เฟซบุ๊กออกแถลงการณ์ ยืนยัน ไม่ลบโพสต์อ้างโควิด-19 สร้างขึ้นโดยมนุษย์

เฟซบุ๊กออกแถลงการณ์ ยืนยัน ไม่ลบโพสต์อ้างโควิด-19 สร้างขึ้นโดยมนุษย์

เฟซบุ๊กออกแถลงการณ์ ยืนยัน ไม่ลบโพสต์อ้างโควิด-19 สร้างขึ้นโดยมนุษย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในระหว่างที่ทั่วโลกจับตาถึงการเปิดการสืบสวนหาต้นตอของโคโรนาไวรัส โควิด-19 รอบใหม่ ที่ไม่ได้ตัดเรื่องความเป็นไปได้ที่ไวรัสจะหลุดรอดออกมาจากห้องทดลองวิทยาศาสตร์ สื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก ประกาศว่าจะไม่ลบโพสต์ที่กล่าวถึงที่มาของโควิด-19 ว่าเป็นไวรัสที่สร้างขึ้นหรือผลิตขึ้นโดยมนุษย์

นับตั้งแต่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก สื่อสังคมออนไลน์ "เฟซบุ๊ก" ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดการโพสต์เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ว่าด้วยการระบาดของโควิด-19 มาโดยตลอด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เฟสบุ๊ค ประกาศห้ามนำเสนอเนื้อหาที่อ้างว่าโควิด-19 ถูกสร้างขึ้นจากห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของจีน รวมทั้งห้ามนำเสนอข้อมูลเท็จว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพในการต้านโควิดหรือวัคซีนเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์

ล่าสุด เฟซบุ๊ก ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าจะไม่ลบโพสต์ที่อ้างว่าโคโรนาไวรัส โควิด-19 สร้างขึ้นหรือผลิตขึ้นโดยมนุษย์ ในระหว่างที่มีการเปิดการสืบค้นต้นตอของโควิด-19 รอบใหม่ในขณะนี้ และระบุว่าได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขหลายรายที่เกี่ยวข้องกับการรับมือการระบาดของโควิด-19 เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการระบาดใหญ่นี้อย่างใกล้ชิด

จุดยืนล่าสุดของเฟซบุ๊ก มีขึ้นในช่วงที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ สั่งการให้หน่วยงานด้านข่าวกรองสหรัฐฯ พยายามมากขึ้นเป็นเท่าตัวในการสืบค้นต้นตอของโควิด-19 รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะสืบสาวไปถึงห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของจีน

หลังจากที่คณะทำงานของประธานาธิบดีไบเดน เลี่ยงที่จะกล่าวถึงทฤษฎีที่ว่าโควิด-19 สร้างขึ้นหรือผลิตขึ้นโดยมนุษย์มาโดยตลอด และท่าทีล่าสุดของรัฐบาลไบเดนเป็นไปตามข้อเรียกร้องของนักการเมืองฝ่ายพรรครีพับลิกัน ที่โจมตีประธานาธิบดีไบเดนว่าไม่แข็งกร้าวกับจีนมากพอ

ลิซา ฟาซิโอ อาจารย์ด้านจิตวิทยา จาก Vanderbilt University กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการนำเสนอข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลานั้น สะท้อนความยากลำบากในการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่อย่างโควิด-19 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญที่ความเห็นสวนทางกันและปรับเปลี่ยนทรรศนะไปหลังจากมีหลักฐานการศึกษาใหม่ออกมา

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ที่ดูแลเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์จึงไม่ควรจะนิ่งเฉยและต้องติดตามกระแสอยู่เสมอ เพราะการค้นคว้าศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และว่าบางครั้งเราอาจต้องยอมรับว่าคำตอบที่ดีที่สุดในบางเรื่องตอนนี้คือเรายังไม่ทราบแน่ชัด หรือ มีความเป็นไปได้ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะบอกว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ก็ตาม

ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กจะไม่สั่งแบนเนื้อหาบิดเบือนบนแพลตฟอร์ม แต่จะใช้วิธีขึ้นป้ายเตือนให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม หากเป็นเนื้อหาของบุคคลภายนอกเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook