ชาวนาอาลัย! เป็นชาวนาต้องอดทน ปีนี้ขายข้าวหอมมะลิได้ กก.ละ 7 บาท

ชาวนาอาลัย! เป็นชาวนาต้องอดทน ปีนี้ขายข้าวหอมมะลิได้ กก.ละ 7 บาท

ชาวนาอาลัย! เป็นชาวนาต้องอดทน ปีนี้ขายข้าวหอมมะลิได้ กก.ละ 7 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาที่จังหวัดนครราชสีมาในช่วงนี้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมแล้ว

แต่มีเสียงโอดครวญจากชาวนาว่า ราคารับซื้อข้าวเปลือกตกต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ราคารับซื้อตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละ 7 บาท 70 สตางค์ ชาวนาขาดทุนซ้ำซากทุกปี อยากเรียกร้องให้รัฐบาลและนายทุนเพิ่มราคารับซื้อให้ด้วย

โดยหนึ่งในชาวนาในตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตนลงทุนทำนาปลูกข้าว ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ จำนวน 18 ไร่ วันนี้นำข้าวหอมมะลิไปขายได้ราคากิโลกรัมละ 7 บาท 70 สตางค์

ปีนี้ตนต้องมาประสบกับปัญหาน้ำท่วม 2 รอบ ข้าวที่เคยได้จำนวน 5 อุ้ม ปีนี้ (64) ได้เพียงแค่ 2 อุ้ม (อุ้มของรถเกี่ยวข้าว) นำไปขายแล้วขาดทุนมาก เมื่อหักต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่ารถไถ ค่าปุ๋ย ค่าเกี่ยว ค่าขนส่งแล้ว

สรุปคือขาดทุน อยากให้รัฐบาลช่วยปรับราคารับซื้อข้าวเปลือกให้สูงกว่านี้ด้วย เพราะหากรับซื้อเท่านี้ชาวนาไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้แน่ หากรับซื้อที่ราคา กิโลกรัมละ 10 บาทขึ้นไปก็ยังจะมีทุนพอสู้ต่อได้

ส่วนที่จังหวัดสุรินทร์ ช่วงนี้จะเป็นรอบการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ กข.105 ซึ่งเป็นข้าวหนัก พบว่าปีนี้รวงข้าวค่อนข้างสมบูรณ์สวยงาม ผลผลิตก็ข้างดี แต่ราคาข้าวตกต่ำ เมื่อนำข้าวเปลือกไปขายเต็มที่ ได้ กิโลกรัมละ 8 บาท

บางรายโดนหักค่าความชื้นและความสมบูรณ์ของเมล็ดข้าวด้วย จะเหลืออยู่ประมาณราคา กก.ละ 5-6 บาทเท่านั้น ทำให้เกษตรกรชาวนาจำนวนมากที่คาดหวังกับเงินกำไร ที่ลงทุนไปกับการทำนาปีนี้ และหวังจะนำเงินจำนวนนี้ไปใช้หนี้ ส่งลูกเรียน และไว้เลี้ยงดูครอบครัว กลับต้องผิดหวังไปตามๆ กัน

และที่จังหวัดชัยภูมิ ได้เกิดฝนหลงฤดูตกลงมาเป็นบริเวณกว้าง ในพื้นที่บ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมือง ทำให้เกษตรกรชาวนา หมู่ 18 บ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ที่เกี่ยวข้าวเปลือกแล้ว นำข้าวเปลือกของตนเองมาตากแดดไล่ความชื้น บางรายเก็บข้าวเปลือกไม่ทัน ข้าวเปลือกเปียกน้ำฝน 

ด้านศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์สถานการณ์ข้าวไว้ว่า ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ในเดือนตุลาคม 2564 ภาพรวมลดลงจากเดือนก่อน

เนื่องจากตลาดข้าวโลกยังมีการแข่งขันด้านราคาส่งออกอย่างรุนแรง โดยประเทศอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกสามารถส่งออกข้าวไปประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ของโลกได้เพิ่มขึ้น

ด้านตลาดข้าวหอมมะลิ การส่งออกไปประเทศคู่ค้ายังไม่กลับสู่ภาวะปกติจากปัญหาด้านการขนส่งสินค้าและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางการเดินเรือไปยังตลาดสำคัญในทวีปอเมริกาและสหภาพยุโรป

ส่งผลให้ในภาพรวมปริมาณการส่งออกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2564 เท่ากับ 3.18 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14 (ข้อมูล : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2564)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook