สธ. ยืนยัน ไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ โต้เฟกนิวส์วัคซีน mRNA ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

สธ. ยืนยัน ไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ โต้เฟกนิวส์วัคซีน mRNA ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

สธ. ยืนยัน ไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ โต้เฟกนิวส์วัคซีน mRNA ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงสาธารณสุข เผย ไทยยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ ยืนยัน วัคซีน mRNA ไม่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

วันนี้ (11 ต.ค. 64) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยดร.นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผอ.สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ดร.นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และนพ.เฉวตรสรร นามวาท ผอ.กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงประเด็นการเฝ้าระวังสายพันธุ์และการกลายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย ผ่าน Facebook Live กระทรวงสาธารณสุข

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 นั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสุ่มตรวจเชื้อมาโดยตลอด ซึ่งล่าสุดสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า อัลฟา และเบต้า โดยขณะนี้พบสายพันธุ์เดลต้า 97.5% สายพันธุ์อัลฟา 2.2% และสายพันธุ์เบต้า 0.3%

ดร.นพ.สุรัคเมธ กล่าวเสริมว่า สำหรับสายพันธุ์อื่นๆ ที่น่ากังวลนั้น ขณะนี้ยังไม่พบในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ทุกสายพันธุ์ยังคงไวต่อวัคซีน จึงขอให้ประชาชนเร่งฉีดวัคซีนเพื่อลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตด้วย

ด้าน นพ.เฉวตรสรร นามวาท เปิดเผยประเด็นข่าวลือวัคซีน mRNA มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ว่า ข่าวลือดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากวัคซีนแต่ละชนิดมีส่วนประกอบแจ้งไว้อย่างชัดเจน โดยทุกล็อตที่นำเข้ามาได้มีการตรวจสอบแล้ว เพื่อตรวจเช็กอีกครั้งถึงคุณภาพของวัคซีนแต่ละล็อตตั้งแต่มาตรฐานทางกายภาพ ซึ่งหากตรวจเจอความผิดปกติจะทำการระงับและทำลายทิ้ง โดยทุกกระบวนการทำตามมาตรฐานสากล

ส่วนประเด็นวัคซีนมีการปนเปื้อนนาโนพาร์ทิเคิลนั้น ยืนยันว่าเป็นส่วนประกอบในวัคซีนจริงแต่ปลอดภัย ซึ่งมีการรับอนุญาตจาก EU และสหรัฐอเมริกาแล้ว ทั้งนี้ ขอย้ำว่าก่อนจะมีการนำเข้าวัคซีนมาฉีดให้กับประชาชนในไทยได้มีการฉีดในต่างประเทศมาก่อนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ 11 ต.ค. ประเทศสหราชอาณาจักร หรืออังกฤษ ได้ปลดประเทศไทยออกจาก Red List ที่ถือว่าเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูงจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว โดยทาง กระทรวงสาธารณสุข มีการหารือกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ การออกจาก Red list มีการเน้นย้ำให้ไทยเร่งดำเนินการบรรจุข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่ตรวจพบในไทยอย่างสม่ำเสมอลงใน GISAID รวมทั้งขอให้การตรวจสอบสายพันธุ์ของไทยมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะมั่นใจได้ว่าจะสามารถตรวจพบการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างแม่นยำ แม้จะมีการติดเชื้อในอัตราส่วนเพียงเล็กน้อยของประชากรไทยทั้งหมด และชี้แจงและเปิดเผยระบบการตรวจเชื้อแบบ pcr และระบบการตรวจสายพันธุ์ที่ชัดเจน รวมทั้งเพิ่มจำนวนการตรวจเชื้อต่อวันของไทยให้มากขึ้นด้วย

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook