สดร. เปิดภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี

สดร. เปิดภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี

สดร. เปิดภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สดร.เปิดเผยภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงในคืนไกลโลกที่สุดในรอบปี

เมื่อคืนนี้ (18 ม.ค.) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงในคืนไกลโลกที่สุดในรอบปี วันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นคืนที่ "ดวงจันทร์เต็มดวง" โคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี

ห่างจากโลกประมาณ 401,011 กิโลเมตร จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า “ไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon) เมื่อนำภาพถ่ายของดวงจันทร์ในคืนดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายของดวงจันทร์ในช่วงใกล้โลกที่สุดในรอบปี จะเห็นความแตกต่างของขนาดปรากฏได้อย่างชัดเจน

สำหรับ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2565 จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ที่ระยะห่างจากโลก 357,411 กิโลเมตร วันดังกล่าวจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย

ทั้งนี้ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ "ใกล้โลก" และ "ไกลโลก" ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ สดร. เปิดภาพ "ไมโครฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook