม ก็คาดว่าจะสามารถรองรับได้ 20 วัน โดยทำ ICU Cohort ทั้งนี้ เฉลี่ยคนรักษาในไอซียู 14-20 วัน ดังนั้นต้องพยายามเอาคนติดเชื้อเข้าสถานพยาบาลเพื่อให้ได้รับการดูแล คนสีเหลืองอ่อน ๆ ต้องได้รับยา เพื่อที่อาการจะได้ไม่หนัก แบบนี้ไอซียูถึงจะเพียงพอ

“ทุกคนต้องช่วยกันดึงกราฟคนติดเชื้อลง ช่วง 2 สัปดาห์นี้ต้องล็อกดาวน์ตัวเอง ไม่ควรกินข้าวร่วมกันแม้แต่คนในครอบครัวก็ตาม” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

สำหรับภาพรวมการบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน ในต่างจังหวัดไม่มีปัญหา เพราะบริหารจัดการโดยกระทรวงสาธารณสุขฝ่ายเดียว ส่วนในพื้นที่กทม. ที่เป็นปัญหาอยู่นั้น เพราะมีหลายหน่วยงานที่ดูแล จึงต้องขอความร่วมมือทุกหน่วยงานในการทำฮอทพิเทล เพื่อแยกคนที่อาการสีเขียวเข้าไปอยู่ ตอนนี้หาได้กว่า 5,000 – 6,000 เตียง มีการเข้าอยู่แล้วประมาณ 3,000 คน

นอกจากนี้ ยังพยายามจัดคนที่อาการอยู่ในขั้นเหลืองอ่อนไปอยู่ที่สถาบันธัญญารักษ์ 200 เตียงซึ่งรับเข้าแล้ว 50 คน วันนี้จะส่งเข้าอีก 50 คน จากนั้นพยายามให้รพ.ต่างๆ รวมถึงโรงเรียนแพทย์ผ่องถ่ายคนไข้สีเขียวออกมาอยู่รพ.สนาม และฮอทพิเทลแทน เพื่อรีบเอาคนที่ที่อาการเหลืองแก่ ไปจนถึงแดงเข้าไปรักษาใน รพ.

ด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สพฉ. ดำเนินการรับส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ในหลายส่วน ได้แก่ 1. ประสานข้อมูลกับสายด่วน 1669 1668 และ 1330 เป็นหลัก 2. นำข้อมูลที่มาจ่ายให้ทีมที่เข้ามาสนับสนุน เช่น มูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร ร่วมกตัญญู รวมถึงรถพยาบาลจากบริษัทเอกชน รถจากจิตอาสา

นอกจากนี้ ยังเร่งระดมกำลังจากหลายภาคส่วน เช่น เครือรพ.เอกชนในหลายแห่ง รถจากกองทัพ หน่วยงานจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่จะสนับสนุนรถกระบะเข้ามาช่วย

ปัจจุบัน สพฉ. มีบุลคลากรที่สามารถปฏิบัติงานได้เฉลี่ยวันละ 40-50 คน รถรับส่งประมาณ 20 คัน ซึ่งกำลังระดมเพิ่มอยู่ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว รถ 1 คันจะรับได้ 3-4 รายขึ้นอยู่กับลักษณะของรถ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและแดง จะเป็น 1 รายต่อรถพยาบาล 1 คัน ทั้งนี้ สายด่วน 1669 จะมีการคัดกรองผู้ที่ติดต่อเข้ามาตามระบบปกติ แต่ครั้งนี้เป็นภารกิจสำคัญ เพื่อรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะ ไม่ได้เป็นการรับข้อมูลตรงจากประชาชน แต่จะรับข้อมูลจากสายด่วน 1668 1669 และ 1330 เป็นหลัก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook