จับตาราคาผักแพง ผลพวงจากน้ำท่วม-น้ำมันแพง ใครได้-ใครเสีย?

จับตาราคาผักแพง ผลพวงจากน้ำท่วม-น้ำมันแพง ใครได้-ใครเสีย?

จับตาราคาผักแพง ผลพวงจากน้ำท่วม-น้ำมันแพง ใครได้-ใครเสีย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของประเทศไทย ประสบกับพายุหลายลูกที่พัดผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนัก ซึ่งผลที่ตามมาคือ น้ำท่วม และนอกจากน้ำท่วมจะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของประชาชนแล้ว พื้นที่ทางการเกษตรหลายแห่งเสียหายจากน้ำพวกนี้ด้วย ผลกระทบที่ตามมาคือ ราคาผักบางประเภทได้ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง จ.ยะลา ราคาผักปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะ ผักชี ที่ราคาพุ่งถึงกิโลกรัมละ 400 บาท แม่ค้าผักในตลาดบอกว่า ผักในพื้นที่ไม่มี ต้องสั่งจากแหล่งปลูกในภาคกลาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่งผลให้ปริมาณผักที่ส่งให้ลูกค้าต่างจังหวัดทางภาคใต้เริ่มลดน้อยลง และยังมีแนวโน้มที่จะปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลัง มีการปรับราคาน้ำมันทำให้ราคาน้ำมันแพงซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งส่งผลกับค่าขนส่งที่ปรับราคาสูงเช่นเดียวกัน

จากการสำรวจราคาผักในตลาดสดเทศบาลเบตงพบว่า ผักที่ปรับราคาขึ้นมา 3 – 4 วัน ประเภท ผักชี ขายกิโลกรัมละ 400 บาท ขึ้นฉ่าย กก.ละ 350 บาท และผักอีกหลายชนิดพาเหรดปรับราคาสูงขึ้น ต้นหอม 120 บาท ผักกาดหอม 130 บาท มะเขือเทศ กก.ละ 50 บาท มะเขือเปราะ 50 บาท ผักกาดขาว กก.ละ 70 บาท กะหล่ำปลี กก.ละ 40 บาทผักกาดขาว 70 บาท ช่วงฤดูฝนผักจะมีราคาแพงขึ้นทุกปี เนื่องจากผักจะมีน้อยสาเหตุผักที่ปลูกไม่ชอบฝน ทำให้ผักปรับราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ราคาผักที่ปรับสูงขึ้นนี้แพงกว่าอาหารทะเลที่ขายในตลาดเสียด้วยซ้ำ ซึ่งผลดีคือ บรรดาเกษตรกรผู้ปลูกผักขาย เพราะผักราคาดี แต่เมื่อนำไปขายย่อยในตลาด ผ่านมือพ่อค้า-แม่ค้า คนกลาง หลายทอด ทำให้ราคาผักทุกชนิด มีราคาจำหน่าย แพงขึ้นเป็นเท่าตัว ขนาดราคาอาหารทะเลบางอย่างยังต้องอาย สาเหตุเพราะ ความต้องการของลูกค้าที่มีมาก แต่สถานการณ์น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ ทำให้ผักที่ปลูกเอาไว้เกิดความเสียหาย จึงส่งผลให้ ราคาผักต้นทาง จึงปรับตัวสูงขึ้นไม่เลิก

ผักที่แพงอยู่ตอนนี้เหมือนจะส่งผลดีกับ เกษตรกรผู้ปลูก แต่อาจสร้างความลำบากให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร เช่น ที่จังหวัดชลบุรี ผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านข้าวแกง ร้านอาหารตามสั่ง ได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวสู้กับราคาผัก ด้วยการปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร เลือกใช้ผักทดแทน โดยเลือกใช้ผักแพงกับถูกสลับกันไป แต่ไม่มีการลดปริมาณ หรือขึ้นราคาข้าว เพราะเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้

และเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาพูดถึงสถานการณ์ผักแพงไว้ว่า ตนรับทราบถึงกรณีพืชผักบางชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้น เช่น ผักชี คะน้า ผักบุ้งจีน มะเขือเจ้าพระยา ที่ราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันผักบางชนิดที่ราคายังทรงตัวเพราะมีผลผลิตรุ่นใหม่ออกมา เช่น ผัดกาดขาวปลี และต้นหอม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เชี่อว่ามาจากปัจจัยระยะสั้น เนื่องจากที่ผ่านมา พื้นที่ทำการเกษตรหลายแห่งประสบปัญหาน้ำท่วม ประกอบกับราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้น ทำให้ภาระค่าขนส่งเพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ กลับมาเกือบปกติ และหลายหน่วยงานเร่งเข้าไปช่วยเหลือ เยียวยา เพื่อให้เกษตกรสามารถกลับทำการเพาะปลูกได้อีกครั้ง รวมทั้งกระทรวงพลังงาน ได้มีการตรึงราคาน้ำมันดีเซลถึงสิ้นเดือนตุลาคม เพื่อช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการภาคขนส่งด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook