“ครูจุ๊ย กุลธิดา” เรียกร้อง พม.เผยข้อมูล "เด็กกำพร้า" แนะรัฐเตรียมพร้อมจัดการหลังความสูญเสีย

“ครูจุ๊ย กุลธิดา” เรียกร้อง พม.เผยข้อมูล "เด็กกำพร้า" แนะรัฐเตรียมพร้อมจัดการหลังความสูญเสีย

“ครูจุ๊ย กุลธิดา” เรียกร้อง พม.เผยข้อมูล "เด็กกำพร้า" แนะรัฐเตรียมพร้อมจัดการหลังความสูญเสีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 คณะก้าวหน้าได้เผยแพร่บทความของ "ครูจุ๊ย" หรือคุณกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เรื่อง “ทุก 12 วินาที มีเด็กหนึ่งคนต้องกำพร้าอันเนื่องมาจากโควิด : การจัดการหลังสูญเสีย” จากกรณีของเด็กหญิงวัย 7 ขวบ และ 9 ขวบ ที่ต้องกำพร้าและอยู่อาศัยเพียงลำพัง หลังจากที่แม่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยก่อนเสียชีวิตแม่ได้สั่งเสียไว้ว่า ให้ไปอยู่บ้านเด็กกำพร้า ซึ่งสร้างความสะเทือนใจแก่สังคมและผู้ที่ทราบข่าวเป็นอย่างมาก

จากการคาดการณ์ตัวเลขในรายงานที่ตีพิมพ์ใน Lancet Medical Journal ทั่วโลกจะมีเด็กที่ต้องสูญเสียผู้ที่ให้การดูแลพวกเขาโดยตรงไม่ว่าจะเป็นพ่อหรือแม่ หรือตายาย ในช่วงเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 – 30 เมษายน 2564) ประมาณ 1.13 ล้านคน และอีกมากกว่า 1.5 ล้านคนที่ได้ผ่านประสบการณ์สูญเสียผู้ดูแลหลัก หรือผู้ดูแลที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน เช่น ญาติพี่น้อง ทั้งนี้ เด็กกลุ่มนี้สูญเสียพ่อมากกว่าแม่ถึง 2-5 เท่า ขณะที่สถิติจากรายงานของธนาคารโลกคือทุก ๆ 12 วินาที จะมีเด็กหนึ่งคนที่กำพร้าจากการสูญเสียอันเนื่องมาจากโควิด-19

“สถานการณ์ในไทยที่น่าเป็นห่วงคือผู้สูงอายุที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงนั้น มีกี่คนที่เป็นผู้ดูแลหลักหรือรองของเด็ก ๆ ในประเทศ เด็กที่ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าเฉียบพลันเปราะบางต่อการดูแลทั้งจากญาติ คนรู้จัก หรือในสถานสงเคราะห์ และเสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น ว่ากันว่าการประเมินว่ารัฐมีประสิทธิภาพให้ดูกันที่การดูแลบุคคลที่เปราะบาง บุคคลที่เข้าถึงโอกาสยากกว่าผู้อื่น บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าผู้อื่น และการดูแลที่ว่าคือการดูแลให้พวกเขาได้มีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีเพียงพอ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือน ๆ กับทุกคน” คุณกุลธิดาระบุ

นอกจากนี้ คุณกุลธิดายังชี้ว่า ปัจจุบันกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยังไม่สามารถจัดการข้อมูลว่าจำนวนเด็กพิการในประเทศไทยมีกี่คน บ้านเด็กกำพร้าที่แม่ได้สั่งลาให้ลูกไปอยู่มีความสามารถ หรือการรองรับเด็กกำพร้าได้กี่คน เต็มกำลังหรือยัง เจ้าหน้าที่เพียงพอหรือไม่ การไม่มีข้อมูลเหล่านี้จะทำให้การจัดการสถานการณ์ปัจจุบันลำบากมากขึ้น เพราะกำลังการรับรองเด็กกำพร้าจะช่วยให้ออกแบบปริมาณทรัพยากรที่จะใช้ทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว ได้ และเมื่อไม่มีแม้กระทั่งข้อมูลภาพรวมเหล่านี้ การจะพยากรณ์ตัวเลขเพื่อจัดการระบบรับรองเด็กกลุ่มนี้ จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้

คุณกุลธิดาได้ทิ้งท้ายบทความด้วยข้อเสนอแนะ โดยเสนอการจัดการสถานการณ์ใน 3 ระยะคือ ระยะสั้นหรือเร่งด่วน ต้องทำการการตรวจหาเชื้อ การติดตามผล การกักกันเด็กหากติดเชื้อ การดูแลสภาพจิตใจหลังจากการสูญเสีย ขณะที่ในระยะกลาง คือการพาเข้าสู่ระบบการดูแลระยะยาวที่มีการติดตามทั้งจากการส่งเด็กไปอยู่กับญาติและการส่งเข้าสถานสงเคราะห์ โดยอาจใช้ อสม.ในพื้นที่เป็นกลุ่มตั้งต้นในการสแกนหาเด็ก ๆ ที่สูญเสียผู้ดูแลไป และสุดท้ายในระยะยาว คือการจัดระบบสวัสดิการเงินอุดหนุนรายเดือนตรงให้ครอบครัวที่ต้องดูแลเด็กกลุ่มนี้ พร้อมทั้งจัดการสนับสนุนและติดตามการดูแลเด็ก ๆ รวมถึงการดูแลจนบรรลุนิติภาวะ และหลังบรรลุนิติภาวะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook