รวมข่าวคนนอนเสียชีวิตข้างถนน ฉายจำนวนผู้ติดโควิดสูงกว่าตัวเลขรายงานประจำวัน
การเสียชีวิตริมถนนตกเป็นข่าวค่อนข้างหนาหูตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหากนับเฉพาะผู้ล่วงลับที่ปรากฏเป็นข่าวระหว่างวันที่ 20-25 ก.ค. มีถึง 9 ราย และส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ไม่พบว่าประกอบอาชีพใดหรือมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ใช่แค่นั้นในกลุ่มนี้ยังพบภายหลังว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) ด้วย
- 20 ก.ค.
- ชาย อายุ 50 ปี ติดโควิด
กลางตรอกบ้านพานถม ย่านวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
มีการรายงานว่าผู้เสียชีวิตรายนี้ ที่มีอาชีพคนโบกรถ นอนนิ่งอยู่บนตรอกดังกล่าวนานหลายชั่วโมง และแม้ว่ามีเจ้าหน้าที่นำออกซิเจนมาให้ชายคนดังกล่าวหายใจ แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ได้ จนเสียชีวิตในที่สุด - ชาย อายุ 59 ปี ไม่ติดโควิด
หน้าร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
ชายรายนี้ไม่พบที่มาว่ามานอนอยู่ ณ จุดดังกล่าวตั้งแต่เวลากี่โมง กระทั่งเวลา 22.00 น. เจ้าหน้าที่ที่สวมชุดป้องกันเชื้อก็มาย้ายร่างเพื่อนำไปหาสาเหตุการเสียชีวิต ซึ่งเวลาต่อมาพบว่าปลอดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 - ชาย ประมาณ 40-49 ปี ไม่ติดโควิด
ทางเท้าหน้าโลตัส พระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
กรณีของผู้เสียชีวิตรายนี้ได้รับแจ้งจากชาวคลองเตยเมื่อเวลา 20.30 น. ของวันดังกล่าว ว่าคนนอนหมดสติริมถนน ทีมกระต่ายคลองเตยจึงได้ไปที่เกิดเหตุ พบว่าผู้ที่นอนอยู่นี้เป็นชายใส่เสื้อยืดสีดำ กางเกงสีดำ มีหน้ากากใต้คาง จึงนำที่วัดออกซิเจนทางนิ้ว ปรากฏไม่พบสัญญาณชีพใดๆ
หดหู่เกินทน! วันเดียวเจอนอนตาย 3 ศพ ข้างวัดบวรฯ-หน้าศึกษาภัณฑ์-หน้าห้างพระราม 4
- ชาย อายุ 50 ปี ติดโควิด
- 22 ก.ค.
- ชาย ไม่ทราบอายุ ไม่ติดโควิด
ทางเท้าซอยสุขุมวิท 20 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
มีการรายงานว่าผู้ล่วงลับรายนี้เป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง คาดว่าเสียชีวิตตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันดังกล่าว ผู้เห็นเหตุการณ์รายหนึ่งเผยว่าชายคนดังกล่าวมาใช้ชีวิต ณ จุดที่เสียชีวิตก่อนหน้านั้น 3 วัน และแม้ว่าตำรวจพยายามนำตัวไปตรวจอาการ แต่ผู้ล่วงลับยืนยันว่าตนไม่ป่วยและจะอยู่ที่จุดดังกล่าว ซึ่งต่อมาหลังเสียชีวิตมีการนำร่างกายตรวจสอบ ไม่พบว่าติดเชื้อ
- ชาย ไม่ทราบอายุ ไม่ติดโควิด
- 23 ก.ค.
- ชาย อายุ 74 ปี ไม่ติดโควิด
ทางเท้าตลาดห้วยขวาง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
ผู้ล่วงลับรายนี้ล้มนอนลงบนทางเท้าขณะมาซื้อสินค้าที่ตลาดแห่งนี้ สร้างความตกใจให้กับผู้คนที่มาจับจ่ายอย่างมาก ต่อมามีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ซึ่งภรรยาของผู้ล่วงลับเผยว่า ตนและสามีอาศัยอยู่ในซอยรัชดา 13 และสามีไม่ได้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 แต่อาจเป็นเพราะอากาศร้อนจัดร่วมกับอาการโรคหัวใจ
- ชาย อายุ 74 ปี ไม่ติดโควิด
- 24 ก.ค.
- ชาย อายุ 80 ปี ติดโควิด
เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร
หลังจากได้รับแจ้งจากผู้ค้าในพื้นที่ว่าพบเห็นชายคนดังกล่าวล้มลงหลังจากนั่งดื่มน้ำในบริเวณดังกล่าว เจ้าหน้าที่ก็เข้าไปตรวจสอบ คาดว่าเป็นคนเร่ร่อนที่มาพักบริเวณนี่ตั้งแต่เมื่อคืนก่อนหน้า ในกระเป๋าพบยารักษาโรคประจำตัวโรคเบาหวาน และความดัน รวมทั้งเสื้อผ้าจำนวนหนึ่ง ส่วนผลการชันสูตรเบื้องต้นพบว่าติดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
สลดอีกราย ชายเร่ร่อนวัย 80 นอนตายที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ตรวจศพพบติดเชื้อโควิด-19 -
ชาย ไม่ทราบอายุ ติดโควิด
ย่านราม 2 เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
เพจอยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น Part 1 เผยภาพชายคนดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่เสียชีวิตตั้งแต่ช่วงเย็น และมีเจ้าหน้าที่มาเคลื่อนย้ายศพเมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. และอ้างว่าผู้เสียชีวิตรายนี้ติดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 - ชาย อายุ 27 ปี ยังไม่ทราบผลตรวจ
ทางเท้าซอยรามคำแหง 186/1 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ผู้เห็นเหตุการณ์รายหนึ่งเผยว่า ชายคนดังกล่าวมานอนเมื่อช่วงค่ำของวันเกิดเหตุ และเมื่อเช้าวันรุ่งขึ้น (25 ก.ค.) ก็ยังเห็นนอนอยู่ที่เดิมและเสียชีวิตแล้ว จึงแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ซึ่งต่อมาน้องสาวของชายคนนี้บอกว่าผู้ล่วงลับใช้ยาเสพติดและมีอาการทางประสาท ส่วนก่อนเสียชีวิตนั้นชายคนนี้อาศัยอยู่กับแม่ที่แฟลตการเคหะรามคำแหง
- ชาย อายุ 80 ปี ติดโควิด
- 26 ก.ค.
- ชาย อายุ 44 ปี ไม่ติดโควิด
ทางเท้าซอยเพชรเกษม 77/4 เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
ผู้เสียชีวิตมีอาชีพเป็นผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และมีที่พักอาศัยในซอยดังกล่าว มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด คาดว่าเสียชีวิตขณะนั่งรอผู้โดยสารแต่โรคประจำตัวกำเริบ ซึ่งผลการตรวจสอบไม่พบว่าติดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
- ชาย อายุ 44 ปี ไม่ติดโควิด
ตกหล่นจากระบบดูแลของรัฐ
ผู้เสียชีวิตที่ติดไวรัสดังกล่าว มาพบผลหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว ขณะเดียวกันหลายคนก็ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง จึงเป็นไปได้ว่ายังมีคนจำนวนมากที่ตกหล่นจากระบบการดูแลของภาครัฐ การเข้ารับการตรวจหาเชื้อจึงแทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่าจะมีโอกาสได้รับหรือไม่
ข้อสังเกตดังกล่าวจึงพอจะสะท้อนได้ว่า ตัวเลขผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีการรายงานประจำวัน จึงน่าจะน้อยกว่าจำนวนที่มีอยู่จริง และสิ่งนี้เองอาจลดความสำเร็จของมาตรการที่ภาครัฐจะแยกผู้ติดเชื้อออกจากคนทั่วไป
ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจุติ ไกรฤกษ์ ให้ความเห็นต่อประเด็นนี้เมื่อวันเสาร์ (24 ก.ค.) ว่างานที่สำคัญงานหนึ่งในการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงนี้ คือ การติดตามคนไร้บ้าน แต่เป็นงานที่มีปัญหาเช่นกัน เพราะคนกลุ่มนี้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่มีโทรศัพท์มือถือติดต่อได้ แต่ครั้นจะให้ฝังชิปหรือใส่กำไลอีเอ็มก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน
"โควิด" ปัญหาหลักเข้าช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงเฉพาะปัญหาหน้างานแล้ว การที่ไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตริมถนน ที่ปรากฏเป็นข่าวเหล่านี้ เสียชีวิตด้วยโรคหรือสาเหตุใด ทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้นด้วย เพราะเกิดขึ้นในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างรุนแรง การช่วยชีวิตหรือการย้ายร่างจึงทำไม่ได้ในทันที ไม่รวมกับปัญหารถที่ใช้ขนย้ายหรือจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพียงพอ ที่ทำให้กระบวนต่างๆ ยิ่งล่าช้าลงไปอีก