ราชกิจจาฯ ประกาศยกระดับเคอร์ฟิว 13 จังหวัด เพิ่มฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-อยุธยา มีผล 20 ก.ค.
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2564 ได้เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 28) ซึ่งลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า เมื่อได้มีการประเมินสถานการณ์ภายหลังการมีผลใช้บังคับของข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 ก.ค. 2564 ปรากฏว่ายังไม่อาจชะลออัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอาการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหำยใจในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคหลายจังหวัดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มต่อเนื่อง ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อจากการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในครอบครัว และชุมชน
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องยกระดับความเข้มข้นของมาตรการและการบังคับใช้อย่างจริงจังเพิ่มเติมขึ้นจากข้อกำหนดที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินให้คลี่คลายลงโดยเร็วที่สุด
โดยข้อกำหนดดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
ข้อ 1 ลดการออกนอกเคหสถานของประชาชนอันเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล และจังหวัดที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น และโดยส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อโรคกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงทั้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
"แม้จะได้มีการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้วก็ตาม แต่ย่อมต้องอาศัยระยะเวลาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว สิ่งที่ต้องร่วมมือกันในเวลานี้ คือชะลออัตราการระบาดที่รุนแรงของโรคโดยต้องหยุดยั้งการกระทำใดๆ ก็ตามที่เป็นความเสี่ยงหรือเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ระบาดออกไป"
ข้อ 2 ปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
ข้อ 3 ลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทาง ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงและเข้มงวด เลี่ยง จำกัด หรืองดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น
- การเดินทางในบางกรณีที่จำเป็น เช่น เดินทางไปจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์ การเดินทางเพื่อพบแพทย์ เพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุุข การรักษาพยาบาล การรับวัคซีนป้องกันโรค หรือมีความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานหรือการประกอบอาชีพที่ไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้
- ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยการสนับสนุนของกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษษย์ ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัคร จิตอาสา ให้ความช่วยเหลือกระจายสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่ประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
ข้อ 4 กำหนดพื้นที่ห้ามออกนอกเคหสถานเพิ่ม ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (13 จังหวัดตามข้อ 2) ออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วันนับแต่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับ
- ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ มีความผิดต้องระวางโทษตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อ 5 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดในเส้นทางคมนาคมเข้า ออกตามเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ข้อ 6 การขนส่งสาธารณะทุกประเภทระหว่างจังหวัดทั่วราชอาณาจักรให้เป็นไปตามแนวทางที่ ศปก.ศบค.กำหนด โดยจำกัดจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการไม่เกินร้อยละ 50 ของความจุผู้โดยสารสำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท รวมทั้งจัดให้มีการเว้นระยะห่างและปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกำหนดกำหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อ 7 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
- ปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการควบคุมและป้องกันการแพร่ของโรคโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน
(1) การจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ร้านอาหารจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 20.00 น. โดยห้ามการบริโภคในร้านและให้นำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
(2) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะแผนกซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยาและเวชภัณฑ์ พื้นที่ซึ่งจัดให้เป็นการให้บริการฉีดวัคซีนหรือบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ ของภาครัฐ ให้เปิดดำเนินการได้ถึง 20.00 น.
(3) โรงแรม ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยงดกิจกรรมจัดประชุม สัมมนาหรือการจัดเลี้ยง
(4) ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ให้เปิดดำเนินการได้ถึง 20.00 น. โดยจำกัดเวลาสำหรับร้านสะดวกซื้อให้ปิดให้บริการในระหว่างเวลา 20.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
(5) โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษาต่างๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้
การดำเนินการของโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่าง และอุปกรณ์ก่อสร้าง ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงเปิดดำเนินการได้ตามความจำเป็น
ข้อ 8 ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 5 คน
ข้อ 9 ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วนงานของรัฐที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สั่งการให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรในความรับผิดชอบดำเนินมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดเต็มจำนวน
ข้อ 10 ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และศูนย์ปฏิบัติการต่างๆ ภายใต้ ศบค. พิจารณามาตรการและเร่งรัดการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจอย่างเข้มข้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่รวดเร็วและชัดเจนเป็นรูปธรรม
ข้อ 11 ให้ประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมของมาตรการตามข้อกำหนดนี้ทุกห้วงเวลา 7 วัน
ข้อกำหนดดังกล่าวนี้ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 20 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป เว้นเฉพาะมาตรการขนส่งสาธารณะตามข้อ 6 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษายังเผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ที่ 10/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตำมควำมในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 13 จังหวัด
1. กรุงเทพมหานคร
2. จังหวัดฉะเชิงเทรา
3. จังหวัดชลบุรี
4. จังหวัดนครปฐม
5. จังหวัดนนทบุรี
6. จังหวัดนราธิวาส
7. จังหวัดปทุมธานี
8. จังหวัดปัตตานี
9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10. จังหวัดยะลา
11. จังหวัดสงขลา
12. จังหวัดสมุทรปราการ
13. จังหวัดสมุทรสาคร
พื้นที่ควบคุมสูงสุด รวมทั้งสิ้น 53 จังหวัด
1. จังหวัดกระบี่
2. จังหวัดกาญจนบุรี
3. จังหวัดกาฬสินธุ์
4. จังหวัดกำแพงเพชร
5. จังหวัดขอนแก่น
6. จังหวัดจันทบุรี
7. จังหวัดชัยนาท
8. จังหวัดชัยภูมิ
9. จังหวัดเชียงราย
10. จังหวัดเชียงใหม่
11. จังหวัดตรัง
12. จังหวัดตราด
13. จังหวัดตาก
14. จังหวัดนครนายก
15. จังหวัดนครราชสีมา
16. จังหวัดนครศรีธรรมราช
17. จังหวัดนครสวรรค์
18. จังหวัดบุรีรัมย์
19. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
20. จังหวัดปราจีนบุรี
21. จังหวัดพัทลุง
22. จังหวัดพิจิตร
23. จังหวัดพิษณุโลก
24. จังหวัดเพชรบุรี
25. จังหวัดเพชรบูรณ์
26. จังหวัดมหาสารคาม
27. จังหวัดยโสธร
28. จังหวัดร้อยเอ็ด
29. จังหวัดระนอง
30. จังหวัดระยอง
31. จังหวัดราชบุรี
32. จังหวัดลพบุรี
33. จังหวัดลำปาง
34. จังหวัดลำพูน
35. จังหวัดเลย
36. จังหวัดศรีสะเกษ
37. จังหวัดสกลนคร
38. จังหวัดสตูล
39. จังหวัดสมุทรสงคราม
40. จังหวัดสระแก้ว
41. จังหวัดสระบุรี
42. จังหวัดสิงห์บุรี
43. จังหวัดสุโขทัย
44. จังหวัดสุพรรณบุรี
45. จังหวัดสุรินทร์
46. จังหวัดหนองคาย
47. จังหวัดหนองบัวลำภู
48. จังหวัดอ่างทอง
49. จังหวัดอุดรธานี
50. จังหวัดอุทัยธานี
51. จังหวัดอุตรดิตถ์
52. จังหวัดอุบลราชธานี
53. จังหวัดอำนาจเจริญ
พื้นที่ควบคุม รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด
1. จังหวัดชุมพร
2. จังหวัดนครพนม
3. จังหวัดน่าน
4. จังหวัดบึงกาฬ
5. จังหวัดพังงา
6. จังหวัดแพร่
7. จังหวัดพะเยา
8. จังหวัดมุกดาหาร
9. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
10. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่เฝ้าระวังสูง รวมทั้งสิ้น 1 จังหวัด
1. จังหวัดภูเก็ต