รัฐบาลอินเดียวอนบริษัทโซเชียลมีเดีย ให้ลบคอนเทนต์ที่ใช้คำว่า "โควิดสายพันธุ์อินเดีย"

รัฐบาลอินเดียวอนบริษัทโซเชียลมีเดีย ให้ลบคอนเทนต์ที่ใช้คำว่า "โควิดสายพันธุ์อินเดีย"

รัฐบาลอินเดียวอนบริษัทโซเชียลมีเดีย ให้ลบคอนเทนต์ที่ใช้คำว่า "โควิดสายพันธุ์อินเดีย"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐบาลอินเดียหวั่นเสียภาพลักษณ์ประเทศ วอนบริษัทโซเชียลมีเดีย ลบเนื้อหาเกี่ยวกับ "โควิดสายพันธุ์อินเดีย" ให้ใช้ "B.1.617" แทน

รอยเตอร์รายงานว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดีย ได้ร่อนจดหมายถึงบริษัทด้านสื่อโซเชียลมีเดียหลายแห่ง เพื่อขอให้ลบเนื้อหาใดๆ ก็ตามที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่ใช้คำว่า "สายพันธุ์อินเดีย" (Indian variant) ออกจากแพล็ตฟอร์มของโซเชียลมีเดีย

รายงานระบุว่า ทางการอินเดียกังวลว่าการใช้คำว่า "สายพันธุ์อินเดีย" จะสร้างความเสียหายเชิงภาพลักษณ์ต่อประเทศ โดยประสงค์ให้ใช้คำว่าสายพันธุ์ "B.1.617" แทน

ตอนหนึ่งในจดหมาย รัฐบาลนิวเดลีอ้างเหตุผลการใช้คำว่าสายพันธุ์อินเดียนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากในรายงานขององค์การอนามัยโลกนั้น ไม่เคยระบุว่ามีโควิดสายพันธุ์นี้ และอนามัยโลกไม่เคยเชื่อมโยงคำว่า สายพันธุ์อินเดีย (Indian variant) กับสายพันธุ์ที่ใช้รหัสพันธุ์กรรมว่า B.1.617 ในรายงานใดๆ เลย

11 พฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อปีที่แล้ว อยู่ในประเภทไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลระดับโลก (Variant of Global Concern) ซึ่งสะท้อนว่าโควิด-19 พันธุ์อินเดียเป็นภัยคุกคามต่อระบบสาธารณสุขในทั่วโลกอย่างมาก จากลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นคือการแพร่กระจายเชื้อเร็ว ตรวจพบยากขึ้น และมักลงเข้าสู่ปอดเมื่อพบการติดเชื้อจากพันธุ์ดังกล่าว

หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลนิวเดลีเผยกับรอยเตอร์ว่า จดหมายดังกล่าวที่ส่งถึงบริษัทโซเชียลมีเดีย เพื่อแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนของรัฐบาลว่า การเอ่ยชื่อ "สายพันธุ์อินเดีย" นั้นเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดและส่งผลเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

อย่างไรก็ดี ผู้บริหารบริษัทโซเชียลมีเดียรายใหญ่แห่งหนึ่งกล่าวว่า การแบนเนื้อหาที่เกี่ยวกับคำว่า "สายพันธุ์อินเดีย" นั้นทำได้ยากเนื่องจากมีโพสต์ดังกล่าวเป็นล้านๆ ทั้งคำดังกล่าวยังอยู่ในรายงานข่าวของสื่อระดับโลกหลายสำนัก

ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้วบรรดาแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมักตั้งชื่อเรียกของสายพันธุ์ไวรัสตามแหล่งต้นกำเนิดที่พบ อาทิ สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกา หรือสายพันธุ์บราซิล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook