ปลัดสุดงง หนุ่มสาวสกุลเดียวกัน มาจดทะเบียนสมรส สืบไปสืบมา สกุลเดียวกันทั้งหมู่บ้าน

ปลัดสุดงง หนุ่มสาวสกุลเดียวกัน มาจดทะเบียนสมรส สืบไปสืบมา สกุลเดียวกันทั้งหมู่บ้าน

ปลัดสุดงง หนุ่มสาวสกุลเดียวกัน มาจดทะเบียนสมรส สืบไปสืบมา สกุลเดียวกันทั้งหมู่บ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วานนี้ (18 พ.ย. 64) ณ ที่ว่าการอำเภออุ้มผาง จ.ตาก เกิดเรื่องราวชวนงง เมื่อคู่รักชายหญิงมาขอจดทะเบียนสมรสกัน แต่ปลัดอำเภอพบว่าทั้งคู่มีนามสกุลเดียวกัน จึงเกรงว่าจะเป็นญาติพี่น้องกัน และไม่สามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อสืบเรื่องราวแล้ว กลับประหลาดใจกว่าเดิม

โดย นายรัตนกุล สังขศิลา ปลัดอำเภออุ้มผาง ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตรประจำอำเภออุ้มผาง กำลังปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน ได้มีชายหญิงวัยกลางคน ฝ่ายชายชื่อ นายโจมาไน กาญจนเจริญชัย อายุ 42 ปี ฝ่ายหญิงชื่อ นางสาวหน่อไม้ กาญจนเจริญชัย อายุ 43 ปี ทั้งสองเป็นชาวบ้านหมู่บ้านแม่จันทะ หมู่ที่ 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง อยู่หมู่บ้านเดียวกัน มาที่อำเภอพร้อมญาติผู้ใหญ่อีกหลายคน เพื่อขอจดทะเบียนสมรสกัน

ปลัดอำเภออุ้มผางแปลกใจ หลังพบว่าบัตรประจำประชาชนของคู่สมรสมีนามสกุลเดียวกัน จึงเรียกสอบพยานแวดล้อม เป็นผู้ใหญ่บ้านและพยานบุคคลอื่นๆ อีกหลายคน เนื่องจากเกรงว่าคู่บ่าวสาวอาจจะจะเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด เป็นข้อต้องห้ามในการจดทะเบียนสมรส 

นายโจมาไน ให้การกับเจ้าหน้าที่ว่า ตนเองเกิดและโตมาในหมู่บ้านแม่จันทะ ซึ่งภรรยาของตนชื่อ น.ส.หน่อไม้ ก็เกิดในหมู่บ้านเดียวกัน หมู่บ้านอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เดินทางยากลำบาก ปัจจุบันตนและภรรยาได้อยู่ร่วมครอบครัวเดียวกันมานานถึง 25 ปี และตนทั้งสอง ใช้นามสกุลจากผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ทำทางจิตวิญญาณของคนในหมู่บ้านมาตั้งแต่อดีต และไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหาอะไร ประกอบกับตนแทบไม่ได้มาติดต่อทางราชการเลย เนื่องจากการเดินทางลำบาก จนวันนี้ต้องมาขอจดทะเบียนสมรส เนื่องจากบุตรชายต้องใช้เอกสารของพ่อแม่ไปใช้ในการศึกษา

ด้านนายรัตนกุล กล่าวว่า ทั้งสองคู่สมรสคู่นี้มีบ้านพักอยู่กลางป่าบนดอยสูงและห่างจากที่ว่าการอำเภออุ้มผางไปไกลกว่า 100 กิโล ติดแนวชายแดนไทย-เมียนมา และได้สอบข้อเท็จจริงว่าสาเหตุที่ทั้งสองมีชื่อนามสกุลเดียวกันนั้น เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทั้งสองกำเนิดนั้นได้รับการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน ซึ่งครั้งแรกทั้งคู่ขอใช้ชื่อนามสกุลร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน และใช้กันมานานหลายสิบปี

ทั้งสองได้ร่วมแต่งงานตามประเพณีชนเผ่าในพื้นที่ป่าดอย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จนทั้งสองมีบุตรและบุตรชาย ต้องใช้เอกสารการสมรสของคู่บิดามารดา เพื่อรับรองบุตรตามกฎหมาย ทั้งสองจึงตัดสินใจเดินทางลงดอยใช้เวลานานนับวัน เพื่อมาขอนายทะเบียนขอจดทะเบียนสมรส ทางด้านพยานแวดล้อม ก็ให้การสอดคล้องกัน สามารถพิสูจน์ได้ว่าทั้งสองไม่ได้เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกัน

ทางนายทะเบียนอำเภออุ้มผางจึงจดทะเบียนสมรสให้ทั้งสองเป็นคู่สามีภรรยากันอย่างถูกต้องตามกฎหมายในที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook