ทำความรู้จัก "แสงซินโครตรอน" เทคโนโลยีไขคดี "น้องชมพู่" วิเคราะห์หลักฐานเส้นขน

ทำความรู้จัก "แสงซินโครตรอน" เทคโนโลยีไขคดี "น้องชมพู่" วิเคราะห์หลักฐานเส้นขน

ทำความรู้จัก "แสงซินโครตรอน" เทคโนโลยีไขคดี "น้องชมพู่" วิเคราะห์หลักฐานเส้นขน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำความรู้จัก "แสงซินโครตรอน" หนึ่งในเทคโนโลยีไขคดี "น้องชมพู่" วิเคราะห์หลักฐานเส้นขนในที่เกิดเหตุ

เมื่อเวลา 15.30 น. (5 มิ.ย.64) ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ซึ่งเป็นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งตรวจวิเคราะห์ผลเส้นขนและเส้นผมที่ในเกิดเหตุใช้เป็นหลักฐานในปิดคดีน้องชมพู่ด้วยเทคโนโลยีซินโครตรอน 

จากการสอบถาม ผศ.ดร.ศุภกร รักใหม่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่าเครื่องซินโครตรอนเครื่องนี้มีที่เดียวในประเทศไทย  และเป็นเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นเทคโนโลยีนี้ปัจจุบันในอาเซียนมีอยู่เพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ ไทยและสิงคโปร์ โดยเครื่องของศูนย์ซินโครตรอนภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถือว่าเป็นเครื่องศูนย์กลางของอาเซียนโดยมีผู้ใช้บริการจากหลายประเทศในอาเซียน

โดยแสงซินโครตรอนสามารถฉายแสงรังสีเอกซ์และมีรังสีเข้มสูงกว่ารังสีปกติจากในห้องแล็บปกติ ทำให้วิเคราะห์ได้ละเอียดกว่า ในการดูองค์ประกอบธาตุในวัตถุ อย่างที่ในห้องบางอย่างไม่สามารถไม่เห็น โดยแสงซินโครตรอนสามารถดูโครงสร้างวัตถุได้หลายระดับ ตั้งแต่ ไมโคร นาโน โมเลกุล จนไปถึงอะตอม อย่างการตรวจเส้นผม อย่างแรกเป็นการตรวจเอกซเรย์โครงสร้าง 3 มิติ จะสามารถแบ่งแยกว่าเป็นขนสัตว์หรือผมมนุษย์และขนบริเวณอื่นได้ พร้อมกับจะแบ่งแยกองค์ประกอบของเส้นขนที่แตกต่างกันไปได้อย่างชัดเจน สามารถบอกได้ว่าองค์ประกอบของเส้นผมมาจากที่เดียวกันหรือไม่ แต่หากจะระบุตัวบุคคลต้องใช้ข้อมูลจากกายภาพหลายๆ อย่างมาประกอบกัน

สำหรับในกรณีคดีน้องชมพู่ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำเส้นผมมาให้ทางสถาบันซินโครตรอนวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบว่าหลักฐานเส้นขนที่ส่งมามีความคล้ายคลึงกันอย่างไรเพื่อไปประกอบสำนวนคดี โดย ผศ.ดร.ศุภกร ยืนยันว่าทางสถาบันได้ให้เพียงข้อมูลเพียงบางส่วน โดยหากจะระบุเป็นตัวบุคคลเจ้าหน้าที่ต้องใช้ข้อมูลข้อมูลทางกายภาพหลายส่วนมาประกอบกัน

ที่ผ่านมาสถาบันซินโครตรอนเคยทำงานแก้ไขคดีร่วมกับตำรวจและ DSI ในคดีเครื่องประดับโบราณซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้นำมาให้สถาบันวิจัยได้ตรวจสอบ และใช้แสงซินโครตรอนในการตรวจพบว่าในเครื่องประดับดังกล่าวมีสารที่ผลิตขึ้นใหม่ซึ่งในสมัยโบราณยังไม่มีการผลิตสารชนิดนี้ จึงทำให้ทราบว่าเครื่องประดับที่อ้างว่าเป็นของโบราณดังกล่าวเป็นของที่ผลิตในสมัยปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันวิจัยซินโครตรอนได้ส่งตัวอย่างหลักฐานที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาให้ตรวจไปเมื่อหลายเดือนที่แล้ว และหากเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการจะให้พิสูจน์หลักฐานใดเพิ่ม ทางสถาบันก็ยินดีที่จะวิเคราะห์ข้อมูลให้




 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook