"โทนี" จัดหนักรัฐบาล เอาแต่สั่งการแบบคนไม่รู้จริง สุดเศร้ามีโรงงานวัคซีน แต่ต้องรอรับบริจาค
Thailand Web Stat

"โทนี" จัดหนักรัฐบาล เอาแต่สั่งการแบบคนไม่รู้จริง สุดเศร้ามีโรงงานวัคซีน แต่ต้องรอรับบริจาค

"โทนี" จัดหนักรัฐบาล เอาแต่สั่งการแบบคนไม่รู้จริง สุดเศร้ามีโรงงานวัคซีน แต่ต้องรอรับบริจาค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายการประจำทุกวันอังคารเว้นอังคารของกลุ่ม CARE คิด เคลื่อน ไทย มักได้ "Tony Woodsome" หรือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยมาร่วมแสดงทรรศนะเป็นประจำในช่วงกว่าสามเดือนที่ผ่านมา

หลายครั้งหลายหนที่อดีตนายกฯ ทุ่มเทพูดถึงการบริหารประเทศในสภาวะวิกฤตในมิติของการสื่อสารภาครัฐที่ไร้ประสิทธิภาพ ครั้งนี้ โทนี กลับมาพูดเรื่องเดิมกับช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จากประเด็นการ "กึ่งล็อกดาวน์" กรุงเทพฯ ที่ประกาศออกมาในช่วงดึก ไปจนถึงการสั่งปิดแคมป์คนงานโดยไร้มาตรการเยียวยา

“รวมอำนาจไว้ที่นายก แต่การสื่อสารจากนายกฯ กลับไม่ชัดเจน”

โทนีถามกลับไปยังรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเหตุใดจึงปล่อยให้การสื่อสารทุกวันนี้สร้างความสับสนให้ประชาชนสูงเช่นนี้ ภาวะดังที่สังคมเกิดความสับสน ผู้คนไม่สามารถเตรียมแผนรับมือได้ แม้ทุกคนจะพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมาตลอด

ในอีกมิติหนึ่ง การบริหารประเทศด้วยการรวมศูนย์ตามฉบับ พล.อ.ประยุทธ์ ก็นับว่าเป็นกลยุทธ์โลกเก่าและปัจจัยสำคัญอยู่ที่ “การต้องหาข้อยุติให้ได้ ดักปัญหาล่วงหน้า ไม่ใช่เล่นวันต่อวัน” ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้ประเด็นวัคซีนก็ยังเป็นมิติลี้ลับของชาติ

“ความไม่ชัดเจนของบ้านเมืองเรามันสูงมาก โดยเฉพาะท่ามกลางวิกฤตนี้”

เมื่อกลับมาที่ภาพใหญ่ของประเทศ อดีตนายกฯ วิจารณ์สารพัดมาตรการที่ออกมาจากฝั่งรัฐบาลว่าเป็นไปจาก "ความไม่รู้จริง" และไร้ซึ่งการศึกษาผลกระทบอย่างแท้จริง

ประการแรกที่อดีตนายกฯ ระบุคือมาตรการสุ่มตรวจที่ยังน้อยเกินไปทำให้ไม่สามารถระบุยอดการติดเชื้อที่แท้จริงได้ เมื่อไม่ทราบความเสี่ยงที่แท้จริง จึงไม่อาจเป็นไปได้ที่จะมีมาตรการแก้ไขได้มีประสิทธิภาพ

ในประเด็นเฉพาะนี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสริมว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันยังนับว่าต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะการตรวจเชิงรุกต่ำเกินไป ซึ่งตนเองในฐานะแพทย์ต้องนับว่าเป็นกังวลมาก

นอกจากนี้ มาตรการหลายอย่างที่ไทยทำเป็นการเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่หันมามองถึงศักยภาพของการเงินการคลังในประเทศ ดร.ทักษิณ อธิบายว่า “เราเป็นประเทศกำลังพัฒนา อย่าเลียนแบบประเทศพัฒนาแล้ว เราไม่มีเงิน เราไม่อยู่ในฐานะนั้น” ส่วนปัจจัยที่ผลักดันให้ประเทศเดินมาถึงจุดนี้เป็นเพราะความไม่รู้จริงของผู้สั่งการ

Advertisement

“รัฐบาลอยู่บนความไม่รู้มากกว่าความรู้ เลยจะสั่งแบบคนรู้ไม่จริง”

การสั่งปิดแคมป์คนงานข้ามชาตินับเป็นตัวอย่างการสั่งงานแบบไม่รู้จริงมากที่สุด เนื่องจากเป็นการสั่งปิดโดยที่ไม่ประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยง ผลกระทบ ไปจนถึงแนวทางการเยียวยา รูปแบบสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นการเหวี่ยงแหซึ่ง “บางอย่างมันคุ้ม บางอย่างขาดทุนมโหฬาร”

“ไม่รู้อะไรก็เหวี่ยงแหไว้ก่อน บางอย่างมันคุ้ม บางอย่างมันขาดทุนมโหฬาร”

หนทางฟื้นประเทศ

เมื่อมองไปสู่การหาทางออกให้ประเทศไทย ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะกลับไปยังปริศนาวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งมีคำถามสำคัญคือเหตุใดจึงสั่งแค่สองแบรนด์อย่างซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้าเท่านั้น ขณะที่วัคซีนทางเลือกอย่างไฟเซอร์ที่ไม่เพียงไม่ทราบชัดว่าเมื่อไหร่จะเข้ามา ยังไม่มีความชัดเจนว่าประชาชนจะต้องควักเงินจ่ายเองอย่างโมเดอร์นาหรือไม่

“เรามีโรงงานผลิตแอสตร้าฯ ในประเทศไทยนะ แต่รับบริจาคต่างหากด้วยนะ”

ปัจจุบัน รัฐบาลก็เพิ่งกู้เงินเพิ่มไป ดร.ทักษิณ จึงแนะว่าเหตุใดจึงไม่ไปทุ่มเทใช้เงินตรงนั้นสั่งซื้อวัคซีคเข้ามาให้ได้อย่างพอเพียง เพราะเงื่อนไขการอยู่กับเชื้อไวรัสชนิดนี้คือต้องมีความรู้และวัคซีนเพื่อให้อยู่ได้ไปในระยะยาว

ดร.ทักษิณ ชี้ว่า การสุ่มตรวจเชิงรุก การฉีดวัคซีนทั่วถึง จะเป็นอาวุธสำคัญเบื้องต้น ถ้าสองตัวนี้ยังไม่รู้เรื่อง มันเจ๊งหมด ซึ่งหากเศรษฐกิจพังต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว แล้ว “เราจะเอายังไงกับเศรษฐกิจที่คนกำลังตายผ่อนส่ง”

“ถ้าจะล็อกดาวน์แบบต่างชาติ เรามีปัญญาดูแลเขาไหม ถ้าไม่มีปัญญาออกกติกาดีไหม อย่าเหวี่ยงแหไปเรื่อยๆ มันพังทีละแถบ ผลสุดท้ายมันพังทั้งประเทศ”

ประเทศไทยที่สูญเสียโอกาสในการต้อนรับนักท่องเที่ยวไม่ได้ส่งผลกระทบแค่กับแรงงานในภาคบริการเท่านั้น แต่ยังส่งผลร้ายไปถึงฟากเกษตรกรที่ขาดนักท่องเที่ยวเข้ามาบริโภคสินค้าเกษตรในประเทศจำนวนหลายสิบล้านคน

ดร.ทักษิณ สรุปสภาพการบริหารประเทศสุดท้ายว่า “รัฐบาลไม่ซีเรียสกับการแก้ปัญหา แต่ซีเรียสกับการสั่งการ” ทั้งๆ ที่ กฎหมาย, ทหาร หรือตำรวจ ไม่มีฝั่งใดสามารถรักษาโรคและฟื้นเศรษฐกิจประเทศได้ทั้งสิ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้