เงินสำรองฉุกเฉิน ภูมิคุ้มกันรายได้ ยามวิกฤต

เงินสำรองฉุกเฉิน ภูมิคุ้มกันรายได้ ยามวิกฤต

เงินสำรองฉุกเฉิน ภูมิคุ้มกันรายได้ ยามวิกฤต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศตอนนี้ ต้องถอนหายใจออกมายาวๆ เพราะความเป็นห่วงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ความยืดเยื้อของการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทั้งสายเก่า สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดในปัจจุบัน และอาจกลายพันธุ์รุนแรงขึ้นอีกในอนาคต เพิ่มความเสี่ยงในการใช้ชีวิต ที่ทำให้ความเครียดของเราเพิ่มขึ้น

แผนการล็อกดาวน์การเดินทาง เริ่มถูกนำมาใช้ในเมืองใหญ่และปริมณฑล จะยิ่งซ้ำเติมฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจ และส่งผลต่อเนื่องมาถึงกระเป๋าของเราๆ เพราะเมื่อธุรกิจทำกำไรได้น้อย ก็ขึ้นเงินเดือนให้น้อย ค้าขายก็ยาก

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 2564 ว่า ภาคธุรกิจมีแนวโน้มว่าจะเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นอีก และแรงงานมีแนวโน้มว่างงานยาวนานขึ้น

ใครที่สถานะทางการเงินไม่แข็งแกร่งพอ อาจช็อคได้ ส่วนคนที่วางแผนการเงินมาดี มีวินัย มีเป้าหมายชัดเจน จะสามารถฝ่ามรสุมครั้งนี้ไปได้

การสร้างภูมิคุ้มกันรายได้ ด้วยการเร่งเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Fund) อย่างเร่งด่วน เป็นมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินที่เราต้องมี เพื่อรักษามาตรฐานการใช้ชีวิตประจำวัน และรักษาเสถียรภาพความสามารถในการจับจ่ายซื้อสิ่งต่างๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับครอบครัว เพื่อนฝูง สังคม ในสถานการณ์ที่ความไม่แน่นอนในชีวิตมีสูงเช่นปัจจุบัน

ดั่งสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า You must save some money for a rainy day หรือคุณต้องเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน เอาไว้ใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

เงินสำรองฉุกเฉิน สำคัญอย่างไร

การมีเงินสำรองฉุกเฉินที่เพียงพอ จะช่วยให้เราใช้ชีวิตผ่านมรสุมวิกฤตทางการเงินระยะสั้นไปได้อย่างภาคภูมิและดูดี ไม่ว่าจะเป็นช่วงตกงาน เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำท่วม สามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นใจในภาวะฉุกเฉิน ไม่ต้องร้อนกาย ร้อนใจ วิ่งไปหากู้เงินจากแบงก์ หรือ หยิบยืมเพื่อนฝูง เป็นการยืนยันถึงวิชั่นผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อครอบครัว

นอกจากนี้ การมีเงินสำรองฉุกเฉินที่เพียงพอ จะทำให้เราไม่ต้องนำเงินออมเพื่อการเกษียณออกมาใช้ เป็นการคุ้มครองเป้าหมายทางการเงินในอนาคตของเราด้วย แผนการใช้ชีวิตอย่างดูดีมีสไตล์หลังเกษียณไม่ถูกรบกวนด้วยเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

เงินสำรองฉุกเฉิน เท่าไหร่ถึงเหมาะสม

สำหรับคนที่ไม่มีภาระหนี้สิน สุขภาพดี ความเสี่ยงในการชีวิตต่ำ อยู่บ้านตัวเอง สามารถผลิตอาหารเองได้ เช่น ปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เองที่บ้าน ไม่มีภาระเลี้ยงดู ลูก ภรรยา สามี พ่อ แม่ การเก็บเงินสำรองไว้ที่ระดับ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เป็นตัวเลขขั้นต่ำที่ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินส่วนใหญ่แนะนำ เช่น มีรายจ่ายเดือนละ 25,000 บาท ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน 75,000 - 150,000 บาท

สำหรับคนที่ยังชีพ ด้วยการพึ่งพาทรัพย์สินของคนอื่น บ้านต้องเช่า อาหารทุกอย่างต้องซื้อ หรือมีภาระในการผ่อนทรัพย์สิน มีภาระในการเลี้ยงดูลูก สามี ภรรยา พ่อ แม่ สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง และมีความเสี่ยงในการใช้ชีวิตค่อนข้างสูง ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินขั้นต่ำ 6-12 เดือนของรายจ่ายต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของการเก็บเงินสำรองฉุกเฉินขั้นต่ำ 3-6 เดือน ของรายจ่ายต่อเดือน ไม่ใช่ระดับที่เพียงพอสำหรับทุกคน ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สุขภาพ อาชีพ ภาระทางการเงิน และความเสี่ยงในการใช้ชีวิต

ควรเก็บเงินสำรองฉุกเฉินเมื่อไหร่

เก็บทันทีที่มีรายได้ เพราะคำว่า ฉุกเฉิน คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด แต่เราประเมินสิ่งที่จะตามมาในเบื้องต้นได้ เช่น เมื่อเกิดเจ็บป่วย ต้องเข้ารับการรักษา ต้องใช้เงิน หรือ เกิดอุบัติเหตุ ที่ทำให้ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน ได้รับความเจ็บป่วย เสียหาย ต้องใช้เงินในการรักษา ในการซ่อมแซม เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิต ให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ชีวิตที่ปลอดความกังวลทางการเงิน จะเกิดขึ้นกับคนที่รู้จักวางแผนการออมอย่างมีจุดหมายเท่านั้น ฟิลลิปประกันชีวิต มีแบบประกันออมทรัพย์ Max 5/1  ที่ให้ผลตอบแทนสูง การันตรีผลตอบแทน รับเงินคืนตลอด 5 ปี  และรับความคุ้มครองชีวิต 110%  สะดวกสบาย ทำรายการง่ายๆออนไลน์ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

 

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook