ย้อนเรื่อง กุลี ในประวัติศาสตร์และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

ย้อนเรื่อง กุลี ในประวัติศาสตร์และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

ย้อนเรื่อง กุลี ในประวัติศาสตร์และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กุลี เป็นภาษาฮินดี สะกดว่า Guli ส่วนภาษาอังกฤษ สะกดว่า Coolie มีความหมายตรงกันคือ กรรมกรรับจ้างทำงานทุกชนิด หรือ คนรับจ้างแบกหามแบบที่เรียกในเมืองไทยว่าจับกังนั่นเอง

การนำเข้าแรงงานอพยพชาวเอเชียเข้าสู่อาณานิคมของชาวยุโรปในทวีปอเมริกาและตามหมู่เกาะที่เป็นอาณานิคมนั้นเกิดขึ้นเป็นขบวนการใหญ่โตเมื่อชาวยุโรปและอเมริกันเกิดความละอายใจและเกิดกลัวบาปขึ้นมาจากการจับมนุษย์มาบังคับให้เป็นทาส จึงยกเลิกการค้าทาสจากแอฟริกาและการสิ้นสุดของการเป็นทาสในฐานะที่เป็นรูปแบบของแรงงานที่ต้องการในพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากในอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกาเช่น ฝ้าย อ้อย ยาสูบ ฯลฯ

ชาวอังกฤษเป็นผู้ทดลองใช้แรงงานกุลีครั้งแรก หลังจากเกิดแรงกดดันทางสังคมและการเมืองนำไปสู่การยกเลิกการค้าทาสทั่วจักรวรรดิอังกฤษในปี 2376 โดยมีชาติอื่นๆ ในยุโรปพากันเลิกค้าทาสตามหลัง

สำหรับสหรัฐอเมริกาเองก็เพิ่งเลิกทาสในปี 2408 ทำให้อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานอย่างมากในอาณานิคมเช่นในไร่ฝ้าย ไร่อ้อย ในกิจการเหมืองแร่และการก่อสร้างทางรถไฟต้องถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีแหล่งกำลังคนมาเป็นแรงงาน ทำให้แรงงานกุลี (ส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียและชาวจีน) เพื่อเติมเต็มช่องว่างของการใช้แรงงานทาสนั่นเอง

สำหรับสยามประเทศของเราก็ใช้แรงงานกุลีจีนเป็นล่ำเป็นสันมนการขุดคลองรังสิตสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (บางทีก็เรียกทางรถไฟสายมรณะเพราะกุลีจีนเป็นจำนวนมากต้องตายจากไข้ป่าหรือมาเลเรียนับหมื่นคนทีเดียว)

ส่วนรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะสร้างรางรถไฟข้ามทวีปจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงสุดท้ายซึ่งมีความยาว 3,077 กิโลเมตรโดยจ้างบริษัทยูเนียนแปซิฟิกกับบริษัทเซ็นทรัลแปซิฟิกแข่งกันวางรถไฟจากตะวันออกไปตะวันตกและจากตะวันตกไปตะวันออกให้บรรจบกันแบบว่าถ้าใครวางรางรถไฟได้เร็วกว่าสามารถกินแดนของบริษัทตรงข้ามได้มากเท่าไรก็จะได้ กำไรมากขึ้นเท่านั้นซึ่งทางบริษัทเซ็นทรัลแปซิฟิกได้จ้างกุลีชาวจีนตัวเล็กๆ เป็นหลักเพราะหากรรมกรไม่ได้จริงๆ

ส่วนบริษัทยูเนียนแปซิฟิกได้ว่าจากพวกไอริชอพยพซึ่งเป็นฝรั่งตัวโตกับบรรดาทหารผ่านศึกของสงครามกลางเมืองเป็นหลักปรากฎว่าทางบริษัทเซ็นทรัลแปซิฟิกสามารถวางรางรถไฟกินแดนของบริษัทยูเนียนแปซิฟิกไปมากเพราะกุลีจีน
ทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำมีประสิทธิภาพเหนือว่ากรรมกรฝรั่งตัวโตๆ อย่างเทียบกันไม่ได้ทีเดียวแต่ในพิธีตอกเข็มทอง 4 เล่ม

เมื่อทางรถไฟของบริษัททั้ง 2 มาบรรจบกันในการก่อสร้างถึง 6 ปีที่ดินแดนยูทาร์ปรากฎว่าจากรูปถ่ายในงานพิธีที่ยิ่งใหญ่นี้ที่มีผู้คนมานับพันคนกลับไม่มีรูปกุลีจีนเลยแม้แต่คนเดียว

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลจีนได้ส่งกุลีจีนกว่า 140,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ไม่รู้หนังสือจากประเทศจีนตอนเหนือไปเป็นแรงงานในกองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส โดยกุลีจีนเหล่านี้ต้องเดินทางข้ามมหาสมุทรจากประเทศจีน เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้ง ๆ ที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่จีนไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงเลย แต่รัฐบาลจีนต้องการเขตเช่าของเยอรมนีคืนและหวังว่าอังกฤษและฝรั่งเศสจะผ่อนคลายสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำกับจีนลงบ้างเท่านั้น

กุลีจีนเหล่านี้ไม่ได้รับยศทหาร ไม่มีอาวุธในการสู้รบในสงครามเลยและมีกุลีจีนหลายหมื่นคนตายระหว่างถูกยิงเรือจมขณะเดินทางข้ามมหาสมุทร ทว่ากุลีจีนไร้นามเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในชัยชนะของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรอังกฤษ และฝรั่งเศส ทำงานอยู่หลังแนวรบด้วยค่าแรงต่ำ แบกถุงดินถุงทราย ขนกระสุน ลากซุง ส่งเสบียงอาวุธและอาหาร เก็บกวาดถางพื้นที่ งานส้วมโรงทหาร และขุดซ่อมแซมสนามเพลาะซึ่งยาวประมาณ 2,450 กิโลเมตรโดยเป็นแนวยาวตั้งแต่ทะเลเหนือไปจนถึงเขตแดนประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นแนวหน้าโดยปราศจากอาวุธล้มตายไปเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่ไม่เคยได้รับเกียรติยศแม้แต่การทำพิธีศพรำลึกใด ๆ หรือกระทั่งการเอ่ยอ้างถึงในข้อมูลประวัติศาสตร์ของมหาสงครามครั้งที่ 1 นี้เลย

อนิจจา! กุลีจีนผู้อาภัพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook