ฟังจากผู้รู้ แพทย์แผนไทยวิเคราะห์สาเหตุ ป้าอบสมุนไพร เสียชีวิตคาบ้าน

ฟังจากผู้รู้ แพทย์แผนไทยวิเคราะห์สาเหตุ ป้าอบสมุนไพร เสียชีวิตคาบ้าน

ฟังจากผู้รู้ แพทย์แผนไทยวิเคราะห์สาเหตุ ป้าอบสมุนไพร เสียชีวิตคาบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีหญิงวัย 61 ชาวตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จุดเตาถ่านต้มสมุนไพร แล้วห่มผ้าคลุมร่างอบตัวเองหวังต้านโควิด ก่อนเสียชีวิตคาเตาอั้งโล่ที่จุดต้มสมุนไพรในบ้านตัวเอง ดังที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

อีจัน สอบถามไปยัง นายนิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ นักวิชาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่าสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงคนดังกล่าว ว่าเกิดจากอะไร ซึ่งนายนิเวศน์ตอบว่า สาเหตุการเสียชีวิตอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น

1. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เป็นข้อห้ามของการอบสมุนไพรเนื่องจากการอบสมุนไพรช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

2. สมุนไพรที่ใช้อบส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ที่เป็นสมุนไพรที่เราคุ้นเคย ไพล ขมิ้น ตะไคร้ ผิวมะกรูด ใบมะขาม พิมเสน การบูร เป็นต้น ซึ่งส่วนมากผู้อบจะมีสูตรเพิ่มเติมตามที่มีคนบอกเล่ามา ซึ่งต้องพิจารณาว่าตัวที่เพิ่มเติมเข้ามามีตัวไหนที่เป็นพิษ หรือทำให้เกิดอาการแพ้จนทำให้เสียชีวิตได้ 

3. การอบ โดยใช้เตาอั้งโล่ที่ใช้ฟืนหรือถ่าน ต้มสมุนไพรแล้วใช้ผ้าห่มคลุมศีรษะและหม้อต้มสมุนไพรพร้อมเตา อาจทำให้เสียชีวิตได้เนื่องจากการที่ไฟติดได้ต้องใช้ออกซิเจนในการเผาไหม้ ออกซิเจนค่อยๆ ลดลง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น สุดท้ายจะขาดออกซิเจนทำให้เสียชีวิตได้

ส่วนหลายคนที่คาดว่า การเสียชีวิต มาจากก๊าซที่มาจากถ่าน นายนิเวศน์ตอบว่า สารที่ออกมาจากถ่านเมื่อเผาไหม้จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายเมื่อสูดหายเข้าไปจำนวนมากๆ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนและช็อกหมดสติถึงแก่ชีวิตได้

ก่อนที่นายนิเวศน์จะแนะนำว่า การอบสมุนไพร ควรอบครั้งล่ะประมาณ 15 นาที พัก 5 - 10 นาทีเพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพก่อนแล้วจึงอบต่อ การอบสมุนไพร สามารถอบได้ 2 หรือ 3 รูปแบบ

1.อบด้วยกระโจมหรือคลุมศีรษะ กับหม้อต้มสมุนไพรที่ต้มจนเดือด แล้วยกออกมาคลุมด้านนอก ไม่คลุมกับเต้าที่ต้ม

2.ตู้อบที่โผล่ศีรษะออกมา และใช้หม้อต้มสมุนไพรวางด้านในตู้หรือใช้หม้อไฟฟ้าต้มสมุนไพรในตู้อบแต่ทั้งนี้ต้องระวังไฟดูดด้วย

3. ตู้อบหรือห้องอบแบบเข้าไปทั้งตัว มีหม้อต้มอยู่ด้านนอกห้องแล้วต่อท่อเข้าในห้องอบ

ก่อนที่นายนิเวศน์จะทิ้งท้ายว่า การอบสมุนไพรไม่ใช่ใครอบก็ได้ แม้จะเป็นประโยชน์กับร่างกายจริง แต่ควรดูโรคประจำตัว และสมุนไพรที่ใช้ด้วย และที่สำคัญไม่ควรใช้ผ้านวมหนาๆและเตาอั้งโล่การการอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook