อธิบดีศาลอาญา เฉลยเหตุผลไม่ให้ประกันแกนนำม็อบ ในคำร้องไร้เงื่อนไขจะไม่ทำผิดซ้ำ

อธิบดีศาลอาญา เฉลยเหตุผลไม่ให้ประกันแกนนำม็อบ ในคำร้องไร้เงื่อนไขจะไม่ทำผิดซ้ำ

อธิบดีศาลอาญา เฉลยเหตุผลไม่ให้ประกันแกนนำม็อบ ในคำร้องไร้เงื่อนไขจะไม่ทำผิดซ้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิบดีศาลอาญา โต้ ทนายม็อบ อย่าสร้างกระแสกดดัน ยืนยันการยื่นเงื่อนไข 7 แกนนำ ต่างจากชุด "ไผ่ ดาวดิน-สมยศ-หมอลำแบงค์" ชี้ในคำร้องไม่ระบุเสนอเงื่อนไขจะไม่กระทำซ้ำ

วันนี้ (30 เม.ย.) นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึงหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราว กรณียกคำร้องแกนนำม็อบราษฎรหลายครั้งว่า การปล่อยชั่วคราวตามสิทธิสามารถกระทำได้ตลอด แต่ต้องดู ป.วิอาญา เกี่ยวกับเรื่องการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวว่าก่อนหน้านี้ที่ศาลไม่ให้ประกันเป็นเพราะเหตุใด เพราะที่ศาลมีคำสั่งให้ประกันก่อนหน้านี้ ซึ่งการพิจารณาจะพิจารณาตามลักษณะภาพและการกระทำของจำเลยแต่ละคนในคดีที่ถูกฟ้องว่าได้กระทำอะไรบ้าง จึงไม่อนุญาตโดยอาศัยหลักตามมาตรา 108/1 ที่ว่าหากให้ประกันแล้ว เกรงว่าจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น

ซึ่งเหตุนี้มีความหมายว่า เป็นเรื่องที่กระทำมาแล้ว แล้วจะกลับไปกระทำอีก ส่วนผิดหรือไม่ผิดเอาไว้อีกที ในเมื่อฟ้องมาแล้วว่าทำอย่างนี้ เมื่อปล่อยไปก็ไปกระทำอีก อันนี้ก็เป็นเหตุอันตรายประการอื่นก็ได้หรือเป็นเหตุอันตรายประการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ คือ ไปก่อเรื่องอื่นที่ผิดกฎหมาย เรื่องอื่นอันนี้ก็อยู่ในขอบเขตคำนี้ ศาลก็พิจารณาถึงข้อนี้จึงไม่อนุญาตไป

ทั้งนี้ นายสิทธิโชติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การขอประกันครั้งต่อไป จึงต้องดูว่าสิ่งที่ศาลไม่อนุญาตเพราะเหตุใด และจำเลยหรือผู้ต้องหาจะสามารถแก้ไขเหตุนั้นหรือทำให้เหตุนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้วเหมือนกรณีของ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ และนายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงค์ ที่ทั้ง 3 ได้แถลงต่อศาลเองว่าจะไม่กระทำแบบเดิม และศาลก็รับเงื่อนไข

เมื่อถามว่าทนายความอ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวโดยใช้เงื่อนไขเดียวกับ 3 คนก่อนหน้านี้ นายสิทธิโชติ ยืนยันว่า ไม่ใช่ ในคำร้องที่ยื่นมาเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา แตกต่างกับ 3 คนที่ได้ประกันตัว ในหลายประเด็น โดยในส่วนของ 3 คนนั้น ตัวจำเลยเองเป็นคนลงชื่อในคำร้องและยืนยันต่อศาลขอให้ศาลทำการไต่สวนและแถลงต่อศาลด้วยตนเองว่าจะไม่กระทำลักษณะที่ถูกฟ้องและจะไม่ก่อเหตุร้ายประการอื่น ส่วนข้อกำหนดอื่นก็ให้ศาลสั่ง

ซึ่งศาลเองก็ไม่สามารถสั่งอย่างอื่นได้ ต้องสั่งตาม ป.วิอาญา มาตรา 108/1 ที่ว่า จะไม่ก่อเหตุร้ายประการอื่น ศาลก็จะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เพราะจำเลยเป็นผู้เสนอเงื่อนไขเองและจำเลยก็เป็นคนแถลงเอง ไม่ใช่ทนายความเป็นคนแถลงแต่ฝ่ายเดียว จึงแตกต่างกัน ส่วนที่ทนายความยื่นคำร้องเมื่อวาน (29 เม.ย.) ทนายยื่นเอง ในเนื้อหาก็ไม่ได้พูดถึงเลย พูดเพียงแต่ว่าให้ศาลกำหนดเงื่อนไขเอา ซึ่งศาลจะไปบังคับก็ไม่ได้ ศาลจะไม่บังคับใคร แต่ว่าหากตัวจำเลยเห็นว่าสิ่งที่ศาลสั่งว่าเกรงจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น ที่ศาลก็บอกแล้วว่าที่ไม่ให้ประกันเกรงจะไปกระทำซ้ำในความผิดที่ฟ้อง และจำเลยตัดสินใจจะไม่กระทำแบบนั้นอีก พร้อมยอมรับในกระบวนการยุติธรรมศาลก็จะพิจารณา

แต่เมื่อวานทนายไม่ได้ยื่นรายละเอียดว่าจำเลยจะไม่ทำอะไรบ้างตามที่ศาลเคยสั่งไป อีกทั้งจำเลยยังไม่เคยพูดหรือไม่เคยเขียนรายละเอียดอะไรเลย แม้กระทั่งวันที่ออกมาศาลมาพิจารณาพร้อมกับหมอลำแบงค์ ตัวจำเลยคนอื่นก็อยู่ด้วยกันตลอด จำเลยทั้ง 7 คนที่ยื่นประกันก็ไม่เสนอเงื่อนไขอะไร เงื่อนไขที่อ้างว่าเจ็บป่วยก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ทางราชทัณฑ์ก็ยืนยันตลอด คือ มันไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ตรงกัน สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความกดดันต่อความรู้สึกผู้พิพากษา ซึ่งผู้พิพากษาจะต้องทำงานโดยปราศจากความกดดันใดๆ ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม Sanook News ทำการค้นข้อมูลของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) มาตรา 108/1 พบว่าบัญญัติเอาไว้ดังนี้

มาตรา 108/1 : การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี

(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ

(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook