"หมอเจี๊ยบ" ร่วม #ส่งหมอกระต่าย ถามตรง ต้องใหญ่โตถึงระดับไหนถึงเปลี่ยนแปลงได้
"หมอเจี๊ยบ ลลนา" โพสต์คำถามตรงจุด ต้องใหญ่โตถึงระดับไหน? ถึงจะเปลี่ยนแปลงการคมนาคมขนส่งและการจราจรในบ้านเมืองนี้ได้? #ส่งหมอกระต่าย
เป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนร่วมกันส่งความอาลัยอย่างล้นหลาม สำหรับการเสียชีวิตของของ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เสียชีวิตจากการถูกรถบิ๊กไบค์ชนขณะข้ามทางม้าลาย โดยเพื่อนสนิทอย่าง หมอเจี๊ยบ ลลนา ที่ก่อนหน้านี้ได้ออกมาโพสต์แสดงความอาลัยถึงเพื่อนรักด้วยความเศร้า ล่าสุดก็ได้ออกมาโพสต์ตั้งคำถาม "ต้องใหญ่โตถึงระดับไหน ถึงจะเปลี่ยนแปลงการคมนาคมและการจราจรบ้านเมืองนี้ได้"
โดย หมอเจี๊ยบ ลลนา ได้โพสต์บทความที่ตั้งคำถามลงในอินสตาแกรมว่า "ต้องใหญ่โตถึงระดับไหน ? ถึงจะเปลี่ยนแปลงการคมนาคมขนส่งและการจราจรในบ้านเมืองนี้ได้?
ในเมื่อทุกคนเห็นและรับรู้ปัญหาเหมือนๆ กัน - ทางเท้า/ทางจักรยานต่างๆที่ไม่ปลอดภัยและใช้งานไม่ได้จริง -ทางม้าลายที่มีไว้ให้รถไปก่อน -ไฟทางสวยงามทั่วประเทศต้องติดให้เยอะๆ? เพราะใช้งานจริงมันจะติดบ้างไม่ติดบ้าง
-ทางกลับรถบนถนนใหญ่สายหลักในจุดเสี่ยง ที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำบ่อยๆเลยต้องเอาแบริเออมากั้นปิดตายแต่ไม่มีงบสร้างสะพานกลับรถดีๆ สักที - ใช้งบไปแก้ซ่อมทางรายปีที่ยังไม่ทันพังก็จะซ่อมวนไปทั้งปี -ป้าย "ง่วงไม่ขับ", "ง่วงจอดพัก" เต็มถนนสายหลักแต่ไม่มีจุดปลอดภัยที่ให้จอดได้ -ป้ายจำกัดความเร็วและป้ายบังคับต่างๆที่ขัดกันเอง (เคยเจอ ป้ายบังคับความเร็ว 30, 60 kphสองป้ายที่ปักห่างกัน 10m จะเอาไง?)
-คนจอดรถกันตรงที่ห้ามจอด หรือไม่ควรจอด (เคยเจอรถบัสและรถตำรวจจอดแช่ค้างคืนกันอยู่หน้าป้ายรถเมล์ที่ทาขาวเหลืองต้องออกมายืนโบกรถเมล์กลางถนนทุกวัน) - รถเมล์จอดรับส่งผู้โดยสารที่เลนส์กลาง และบางที่ไม่ต้องหยุดสนิท วิ่งชะลอให้คนวิ่งตาม ขึ้น-ลง เอาเอง
-ขนส่งมวลชนที่ขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพ (ยิ่งช่วงโรคระบาดก็ลดรอบ ลดจำนวนไป ให้ยิ่งแออัดอีก) - ตามมาด้วยปัญหามอเตอร์ไซค์ และ taxi เกลื่อนเมือง (รถยิ่งติด และอุบัติเหตุยิ่งมากขึ้น) - ส่วนที่คิดว่าพอจะสะดวกบ้าง(BTS/MRT) ก็ปรับราคาโครตแพงไปเรื่อยๆ จนคนไม่ไหวกันไปเอง -ขนส่งมวลชนระบบรางของประเทศที่ห่วยขนอะไรใหญ่ๆ ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอัน? เลยต้องใช้รถพวงวิ่งขนส่งกันเกลื่อนเมือง - รถเก่าๆ รุ่นที่เคยเห็นตั้งแต่เราเรียนประถมก็ยังต่อ พรบ. ได้ ออกมาวิ่งกันปกติ
-คนโดยสารรถส่วนตัวอย่างไม่ปลอดภัยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ซ้อนกันเต็มที่นั่งกันจนล้นซาเล้ง หรืออัดกันมาหลังรถกระบะ -คนขี่มอเตอร์ไซค์ก็ยังไม่ใส่หมวกกันน๊อค (ขนาดเห็นว่าเดี๋ยวนี้ใส่ mask กันได้ทุกคน
- ใบรับรองแพทย์ไปออกใบขับขี่ที่แทบจะอะไรๆ ก็ได้หมด เพราะตรวจสอบข้อมูลเจ็บป๋วยไม่ได้จริง (แบบป่วยรักษา รพ .นี้ แต่ไปขอใบรับรองแพทย์อีก รพ.แจ้งว่าแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว ทั้งที่กินยาคุมอาการอยู่)
-อายุเท่าไรก็ขับรถได้ แม้จะเด็กอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ใบขับขี่ หรือแก่จน 80+ แล้ว ก็ยังให้ขับแม้ว่าจะตัดสินใจได้ช้ากว่าความเร็วรถไปมากก็ ok? ลองมองรอบตัวว่ามีใครไม่เคยสูญเสียคนที่รักจากระบบการจราจรของไทย คงจะไม่มี #ส่งหมอกระต่าย #RIPKT #อยากให้เป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย #ประเทศที่คนตายจากอุบัติเหตุจราจรเป็นอันดับ 3 ของโลก
และหมอเจี๊ยบ ได้แคปชั่นข้อความที่ตัวเองนำมาโพสต์ว่า "ไม่อยากเรียกว่าเกิดอุบัติเหตุ เพราะการเรียกว่าอุบัติเหตุจะถือว่ามันป้องกันไม่ได้ ส่วนตัวซื้อคำว่า จิตสำนึก แค่ส่วนหนึ่งแต่ไม่ทั้งหมดซะทีเดียว เพราะจริงๆ คนในประเทศที่เค้าพัฒนาแล้ว ไม่ได้มีจิตสำนึกเหมือนกันหมดทุกคน แต่เค้ากลัวกฎหมาย และบทลงโทษที่รุนแรง จึงไม่กล้าทำผิดและปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด การแก้ปัญหาที่เป็นไปได้จริงภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องโฟกัสมาจากที่โครงสร้าง ไม่ใช่ด้วยการแค่หวังหรือการทำแคมเปญรณรงค์ ขอความร่วมมือให้ประชาชนแต่ละคนพึงมีจิตสำนึกกันเอง #ส่งหมอกระต่าย #RIPKT #อยากให้เป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย credit : @promegranate"
ท่ามกลางแฟนๆ ที่เข้ามากดไลก์ เข้ามาแสดงความคิดเห็นและร่วมกันไว้อาลัยหมอกระต่ายกันอย่างล้นหลาม
อัลบั้มภาพ 20 ภาพ