ไทยเบฟ มอบ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ปีที่ 22 สู้ภัยหนาว ครบ 15 จังหวัด
เมื่อความหนาวยังคงมีมาทุกปี ความอบอุ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไทยเบฟเล็งเห็นถึงความสำคัญข้อนี้ จึงเกิดเป็น โครงการไทยเบฟ รวมใจต้านภัยหนาว ที่ร่วมมือกับ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โครงการนี้ถูกจัดขึ้นทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 22 โดยได้ส่งมอบผ้าห่มผืนเขียวรักษ์ให้กับผู้ประสบภัยหนาวทั้ง 15 จังหวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง 15 จังหวัดนั้นได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่
การส่งมอบผ้าห่มนี้ มีมาอย่างต่อเนื่อง ปีละ 2 แสนผืน รวมแล้วกว่า 4.4 ล้านผืน และยังครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัด ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน
สำหรับหัวเรือหลักผู้ริเริ่มโครงการ ที่ได้สร้างปณิธานแห่งการ “ให้” คือ คุณเจริญ - คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่ได้กล่าวไว้ว่า “คนไทยให้กันได้” คือจุดเริ่มต้นของ โครงการไทยเบฟ รวมใจต้านภัยหนาว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้แผ่ขยายสู่สังคมแห่งการให้ และการแบ่งปันจนเกิดเป็นพลังแห่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แนวคิด “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
ทำไมต้องส่งมอบผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก ไม่ใช่ผ้าห่มธรรมดา
เหตุผลที่ต้องเป็นผ้าห่มสีเขียวรักษ์โลกนั้น เนื่องมาจากว่า ไทยเบฟเป็นองค์กรที่มีการดำเนินงานตามแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืน ทางองค์กรจึงให้ความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ “ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว” และเพื่อเป็นการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ปกป้อง และรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2563 จึงได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ด้วยการนำขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลหรือ Recycled PET (rPET) ที่สามารถช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดปัญหาขวดพลาสติก แต่ยังคงคุณภาพของ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” นี้ให้มีความนุ่ม และอบอุ่นเหมือนเช่นเคย ด้วยนวัตกรรม Eco Friendly Blanket อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะจากขวดพลาสติกได้มากถึง 7.6 ล้านขวดต่อปี สำหรับการนำมาผลิต “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ได้มากถึงปีละจำนวน 2 แสนผืน ปัจจุบัน โครงการฯ ได้ผลิตผ้าห่มจากขวดพลาสติกรวมแล้วทั้งสิ้น 4 แสนผืน ดังนั้นผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลกนี้ นอกจากจะมอบความอบอุ่นให้กับผู้ใช้ได้แล้ว ยังสามารถนำขยะจากขวดพลาสติกกลับสู่ระบบรีไซเคิลได้สำเร็จแล้วจำนวน 15.2 ล้านขวดอีกด้วย
เสียงสะท้อนของผู้ได้รับมอบความอบอุ่นจากไทยเบฟ
เริ่มกันที่ คุณลุงบุญมา แก้วใจมา ได้กล่าวไว้ว่า “ดีใจ ขอบคุณมากๆ ได้เห็นผ้าห่มสีขียวทำมาจากขวดพลาสติก วันนี้ลุงรู้สึกปลื้มใจ สบายใจที่ได้ผ้าห่มมาคลายหนาว บ้านลุงมันหนาวจริง ๆ ผ้าห่มที่มีไม่พอใช้ ตากับยายต้องก่อไฟผิงเอา เกิดมายังไม่เคยเห็นผ้าห่มที่ทำมาจากขวดพลาสติก ขอบคุณไทยเบฟที่ไม่ทิ้งกันครับ”
ถัดมาคือ คุณกัลยา กองสถาน กล่าวว่า“หมู่บ้านเราอยู่กลางหุบเขา พอถึงหน้าหนาว อากาศก็จะหนาวมาก วันนี้ดีใจที่ไทยเบฟได้เอาผ้าห่มมาให้คนในชุมชน แปลกใจที่ขวดน้ำเอามาทำผ้าห่มได้ และยังมีความนิ่มเหมือนผ้าห่มปกติ ได้ลองห่มแล้วอุ่นมาก อยากให้ทุกคนช่วยกันแยกขยะ เพื่อนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นผ้าห่มแจกคนที่ขาดแคลน ช่วยประหยัดทรัพยากร ช่วยลดปริมาณขยะด้วยค่ะ ขอบคุณไทยเบฟที่ทำสิ่งดี ๆ ที่มีประโยชน์แบบนี้ ให้กับสังคมค่ะ”
ทางด้านของ คุณสุนิสา แซ่เติ๋น กล่าวว่า “ดีใจที่ได้รับผ้าห่มคลายหนาว ขอบคุณไทยเบฟที่มาแจกผ้าห่ม รู้สึกอบอุ่นกาย อบอุ่นใจ ไม่เคยรู้มาก่อนว่าขวดพลาสติกเอามาทำผ้าห่มได้ ทำเสื้อกันหนาวได้ เมื่อก่อนเคยคิดว่า เราไม่มีการศึกษา อยู่ในป่าในเขา แต่ทุกวันนี้คนไทยทำให้พวกเรารู้สึกว่า คนชาวเขาอย่างพวกเรามีคุณค่า มีอะไรก็เอามาแบ่งปันให้เรา รู้สึกซึ้งใจและขอบคุณในน้ำใจที่มีให้ ต่อจากนี้ไป เวลาเราซื้อน้ำ 1 ขวด คือมีค่า นำมาทำเป็นผ้าห่ม ทำเป็นเสื้อได้ เราจะต้องสอนลูกหลานเรื่องการทิ้งขยะ ว่าควรแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ช่วยให้โลกไม่ร้อนด้วยค่ะ”
ทั้งนี้ ไทยเบฟ เชื่อมั่นในการ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” ด้วยพลังแห่งความแข็งแกร่งของทุกภาคส่วนที่ร่วมกันขับเคลื่อน โครงการไทยเบฟรวมใจต้านภัยหนาว ไม่เพียงแต่ส่งมอบผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลกเพื่อต้านภัยหนาวเท่านั้น ไทยเบฟยังช่วยเหลือสังคมในเรื่องของการศึกษา กีฬา รวมถึงสาธารณสุข และที่ขาดไม่ได้คือการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และพร้อมขยายเครือข่ายเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืนสืบไป
[Advertorial]