โอ๊ย ขนลุก! นึกว่าเส้นบะหมี่ ที่แท้กอง "พยาธิตัวตืด" จากผู้ป่วยรายเดียว ยั้วเยี้ยแทบเป็นลม

โอ๊ย ขนลุก! นึกว่าเส้นบะหมี่ ที่แท้กอง "พยาธิตัวตืด" จากผู้ป่วยรายเดียว ยั้วเยี้ยแทบเป็นลม

โอ๊ย ขนลุก! นึกว่าเส้นบะหมี่ ที่แท้กอง "พยาธิตัวตืด" จากผู้ป่วยรายเดียว ยั้วเยี้ยแทบเป็นลม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (29 ต.ค.) เฟซบุ๊กเพจ ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี-pdrc SUT โพสต์ภาพถุงพลาสติก ที่ภายในมีกองสิ่งมีชีวิตลักษณะเป็นเส้นจำนวนมาก พันกันยั้วเยี้ย ราวกับเส้นบะหมี่ แ่ที่แท้คือ "พยาธิตัวตืด" ที่พบในร่างกายของมนุษย์เพียงคนเดียว ชวนให้ขนลุกแบบสุดๆ

โดยทางเพจระบุข้อความว่า

"ในถุงนี้มิใช่บะหมี่ พาสต้า สปาเกตตี ขนมจีน หรือก๋วยเตี๋ยว แต่คือพยาธิตืดจำนวนมากจากผู้ป่วยรายเดียว ที่ท่านชื่นชอบลาบก้อยซอยจุ๊จ้า"

 

โดยก่อนหน้านี้ ทางศูนย์วิจัยโรคปรสิต มทส. ได้เผยแพร่บทความ หลังการจัดรายการ SUT Talk ในหัวข้อ "สายดิบต้องระวัง" เพื่อย้ำเตือนอันตรายจากพฤติกรรมชื่นชอบอาหารสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงปนเปื้อนพยาธิ 

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชวัลญ์ญา รัตนพิทูลย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มทส. เผยว่า ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มีบทบาทด้านสนับสนุนการเรียนการสอนและดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับโรคปรสิต (Parasite) พวกพยาธิต่าง ๆ ซึ่งเมื่อเข้าไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดโรค เช่น พยาธิใบไม้ตับ ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี พยาธิปากขอ ทำให้โลหิตจาง พยาธิไส้เดือน ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารในเด็ก ลำไส้อุดตัน พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว ทำให้ปวดท้อง ท้องร่วงเรื้อรัง พยาธิตัวจี๊ด ทำให้เกิดเนื้อเยื่ออักเสบ พยาธิทริคิเนลลา ทำให้ท้องร่วง ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจล้มเหลว ศูนย์วิจัยโรคปรสิตมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน จากความร่วมมือของนักวิจัยหลายกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายศาสตร์ ได้มีการนำเสนอเรื่องราวเตือนภัยเกี่ยวกับโรคปรสิตต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การเฝ้าระวังพยาธิเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังในช่วงน้ำท่วมนี้ การกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ที่มีความเสี่ยงพยาธิปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายได้ นอกเหนือจากการศึกษาวิจัย การให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินการอยู่เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง การจัดอบรมอาหารปลอดภัยสำหรับกลุ่มผู้ผลิตอาหาร เช่น การทำปลาร้า ปลาส้ม ให้ปลอดพยาธิและเพิ่มคุณค่าทางอาหาร รวมไปถึงการตรวจรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นพยาธิฟรี ซึ่งเป็นการบริการวิชาการเพื่อให้ประชาชนมี “ชีวิตปลอดภัยไร้ปรสิต”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook