กลุ่มเส้นด้ายเปิด “บ้านเส้นด้าย” หาสถานที่กักตัวผู้ป่วยโควิด-19 หวังลดการแพร่เชื้อ

กลุ่มเส้นด้ายเปิด “บ้านเส้นด้าย” หาสถานที่กักตัวผู้ป่วยโควิด-19 หวังลดการแพร่เชื้อ

กลุ่มเส้นด้ายเปิด “บ้านเส้นด้าย” หาสถานที่กักตัวผู้ป่วยโควิด-19 หวังลดการแพร่เชื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลุ่มเส้นด้าย นำโดยนายคริส โปตระนันทน์ นักกฎหมายผู้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและผู้ก่อตั้งกลุ่มเส้นด้าย เปิดโครงการ “บ้านเส้นด้าย” (Zendai’s Home) เพื่อประสานงานหาสถานที่รองรับการกักตัวผู้ป่วยโควิด-19 และลดการแพร่เชื้อ

เส้นด้าย - Zendai

นายคริสเปิดเผยว่า หลังจากที่กลุ่มเส้นด้าย ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 และได้ลงพื้นที่รับส่งผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมมือกับสถานพยาบาลต่างๆ พบว่าการกักตัวผู้ป่วยในระดับสีเขียว คือผู้ที่มีอาการไม่มากหรือไม่แสดงอาการ ยังคงมีปัญหาอยู่ กล่าวคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะต้องกลับไปกักตัวที่บ้าน เนื่องจากเตียงในโรงพยาบาลเต็ม ทว่าสภาพแวดล้อมทางบ้านของผู้ป่วยกลับไม่เอื้อต่อการกักตัว ไม่ว่าจะเป็นการอยู่รวมกันหลายคนในพื้นที่จำกัด การอยู่ในชุมชนแออัด หรือแม้กระทั่งการกักตัวมากกว่า 4 คน ในห้องเดียว

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มเส้นด้ายจึงประสานงานไปยังโรงพยาบาลเอกชน ที่มีโฮสปิเทลในเครือข่าย และสามารถรองรับผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียวได้พอสมควร โดยเบื้องต้นมีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเตรียมพร้อมรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มาดูแล 50 ราย และหากโรงพยาบาลหรือโรงแรมใดสนใจเข้าร่วมโครงการ ก็สามารถติดต่อกลุ่มเส้นด้ายได้ทันที

สำหรับเงื่อนไขของผู้ป่วยที่จะเข้ารับการกักตัวกับโครงการบ้านเส้นด้าย มีดังนี้

  • เป็นผู้ป่วย สีเขียว ที่มีผลตรวจรับรอง
  • อายุ 18 ปี ขึ้นไป
  • มีข้อจำกัดด้านการเงิน
  • บ้านที่ใช้กักตัวมีสภาพแออัด เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ

อย่างไรก็ตาม นายคริสระบุว่า ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ กทม. ต้องมีผู้รับผิดชอบหน้าที่นี้ และเริ่มเชื่อมต่อการทำงานกับทุกภาคส่วน พร้อมทิ้งท้ายว่า การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ การติดอยู่ในกรอบปฏิบัติตามขั้นตอนเดิมอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา จึงจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ไม่กระทบต่อระบบของภาพใหญ่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook