สธ. เผยผลศึกษาการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ กระตุ้นเป็นเข็ม 3 เข้าในผิวหนัง สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

สธ. เผยผลศึกษาการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ กระตุ้นเป็นเข็ม 3 เข้าในผิวหนัง สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

สธ. เผยผลศึกษาการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ กระตุ้นเป็นเข็ม 3 เข้าในผิวหนัง สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ทำการศึกษาการทดสอบภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนโควิดแอสตร้าเซนเนก้ากระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 โดยเฉพาะการฉีดเข้าในผิวหนัง พบว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี อีกทั้งยังใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

วานนี้ (22 ก.ย.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ศึกษาการทดสอบภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยจากการได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 โดยทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า อายุระหว่าง 18 – 60 ปี จำนวน 95 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มแรก ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 โดส (0.5 ml.) เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 30 คน
  • กลุ่มที่ 2 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1/5 โดส (0.1 ml.) ฉีดเข้าในผิวหนัง จำนวน 31 คน (ระยะศึกษา 4-8 สัปดาห์) และ
  • กลุ่ม 3 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1/5 โดส (0.1 ml.) ฉีดเข้าในผิวหนัง จำนวน 34 คน (ระยะศึกษา 8-12 สัปดาห์)

โดยทำการศึกษาจากการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน (Antibody responses) และการตอบสนองของทีเซลล์ (T cell responses)

ผลการศึกษา 14 วันหลังจากได้รับการกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่า กลุ่มที่ 1 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 โดส เข้ากล้ามเนื้อ ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,652 AU (Arbitrary Unit) ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1/5 โดส ฉีดเข้าในผิวหนัง ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,300.5 AU (Arbitrary Unit) จากเดิมหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 128.7 AU (Arbitrary Unit)

นอกจากนี้ ระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของเชื้อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลตา การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าฉีดเข้าในผิวหนังสามารถยับยั้งได้ถึง 234.4 AU (Arbitrary Unit) จากเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งได้ 16.3 AU (Arbitrary Unit) ส่วนการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีหน้าที่สู้กับไวรัสเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว พบว่า ทั้งสามกลุ่มมีการทำงานของทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมที่ดีขึ้นกว่าเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม

นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอาการข้างเคียง 7 วันหลังการได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่า การฉีดในผิวหนังจะมีอาการแดง บวมและคัน มากกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะมีอาการปวดเมื่อย ปวดศีรษะ อ่อนเพลียและหนาวสั่นมากกว่าการฉีดในผิวหนัง

ข้อดีของการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังคือ มีคนที่ได้รับวัคซีนเป็นไข้ในอัตราส่วนที่ลดลงเมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ โดยที่ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีพอๆ กัน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนเพราะใช้วัคซีนปริมาณน้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook