สธ.แจงดราม่า แสดงความยินดีฉีดวัคซีนได้ถึง 100 ล้านโดส

สธ.แจงดราม่า แสดงความยินดีฉีดวัคซีนได้ถึง 100 ล้านโดส

สธ.แจงดราม่า แสดงความยินดีฉีดวัคซีนได้ถึง 100 ล้านโดส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รองปลัด สธ. แจงการแสดงความยินดีในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ถึง 100 ล้านโดส เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรสาธารณสุข เตรียมพร้อมทั้งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรับมือ”โอมิครอน”

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบ 100 ล้านโดส โดยไม่คำนึงถึงผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และควรเตรียมรับมือเชื้อโอมิครอน ว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ถึงเป้าหมาย 100 ล้านโดส หรือประมาณ 50 ล้านคน เป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการแข่งกับเวลา เนื่องจากในสถานการณ์การระบาดต้องพยายามฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติที่ทำได้ทั่วไป แต่ต้องอาศัยกำลังกาย กำลังใจและความทุ่มเทของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ต้องทำไปพร้อมกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 และโรคอื่น ๆ ด้วย การชื่นชมยินดีที่บุคลากรสาธารณสุขสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย ถือเป็นสิ่งดี ๆ ที่ผู้บริหารสามารถทำให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้ และเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ทำงานอย่างทุ่มเทมาต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด 19 และเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564

นพ.ธงชัยกล่าวต่อว่า สำหรับการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ “โอมิครอน” ขณะนี้ได้มีการชะลอการเข้าประเทศในระบบ Test & Go เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของผู้เดินทางที่อยู่ในระยะฟักตัวของโรค พร้อมกับเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น รวมถึงจัดบริการวัคซีนเชิงรุกให้ประชากรทุกกลุ่มทั้งคนไทยและคนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายพื้นที่เข้าถึงยาก ทั้งผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร แรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดน เป็นต้น ส่วนด้านการรักษาพยาบาล มีการเตรียมความพร้อม โดยทั้งประเทศมีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิดมากกว่า 2 แสนเตียง ปัจจุบันใช้อยู่ประมาณ 3 หมื่นเตียง ขณะนี้ยังมียาฟาวิพิราเวียร์คงเหลือมากกว่า 16.2 ล้านเม็ด และสามารถผลิตภายในประเทศได้แล้วโดยองค์การเภสัชกรรม และมียาเรมเดซิเวียร์ 4.5 หมื่นขวด รวมถึงได้สั่งซื้อและจองทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ ยาแพกซ์โลวิดแล้ว พร้อมทั้งกำลังปรับปรุงแนวทางรักษาโรคให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงยาและอุปกรณ์อื่น มีสำรองไม่น้อยกว่า 3 เดือน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook