ผู้ประกาศข่าว "บีบีซี" เสียชีวิตจากลิ่มเลือดอุดตัน หลังฉีด "แอสตร้าเซนเนก้า" เข็มแรก
สื่อท้องถิ่นอังกฤษรายงานว่า ครอบครัวของ ลิซา ชอว์ ผู้ประกาศข่าววิทยุในเครือของบีบีซีอังกฤษ ซึ่งเธอเสียชีวิตเมื่อ 21 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น เนื่องจากเกิดอาการลิ่มเลือดอุดตันและตกเลือด หลังเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ของ แอสตราเซนเนก้า เพียง 1 สัปดาห์
ตามรายงานระบุว่า ก่อนหน้าการเสียชีวิตชอว์ วัย 44 ปี ผู้ซึ่งไม่ได้มีโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อนใดๆ มีอาการปวดหัวรุนแรง หลังการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรกเพียงไม่กี่วัน และเข้ารับการรักษาด้วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเลือดออกในสมองในแผนกผู้ป่วยหนัก ที่โรงพยาบาลรอยัลวิคตอเรียอินเฟอร์มารีในนิวคาสเซิล สหราชอาณาจักร ได้เพียง 2-3 วัน ก่อนที่จะเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
อย่างไรก็ตามคำแถลงดังกล่าวมีขึ้นจากฝ่ายของครอบครัวผู้เสียชีวิต โดย คาเรน ดิลก์ เจ้าหน้าที่ชันสูตรของโรงพยาบาล เผยว่า การฉีดวัคซีนของแอสตร้าฯ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่สาเหตุของการเสียชีวิตที่แท้จริงนั้นยังไม่สรุปได้อย่างชัดเจน จนกว่าการสอบสวนและรายงานผลชันสูตรจะเสร็จสิ้น รวมถึงยังต้องต้องรอการสอบสวนเกี่ยวกับโรคประจำตัวและประวัติด้านสุขภาพของซอว์ร่วมด้วย
หลังพบกรณีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดที่พบได้น้อยในหมู่ผู้ได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นหนึ่งชาติที่ใช้วัคซีนดังกล่าวเป็นหลัก ได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี สามารถเลือกฉีดวัคซีนของแอสตราเซนเนกาได้ แม้ว่าจะมีการรายงานเรื่องการเกิดลิ่มเลือดและเกล็ดเลือดในระดับต่ำก็ตาม โดยในอังกฤษมี 309 รายที่พบกรณีลิ่มเลือดจากผู้รับวัคซีนแอสตราเซนเนก้า จากผู้รับวัคซีนดังกล่าวกว่า 33 ล้านราย จำนวนนี้เสียชีวิต 58 ราย
จากข้อมูลของหน่วยงานกำกับด้านยาและการดูแลสุขภาพ ระบุว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีนของกลุ่มคนอายุ 40-49 ปีอยู่ที่ราว 10.1 คนต่อ 1 ล้านโดส แต่อัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในกลุ่มคนอายุน้อยของผู้ทีอายุระหว่าง 30-39 จะอยู่ที่ 17.4 คนต่อ 1 ล้านโดส หรือ 1 ต่อ 60
สอดคล้องกับก่อนหน้านี้ที่ โฆษกจากหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาและการดูแลสุขภาพ (MHRA) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ออกมาแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของชอว์ โดยตอนหนึ่งของคำแถลงระบุว่า จะดำเนินการตรวจสอบทุกๆการรายงาน ซึ่งรวมถึงรายงานภายหลังการชันสูตรของชอว์ รวมถึงกรณีของผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจมีความเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีน
จากการตรวจสอบรายงานโดยละเอียดถึงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันควบคู่กับภาวะเกล็ดเลือดต่ำเช่นนี้ พบว่า เคสผลข้างเคียงในลักษณะดังกล่าวยังเกิดขึ้นในจำนวนที่ต่ำมาก โดยความเชื่อมโยงกรณีลิ่มเลือดจากการฉีดวัคซีนนั้นมีประมาณ 1 ใน 100,000 สำหรับคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ขณะที่ความเสี่ยงเสียชีวิตจากลิ่มเลือดในผู้รับวัคซีนทุกช่วงอายุอยู่ที่ประมาณหนึ่งในล้าน