คนใช้รถกุมขมับ! ตั้งแต่ 15 ธ.ค. "ขึ้นค่าทางด่วน" ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ 4 ล้อจ่าย 65

คนใช้รถกุมขมับ! ตั้งแต่ 15 ธ.ค. "ขึ้นค่าทางด่วน" ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ 4 ล้อจ่าย 65

คนใช้รถกุมขมับ! ตั้งแต่ 15 ธ.ค. "ขึ้นค่าทางด่วน" ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ 4 ล้อจ่าย 65
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จ่อขึ้นค่าทางด่วน "ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ" 15 ธ.ค.นี้ ตามสัญญาสัมปทาน - ขณะที่ "การทางพิเศษฯ" เร่งเจรจาผู้รับสัมปทานเพื่อหาข้อสรุปภายในต้นเดือน พ.ย.นี้

วันนี้ (20 ต.ค.) นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้รับสัมปทาน เตรียมปรับขึ้นค่าผ่านทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่จะปรับขึ้นค่าผ่านทางทุกๆ 5 ปี หลังจากที่เริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2559

โดยอัตราที่จะปรับเพิ่มขึ้น เป็นดังนี้

  • รถ 4 ล้อ ปรับขึ้นจาก 50 บาท เป็น 65 บาท
  • รถ 6 -10 ล้อ ปรับขึ้นจาก 80 บาท เป็น 105 บาท และ
  • รถมากกว่า 10 ล้อ ปรับขึ้นจาก 115 บาท เป็น 150 บาท

โดยเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการหารือกับ BEM ครั้งแรก ทางบริษัทรับรู้ถึงข้อห่วงใย แต่เนื่องจากกะทันหันจึงยังคิดแคมเปญไม่ทัน และบริษัทเองก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 (COVID-19) โดยมีปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนเส้นทางนี้ 50,000 คัน/วัน

ขณะที่ตามสัญญาประเมินไว้ว่าจะมีปริมาณรถ 80,000 คัน/วัน ทาง BEM จึงขอสงวนสิทธิการปรับขึ้นค่าผ่านทาง ซึ่งรายได้หายไปเกือบ 50% โดยภายในสัปดาห์หน้าจะนัด BEM มาหารืออีกครั้ง เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการ กทพ. พิจารณา คาดว่าภายในต้นเดือน พ.ย.นี้ จะต้องได้ข้อสรุปทั้งหมด

ทั้งนี้ คณะกรรมการ กทพ. มีข้อสั่งการมายังฝ่ายบริหารของ กทพ. เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีความความห่วงใยเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนในการปรับขึ้นค่าผ่านทางครั้งนี้ เนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19) จึงสั่งการให้ฝ่ายบริหารของ กทพ. ไปหารือกับบริษัทคู่สัญญา หรือ BEM เพื่อหามาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ทาง หรือเยียวยาประชาชนได้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจะเป็นการชะลอการขึ้น หรือการจัดแคมเปญพิเศษเพื่อจูงใจให้ประชาชนรู้สึกว่ายังได้รับการใส่ใจดูแล

อย่างไรก็ตาม กทพ. จะหารือกับ BEM อีกครั้ง คาดว่าจะน่าจะได้ข้อสรุปในช่วงต้นเดือน พ.ย. 64 เพื่อนำเสนอบอร์ด กทพ. ในช่วงกลางเดือน และให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะเดียวกัน กทพ.ก็จะดูแลและเยียวยาให้บริษัทผู้รับสัมปทานที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน

นอกจากนี้ ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวยอมรับว่า หนักใจเนื่องจากต้องปฏิบัติตามสัญญา และทางเอกชนเองก็ได้รับความเดือดร้อน แต่จะพยายามเจรจาหาทางออกที่ดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook