หมอแล็บฯ แจงเหตุ ATK ตรวจน้ำประปาขึ้น 2 ขีด ชี้แค่ "ผลบวกปลอม"

หมอแล็บฯ แจงเหตุ ATK ตรวจน้ำประปาขึ้น 2 ขีด ชี้แค่ "ผลบวกปลอม"

หมอแล็บฯ แจงเหตุ ATK ตรวจน้ำประปาขึ้น 2 ขีด ชี้แค่ "ผลบวกปลอม"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอแล็บแพนด้า อธิบายกรณีใช้ ATK ตรวจน้ำประปาแล้วขึ้น 2 ขีด ไม่เกี่ยวในน้ำมีเชื้อโควิด ชี้เป็นการนำมาใช้ผิดประเภท ทำให้เกิด "ผลบวกปลอม"

จากกรณี ในโลกโซเชียล มีการแชร์คลิปวิดีโอใช้ชุดตรวจ ATK ไปตรวจน้ำประปา ผลปรากฎว่าชุดตรวจขึ้น 2 ขีด ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าในน้ำประปามีเชื่อโควิดปะปนมาหรือไม่ ทำให้ไม่มีใครกล้าใช้น้ำประปา

ล่าสุด เฟซบุ๊กแฟนเพจ หมอแล็บแพนด้า ของ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตวิธีอณูชีววิทยาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว ว่าเป็นการนำ ATK มาใช้ผิดประเภท 

โดย หมอแล็บฯ ระบุว่า "มีคลิปนึงกำลังสร้างความตระหนกตกใจอย่างมาก ในคลิปมีการเอาชุดตรวจ ATK ไปตรวจน้ำประปา แล้วปรากฏว่าขึ้นสองขีด ทำให้คนไม่กล้าใช้น้ำประปา เพราะคิดว่ามีเชื้อโควิดปนอยู่ในน้ำ 5555

ผมเห็นคลิปนี้อยากจะฮ้องดัง ๆ ข้างในว่า โด่ดิดง ละดิโด๊ดิดง ละมันเต้นบ่ตรง ลงโทะ ลงทง เพราะเป็นการใช้ชุดตรวจแบบผิดประเภท มันถูกออกแบบให้ตรวจกับสารคัดหลั่งในโพรงจมูกแล้วหยดตามด้วยบัฟเฟอร์ซึ่งเป็นน้ำใสๆที่เขาแถมมาในชุดตรวจนั่นแหละครับ ทุกชุดตรวจต้องมีแถมมา แต่ละยี่ห้อก็ห้ามใช้ข้ามกันไปมานะครับ เอาต่างยี่ห้อมาใช้แทนกันไม่ได้

ในต่างประเทศเค้ามีการทดสอบการตรวจ ATK ด้วยการเอาเครื่องดื่มตามท้องตลาดหลากหลายชนิดที่มีปริมาณเกลือและระดับ pH ต่างกันมาลองตรวจดู ปรากฏว่า ขึ้น 2 ขีด เค้าเรียกว่าเกิดผลบวกลวงหรือ

“ผลบวกปลอม”

เพราะพวกเครื่องดื่มมันไปเปลี่ยนแปลง pH หรือหักล้างฤทธิ์ของสารละลายบัฟเฟอร์

บัฟเฟอร์คือสารละลายที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลงของ pH ประกอบด้วยกรดอ่อนหรือด่างร่วมกับเกลือชนิดหนึ่ง และสารประกอบอินทรีย์ขนาดเล็กที่เรียกว่าทริซีน (tricine) "บัฟเฟอร์จะเป็นตัวสร้างสภาพแวดล้อมที่ป้องกันไม่ให้แอนติบอดีจับกันยกเว้นเชื้อโควิดเท่านั้น

ดังนั้นถ้าเราตรวจ ATK แล้วไม่ใช้น้ำยาบัฟเฟอร์ของผู้ผลิต ไปเอาน้ำอย่างอื่นมาหยดแทน หรือทำให้บัฟเฟอร์มีการเปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่ง การทำแบบนี้จะทำให้เกิดผลบวกปลอมได้ยังไงล่ะคร้าบ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook