สร้างเงินออม เผื่อตกงานไม่รู้ตัว

สร้างเงินออม เผื่อตกงานไม่รู้ตัว

สร้างเงินออม เผื่อตกงานไม่รู้ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครๆ ก็อยากอายุยืน แต่คำถามที่ตามมาคือ อายุยืนแล้ว มีเงินพอใช้ตลอดอายุหลังเกษียณไหม ถึงไม่ปรารถนาอายุยาวนาน แต่ด้วยระบบการแพทย์ที่ทันสมัย ความใส่ใจดูแลตัวเอง ทำให้เราอายุยืนขึ้น

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2583 อายุเฉลี่ยเพศหญิงจะเพิ่มขึ้นเป็น 83.2 ปี จาก 80.4 ปี และอายุเฉลี่ยของเพศชายจะเพิ่มเป็น 76.8 ปี จาก 73.2 ปี นั่นหมายความว่าเราจะมีจำนวนปีในการใช้เงินหลังเกษียณเพิ่มขึ้น

กรณีตั้งเป้าใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลา 16-24 ปี ต้องมีเงินเก็บ 1,920,000 บาท – 2,888,000 บาท 

แล้วเงินที่เราเก็บออมในปัจจุบัน พอไหม มาดูกัน?

คนทำงานภาคเอกชน หากทำงานถึงอายุ 60 ปี และส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตลอดชีวิตการทำงาน จะได้เงินหลังเกษียณจากประกันสังคมประมาณคร่าวๆ 5,200 บาทต่อเดือน หรือข้าราชการ ที่มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) เมื่อเกษียณจะมีเงินใช้ต่อเดือนประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน เงินจำนวนข้างต้น หากคุณเป็นหัวหน้าครอบครัวต้องเลี้ยงดูสามี ภรรยา หรือ ลูกๆ ด้วย ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ที่ต้องซื้อหาทุกสิ่ง บอกได้เลยว่า ไม่เพียงพอแน่นอน ยิ่งโลกปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงจาก การเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และโรคใหม่ๆ ไม่มีใครการรันตีได้ว่าเราจะมีงานทำถึงอายุ 60 ปี

การออมเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรต้องเริ่มออมเงิน Let start your journey towards financial freedom now เพื่อสร้างอนาคตให้ได้ตามไลฟ์สไตล์ที่ต้องการ มีรายได้ท่วมรายจ่าย และ ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสบายใจ

แล้วออมเท่าไหร่ถึงจะพอใช้หลังเกษียณ?

ลี กา ชิง (Li Ka-shing) ชาวฮ่องกง มหาเศรษฐีอันดับที่ 42 ของโลก จัดโดย บลูมเบิร์ก ที่เริ่มต้นจากการขายดอกไม้ประดิษฐ์ เคยเขียนบทความแนะนำคนวัยเริ่มต้นทำงาน ออมเงินเพื่ออนาคต 25% หรือ 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน อีก 75% ใช้จ่ายประจำวันตามไลฟ์สไตล์ ทั้งการซื้อบ้าน ซื้อรถ การศึกษา เข้าสังคม ท่องเที่ยว

ที่ปรึกษาทางการเงินหลายคน ต่างก็แนะนำให้ออมเงินเพื่อการเกษียณไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของรายได้ รวมถึงเดวิด บาค ผู้เขียนหนังสือขายดี โดยเฉพาะหนังสือชื่อ เศรษฐีเงินล้านอัตโนมัติ ก็แนะนำให้ออมไม่ต่ำกว่า 12.5% - 25% ของรายได้

ยกตัวอย่าง เงินออมที่จะได้จากการเก็บเงินเดือนละ 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน กรณีเริ่มต้นที่อายุ 25 ปี ด้วยเงินเดือน 18,000 บาท 1 ใน 4 คือ 4,500 บาท จนถึงอายุ 60 ปี จะมีเวลาออม 30 ปี หรือ 360 เดือน จะมีเงินเก็บ 1,620,000 บาท

ในความเป็นจริง เงินเดือนเราจะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนคนไทยอยู่ที่ปีละ 5% มีปีที่แล้วหรือปี 2563 ที่การขึ้นเดือนเฉลี่ยลดลงเหลือ 3.7% ฉะนั้นเงินออม 1 ใน 4 ของรายได้ทุกเดือนจึงเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน

จะออมอย่างไรให้ได้ 1 ใน 4 ของรายได้?

สำหรับมนุษย์เงินเดือน วิธีที่ง่ายที่สุดคือการออมแบบ Top Up จากภาคบังคับ โดยระบบประกันสังคม ที่เราใส่เข้าไปในส่วนที่เป็นกองทุนชราภาพ จะมีสัดส่วน 3% ของเงินเดือน รัฐบาลสมทบเข้ามา 1% ไม่นับรวมส่วนที่เป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ และ การว่างงาน รวมเป็น 4%

กรณีที่บริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) กฎหมายให้ลูกจ้างออมได้ 2-15% โดยเฉลี่ยจะออมกันประมาณ 3% และ นายจ้างสมทบได้ 2-15% แต่โดยเฉลี่ยจะสมทบประมาณ 3% รวมแล้ว 6%

รวมเงินออมภาคบังคับจาก 2 ส่วนที่มีอยู่ในมือตอนนี้ทั้งหมดคือ 10%

เราเพียงออมเพิ่มขึ้นอีก 15% เท่านั้น ก็จะได้เงินออม 1 ใน 4 ของรายได้ ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้มากกว่า 3% หรือออมจนเต็มเพดานที่กฎหมายกำหนด แม้นายจ้างจะสมทบเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เราออมเงินได้แบบอัตโนมัติด้วยการตัดจากบัญชีเงินเดือน ที่จะมีการนำไปลงทุนระยะยาวตลอดอายุการทำงานของเรา แต่มีโอกาสขาดทุนสูง และมีโอกาสสร้างกำไรก้อนโตเช่นกัน เพราะเงินก้อนนี้จะมีการนำไปลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน

อย่างไรก็ตาม สามารถเลือกแผนการลงทุนที่มีความเหมาะสมกับตัวเองได้ก่อนลงทุน และเปลี่ยนแผนการลงทุนได้

  • ออมเงินด้วยการซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่ค้ำประกันเงินต้นหรือประกันบำนาญ ซึ่งจะได้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและเงินเก็บที่มีความมั่นคงในระยะยาวไม่ว่าภาวะการลงทุนจะขึ้นหรือลง เงินต้นเรายังคงอยู่ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้

  • เงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินออมในประกันชีวิต สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

  • ออมเงินด้วยการซื้อสลากออมสิน เงินก้อนนี้ไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ ได้ดอกเบี้ยต่ำ แต่จะเป็นเงินออมที่มั่นคง เพราะเงินต้นยังคงอยู่ และมีโอกาสในการถูกรางวัลถึง 36 งวด และเป็นเงินออมที่มีสภาพคล่องสูง สามารถถอนเมื่อไหร่ก็ได้

  • ออมทองคำ ทั้งในรูปทองแท่ง หรือ ทองรูปพรรณ หรือ เปิดบัญชีลงทุนในทองคำ เพราะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ที่สามารถเปลี่ยนมือได้อย่างรวดเร็ว

การออมทรัพย์อย่างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน หรือ 25% ของรายได้ จึงเป็นเส้นทางที่ต้องเลือกในการเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน หากเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มทำงาน เงินที่ต้องออมในแต่ละเดือนจะไม่มาก และถ้ามีวินัยในการออมทุกเดือนตลอดช่วงเวลาของการทำงาน 30 ปี กาลเวลาจะนำคุณไปสู่ Financial Freedom อิสรภาพทางการเงินหลังเกษียณอย่างแน่นอน

ติดตามบทความดีๆด้านการเงิน จาก PhillipLife Money  รับฟรี ! Line Sticker สวยๆจาก Mr.PhillipLife

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook