ผวา ฮุนเซ็น ให้ข่าวกระทบถกอาเซียน

ผวา ฮุนเซ็น ให้ข่าวกระทบถกอาเซียน

ผวา ฮุนเซ็น ให้ข่าวกระทบถกอาเซียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โฆษกปชป.หวั่น"ฮุนเซ็น"ให้สัมภาษณ์กระทบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แนะ"บิ๊กจิ๋ว"คำนึงถึงความละเอียดอ่อน ถ้าให้ผู้นำมิตรประเทศให้ความเห็น หรือให้ข้อมูลเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดกระทบความสัมพันธ์ระหว่างปท.

(24ต.ค.) นพ.บุรณัชย สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงกรณี สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ สมาชิกพรรคเพื่อไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนกัมพูชา ว่า พรรคประชาธิปัตย์วิตกกัง วลต่อการให้สัมภาษณ์ของสมเด็จฮุนเซ็น เพราะมีผลกระทบต่อบรรยากาศอันดีของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติ 40 ปี ของการก่อตั้งประชาคมภูมิภาคอาเซียนขึ้นมา ได้ยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศกลุ่มสมาชิก เพราะสามารถดำเนินได้ด้วยความเข้าใจเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน

แต่เนื่องจากคำให้สัมภาษณ์ขงอสมเด็จฮุนเซ็น ต่อหน้าสื่อนานาชาติ หลายประเด็นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองไทย ซึ่งถือเป็นมิตรประเทศที่สำคัญ ทั้งนี้พื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากคำให้สัมภาณณ์ของหลายฝ่าย จึงอยากชี้แจงข้อเท็จจริงหลายอย่าง กรณีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกัมพูชา และอาเซียน

พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะที่เคยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในอดีต ถือว่าความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศดำเนินการในกรอบของอาเซียนและได้ผลดีมาตลอด ในกรณีของกัมพูชานั้น แม้ว่าเมื่อปี 2540 สมเด็จฮุนเซ็น จะได้ดำเนินการยึดอำนาจในกัมพูชา แต่กลุ่มประชาคมอาเซียนก็ไม่ได้แทรกแซงกิจการภายใน กลับให้การสนับสนุนกัมพูชาในการที่จะมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม โดยดำเนินการบนพื้นฐานความเห็นชอบของรัฐบาลกัมพูชา จึงจัดตั้งอาเซียนทรอยก้าขึ้น ที่ให้การสนับสนุนการเลือกตั้งในกัพูชา ในปี 2541 สมเด็จฮุนเซ็น ได้รับเลือกตั้งเข้ามาและทำให้กัมพูชาได้เข้าร่วมสมาชิกอาเซียนอย่างภาคภูมิ

"ตลอดเวลาที่ผ่านมาไทยไม่เคยให้ความเห็น ที่กระทบต่อการเมืองในประเทศสมาชิก แม้ว่าสาเหตุความเข้าใจผิดที่อาจจะเกิดขึ้น เริ่มมาจากการเดินทางไปกัมพูชาของ พล.อ.ชวลิต ซึ่งขณะนี้ยังไม่ปรากฎชัดว่า พล.อ.ชวลิตให้ข้อมูลอะไรกับสมเด็จฮุนเซ็น จึงทำให้เกิดความเข้าใจบางส่วนที่คลาดเคลื่อน เช่น กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจและรับทราบถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวอันดีที่ผูกพันกับสมเด็จฮุนเซ็น ในการเยือนกัมพูชาของพล.อ.ชวลิตนั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่ติดใจเพราะเป็นการเยือนในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อแสดงความเห็นต่อคดีความที่เกี่ยวเนื่องกับพ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะที่เสี่ยงต่อการถูกตีความว่า กัมพูชาจะให้การสนับสนุน การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่พ.ต.ท.ทักษิณดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเรื่องนี้ควรที่จะมีความชัดเจนว่าท่าทีของมิตรประเทศอย่างกัมพูชาว่าจะให้ที่พักพิงในฐานะมิตรส่วนตัวโดยที่จะไม่ให้มีการแทรกแซงกิจการภายในของไทยและจะดำเนินการอย่างไร ในสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เพราะในอดีต ไทยได้ให้ความร่วมมือต่อมิตรประเทศที่มีสนธิสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วยดีมาตลอด รวมถึงกัมพูชาด้วย" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า กรณีที่โฆษกรัฐบาลกัมพูชาระบุว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่รวมถึงคดีทางการเมือง ตนอยากชี้แจงข้อเท็จจริงว่า คดีที่เกี่ยวเนื่องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคดีที่มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ทุจริต คอร์รัปชั่น และมีการพิพากษาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งถือเป็นคดีอาญาไม่ใช่คดีการเมือง การเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณดำเนินไป โดยใช้แผ่นดินของหลายประเทศสนับสนุน เมื่อมีเหตุการณ์ความวุ่นวายเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น กรณีการล้มการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา โดยใช้การโฟนอินจากประเทศที่สาม ให้การสนับสนุนการก่อการจราลจล และได้ประกาศชัยชนะของมวลชน ที่ล้มการประชุมดังกล่าวสำเร็จ เหล่านี้เป็นท่าทีที่ใช้ประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่ต่าง ๆ แทรกแซงการเมืองในประเทศ ก่อความวุ่นวาย ซึ่งในฐานะมิตรประเทศ คงไม่มีประเทศไหนยอมหรืออยากให้เกิดขึ้น

กรณีที่ สมเด็จฮุนเซ็น เปรียบเทียบ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ นางอองซาน ซูจีนั้น คงเป็นความเข้าใจผิดครั้งใหญ่เพราะท่าทีของอาเซียนต่อพม่า และนางอองซาน เป็นมติที่ได้รับความเห็นชอบโดยผู้นำของทุกประเทศ รวมทั้งกัมพูชาด้วย และที่มีการเปรียบเทียบกับผู้นำฝ่ายค้านของกัมพูชา คือนายสม รังสี ซึ่งมีการเดินทางเข้าออกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน และได้รับการต้อนรับนั้น เพราะว่านายสม รังสีไม่ได้มีคดีที่มีหมายจับจากศาล ของกัมพูชา และคำให้สัมภาษณ์ของ นายสม รังสีนั้น ก็เป็นการให้สัมภาษณ์ในนามส่วนตัว ไม่ได้แตกต่างจากการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านเวลาที่พำนักประเทศกัมพูชา และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ รัฐบาลไทยไม่เคยให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องทางการเมืองภายในของกัมพูชา

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า การที่พรรคเพื่อไทยได้มอบให้ พล.อ.ชวลิต เดินทางไปกัมพูชาแล้วยังมีแผนการให้เดินทางไปพม่า และมาเลเซียต่อไปนั้น พรรคประชาธิปัตย์อยากให้ พล.อ.ชวลิต ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี คำนึงถึงความละเอียดอ่อนในการเชื้อเชิญผู้นำมิตรประเทศ ให้ความเห็น หรือให้ข้อมูลที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเข้าใจผิด ระหว่างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทยกับประเทศที่มีชายแดนติดกัน และความเสี่ยงที่ได้ดำเนินการไปนั้น ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทยนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพราะมีเรื่องที่ผิดสังเกตเมื่อวานนี้( 23 ต.ค.) คือผู้ที่ประสานกับรัฐบาลกัมพูชา

ทั้งนี้จากการแถลงข่าวของโฆษกรัฐบาลกัมพูชา ให้สื่อมวลชนต่างประเทศ เป็นการประสานงานและดำเนินการจากทีมโฆษกพรคเพื่อไทยตลอดเมื่อวานที่ผ่านมา และการที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศให้สัมภาษณ์หลายอย่างที่กระทบความสัมพันธ์อันดีระหว่งไทยและเพื่อนบ้าน อยากให้ทบทวนการกระทำว่า สิ่งต่าง ๆ ที่พูดไปนั้นเป็นการเพิ่มความเสียหายที่เกิดขึ้น จากมติครม.สมัยรัฐบาลทักษิณ ต่อกรณีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินแล้วว่า กระทบต่ออธิปไตยของประเทศไทย และขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนเป็นคดีความ ในปัจจุบัน ดังนั้น เรื่องต่าง ๆ ที่มีความเสียหายต่อประเทศไม่อยากที่จะให้การเมืองภายในประเทศ เอาผลประโยชน์ของประเทศมาแลกเปลี่ยนกับความได้เปรียบทางการเมืองส่วนตัว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook