สธ.เล็งใช้วิธีดูแลผู้ป่วยโควิดแบบ "เจอ-แจก-จบ" เป้า 4 เดือนเป็นโรคประจำถิ่น

สธ.เล็งใช้วิธีดูแลผู้ป่วยโควิดแบบ "เจอ-แจก-จบ" เป้า 4 เดือนเป็นโรคประจำถิ่น

สธ.เล็งใช้วิธีดูแลผู้ป่วยโควิดแบบ "เจอ-แจก-จบ" เป้า 4 เดือนเป็นโรคประจำถิ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมการจัดบริการเพิ่มสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด ในรูปแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” เริ่ม 1 มีนาคมนี้ ตามแผนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น เผยจังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ตดำเนินการแล้วได้ผลดี

วันนี้ (25 ก.พ.) ที่ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิด 19 ออกจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือ การที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันประชาชนมีภูมิต้านทานมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนจากนี้ โดยได้จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยทำการตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่

1. ยาฟาวิพิราเวียร์ 2. ยาฟ้าทะลายโจร 3. ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 มีนาคม นี้

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีจังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ต ที่ดำเนินการอยู่แล้ว พบว่าได้ผลดี ส่วนศิริราชพยาบาลได้วางระบบต้นแบบนี้ไว้เช่นกัน โดยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่บ้าน ไม่พบคนหมู่มาก พยายามแยกตัวออกจากผู้อื่น ลดการเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ สำหรับกลุ่ม 608 สามารถใช้ระบบนี้ได้ หากมีความเสี่ยงสูง หรือโรคประจำตัวมาก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยในต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook