นักวิชาการจุฬา เชื่อ พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ ไม่จำเป็น! แถมไม่เข้าเกณฑ์ รธน. มาตรา 172

นักวิชาการจุฬา เชื่อ พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ ไม่จำเป็น! แถมไม่เข้าเกณฑ์ รธน. มาตรา 172

นักวิชาการจุฬา เชื่อ พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ ไม่จำเป็น! แถมไม่เข้าเกณฑ์ รธน. มาตรา 172
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการดังจุฬาฯ ไม่เชื่อว่า พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ จะมีความจำเป็นในเวลานี้ ระบุหากประกาศใช้จริง อาจไม่เข้าเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172

เมื่อคืนนี้ (9 ส.ค.) ผศ.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นในเชิงข้อกฎหมายเกี่ยวกับกระแสข่าวที่ภาครัฐเตรียมออกพระราชกำหนดจำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

"ในความเห็นของผม แน่นอนว่า นอกจาก ข้อ 7 ซึ่งสามารถสะท้อนให้ได้ว่า ผู้เสนอร่างกฎหมาย "มีเจตนาเช่นไร" แล้ว ร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ หากมีการประกาศใช้จริง อาจมีประเด็นของการไม่เข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.172 ด้วย

กล่าวคือ ม.172 กำหนดเงื่อนไขสำหรับ ครม. ในการออก พ.ร.ก.ไว้โดยสรุปอย่างน้อย 2 ประการได้แก่

1. ต้องเป็นกรณีจำเป็นฉุกเฉินเร่งด่วนและหลีกเลี่ยงไม่ได้

"และ"

2. เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ

คำถามคือ ร่าง พ.ร.ก. ที่กำลังจะนำเสนอฉบันนี้เข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อหรือไม่ หากถามผมๆ เห็นว่าไม่เข้าเกณฑ์ครับ เพราะไม่ใช่กรณีที่มีความจำเป็นฉุกเฉินถึงขนาดหลีกเลี่ยงไม่ได้ขนาดนั้น และ เนื้อหาสาระของ ร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้ (ทุกข้อ รวมถึงข้อ 7 ด้วย) ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นได้ถึงขนาดว่าออกมาเพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะอย่างชัดเจน

ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่จะเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ในรูปแบบของ พ.ร.ก. เพราะเป็นการไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ พ.ร.ก. เป็นเครื่องมือ (กฎหมาย) ของรัฐบาลที่จะใช้ในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนมากจริงๆ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว ผมเห็นว่า ขณะนี้รัฐบาลเองก็มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้อยู่แล้ว ซึ่งก็มีโครงสร้างของบทคุ้มครองความผิดเจ้าหน้าที่ๆ ปฏิบัติทำนองเดียวกัน เหตุใดถึงต้องเสนอกฎหมายฉบับนี้?

อย่างไรก็ดี หากยังคงยืนยันว่าต้องการออกกฎหมายฉบับนี้จริง รัฐบาลก็พึงต้องเสนออยู่ในรูปแบบของกฎหมายปกติอย่าง พ.ร.บ. ที่ต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบของรัฐสภาตามกระบวนการต่อไปครับ

อนึ่ง ขอย้ำอีกครั้งว่าโดยส่วนตัว ไม่เห็นถึงความจำเป็นในการออกกฎหมายฉบับนี้ครับ"

ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการด้านกฎหมายจากจุฬาฯ ดังกล่าว เป็นหนึ่งในเสียงสะท้อนจากอีกหลายๆ เสียงที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะออก พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดฯ เนื่องจากไม่เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญซึ่งสามารถนำร่างกฎหมายฉบับนี้ไปพิจารณาในรูปแบบ พ.ร.บ. ได้

ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง บุคคลที่เกี่ยวข้องในภาครัฐต่างออกมากล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าการออก พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ให้ต้องมากังวลกับการจะถูกฟ้องร้องในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook