อ.ปวิน ตั้งข้อสังเกตปม "โศกนาฏกรรมแตงโม" ติงบทบาท หนุ่ม กรรชัย

อ.ปวิน ตั้งข้อสังเกตปม "โศกนาฏกรรมแตงโม" ติงบทบาท หนุ่ม กรรชัย

อ.ปวิน ตั้งข้อสังเกตปม "โศกนาฏกรรมแตงโม" ติงบทบาท หนุ่ม กรรชัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ.ปวิน ตั้งข้อสังเกตปม "โศกนาฏกรรมแตงโม" ทำไมคดีนี้ถึงกลบทุกข่าว ติงบทบาทผู้ดำเนินรายการของ "หนุ่ม กรรชัย" 

จากกรณีที่นักแสดงสาวชื่อดัง แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ ได้พลัดตกเรือสปีดโบ๊ทจมแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุเกิดเมื่อกลางดึกของวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา จนกระทั่งช่วงเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 26 ก.พ. ถึงพบร่างดาราสาวลอยอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาตรง ท่าน้ำพิบูลย์สงคราม 1 อ.เมือง จ.นนทบุรี

ซึ่งต่อมา นายตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ หรือ ปอ เจ้าของเรือสปีดโบ๊ท, นายวิศาพัช มโนมัยรัตน์ หรือ แซน, น.ส.อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ หรือ กระติก ผู้จัดการส่วนตัวของแตงโม และ นายนิทัศน์ กีรติสุทธิสาธร หรือ จ๊อบ ซึ่งอยู่บนเรือลำดังกล่าว เดินทางมาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโหนกระแส แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องต่างติดเทรนด์กันข้ามวัน

ล่าสุด วันนี้ (1 มี.ค.) อาจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกียวโต แสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าว ผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ตั้งแต่เกิดโศกนาฏกรรมแตงโม ยังไม่มีโอกาสได้เขียนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เอาล่ะ ขอเครียดแบบซีเรียสนิดนึง นี่คือข้อสังเกตค่ะ

1. พลัง public opinion โดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยลมีเดียมันล้นหลาม ในช่วงที่ผ่านมา ที่เห็นดิชั้น fanatical กับเรื่องแตงโม เพราะต้องการทดสอบไอ้พลังของ public opinion อันนี้ มันมีผลอย่างมากในการชี้นำการพิจารณาคดี ที่สำคัญ อาจจะนำไปสู่การชี้นำกฎหมายก็ได้ โดยเฉพาะในบริบทของไทยที่การบังคับใช้กฎหมายยังอ่อนแอ และลื่นไหลไปตามกระแสสังคม

2. คนไทยพร้อมถูกสะกดจิตหมู่ collectively hypnotised โดยเอามาตรฐานทางศีลธรรมแบบสมบูรณ์มาเป็นเครื่องนำทาง แม้ว่าในชีวิตประจำวันของเราจะไม่ได้ปฏิบัติตามหลักศีลธรรมนั้นๆ ตอนนี้ ใครที่เสนอความเห็นเรื่องแตงโม นอกลู่ไปจากหลักศีลธรรม จะถูกห้ำหั่น in some ways บุคคลทั้ง 5 ที่ยังมีชีวิตได้ถูกพิพากษาไปแล้ว

ตอนนี้ แม้แต่การพูดถึงอดีตที่ไม่พึงประสงค์ของแตงโมก็เป็นเรื่องผิด (ดิชั้นใช้คำว่าพูดถึงนะคะ ไม่ได้ไปไกลกว่าวิจารณ์เลย) มันเกิดปรากฏการณ์ compassion แบบเหมารวม คือการให้ความเห็นใจแก่ผู้ตายต้องให้ทั้งหมด ห้ามกล่าวถึงในทางลบทั้งสิ้น อันนี้หมายรวมถึงห้ามพูดถึงความประมาทที่อาจเกิดจากตัวผู้ตายเอง

3. บทบาทของผู้ชี้นำสังคมอย่างพี่ หนุ่ม กรรชัย แม้ดิชั้นได้เขียนไปขอบคุณในเรื่องการเป็นปากเสียงชาวบ้าน แต่ดิชั้นไม่แน่ใจว่านี่เป็นบทบาทที่เหมาะสมของผู้ดำเนินรายการหรือไม่ ที่ต้องคงความเป็น กลาง (ให้มากที่สุด) และรายงานข้อเท็จจริง แทนที่จะเป็นการรายงานอารมณ์ การเล็คเชอร์แขกที่มา

ทั้งนี้ พี่หนุ่ม รู้ว่ากระแสสังคมอยู่ที่ไหน และต้องการ capitalise จากกระแสอันนั้นเพื่อความสำเร็จของรายการและตัวพิธีกร เช่นกัน ในรายการนั้น มันมีการพิพากษาเกิดขึ้นแล้วเหมือนกัน อันนี้ค่อนข้างโหด คือคนไทยชอบดูรายการเชือดกลางรายการแบบสดๆ อย่างนี้มาก

4. สุดท้าย ทำไมคดีแตงโมถึงกลบทุกข่าว ทำไมเวลามีคนหาย คนตาย คนถูกอุ้มคนอื่นจึงไม่สามารถสร้างพลังได้เท่านี้ อย่าลืมว่า คนไทยเกือบทุกคนรู้จักแตงโม โตมากับแตงโม เรียกว่ารู้จักเหมือนคนรู้จัก มันเป็นมายาคติ แล้วสังคมไทยนิยมสร้างมายาคติแบบนี้ ดาราที่ต่อสู้เพื่อชีวิต มาจากครอบครัวที่แตกแยก ผิดหวังกับความรัก ไม่สมหวังกับชีวิต ผ่านอุบัติเหตุและการฆ่าตัวตาย หลงผิดทางการเมือง จนตาสว่างทางการเมือง และพบรักแท้ แต่ต้องมาจบชีวิตแบบนี้

ส่วนกรณีอื่นๆ โดยเฉพาะคนที่ถูกอุ้มหาย คนเหล่านั้นคือประเด็นทางการเมืองที่มายาคติแบบนี้มันเข้าไม่ถึงเท่านั้นเอง ขอบคุณค่ะ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook