ผู้ว่าฯ กุมขมับ! โควิดฉะเชิงเทราไม่เคยแผ่ว คลัสเตอร์ใหม่ผุดรัวๆ รู้ต้นเหตุแต่แก้ไม่ได้

ผู้ว่าฯ กุมขมับ! โควิดฉะเชิงเทราไม่เคยแผ่ว คลัสเตอร์ใหม่ผุดรัวๆ รู้ต้นเหตุแต่แก้ไม่ได้

ผู้ว่าฯ กุมขมับ! โควิดฉะเชิงเทราไม่เคยแผ่ว คลัสเตอร์ใหม่ผุดรัวๆ รู้ต้นเหตุแต่แก้ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ว่าฯ ฉะเชิงเทราเผย ปัญหาโควิด-19 ในพื้นที่ระบาดไม่จบสิ้น เหตุมีแรงงานไปกลับจากพื้นที่สีแดงทุกวัน วันละ 1.1 หมื่นราย

(25 มิ.ย.64) เวลา 18.30 น. ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ผ่านทางสำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่มีมติให้นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องทำการสวอป (Swap) แรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนเองเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด ในทุก 14 วันโดยที่นายจ้างจะต้องออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด

ทั้งนี้นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการ จ.ฉะเชิงเทรา ได้กล่าวถึงสาเหตุว่า ปัจจุบันในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมากถึง 5.4 หมื่นคน โดยที่ยังมีแรงงานต่างด้าวที่ยังต้องเดินทางไปกลับ มาจากในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้มงวดสูงสุดถึง 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี

โดยเป็นลักษณะของการเดินทางเข้ามาแบบวันต่อวัน คือ วันรุ่งขึ้นจะเดินทางเข้ามาทำงานในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และในช่วงเย็นหรือค่ำจะเดินทางกลับไปพักผ่อนยังในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มงวดสูงสุด มากถึง 1.1 หมื่นคนต่อวัน และหลังจากเดินทางกลับไปยังที่พักแล้ว ยังได้มีการเดินทางไปยังสถานที่อื่นๆ อีก ทำให้นายจ้างและทางจังหวัดไม่ทราบ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคได้

ที่ผ่านมาคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา เคยมีมติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว ในการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้าออก จ.ฉะเชิงเทรา ในทุกกรณี แต่มาพบว่ามีการจ้างงานในลักษณะนี้ด้วย จึงทำให้การควบคุมโรคไม่ได้ผล ในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 33/2564 ในวันนี้จึงมีมติให้แรงงานที่ต้องเดินทางไปกลับจากพื้นที่สีแดงต้องสวอปในทุก 14 วันโดยที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

และจากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานจัดหางานจังหวัด ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่าปัจจุบัน จ.ฉะเชิงเทรา มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา เมียนมา และลาว มากถึง 54,694 คน โดยเป็นชาวกัมพูชา มีจำนวนสูงสุด รองลงมาคือเมียนมา และลาว ตามลำดับ และยังพบตัวเลขอีกว่าในจำนวนนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมมากถึง 108 แห่ง ที่มีแรงงานมีลักษณะไปกลับ มาจากพื้นที่ทั้ง 4 จังหวัดดังกล่าว จำนวน 11,000 คน นายไมตรี ระบุ

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook