ลูกสาวนำเถ้ากระดูกตรวจ DNA ยืนยันว่าเป็นพ่อ หลัง รพ. สลับชื่อคนไข้ ส่งศพเผาผิดตัว

ลูกสาวนำเถ้ากระดูกตรวจ DNA ยืนยันว่าเป็นพ่อ หลัง รพ. สลับชื่อคนไข้ ส่งศพเผาผิดตัว

ลูกสาวนำเถ้ากระดูกตรวจ DNA ยืนยันว่าเป็นพ่อ หลัง รพ. สลับชื่อคนไข้ ส่งศพเผาผิดตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลูกสาวนำเถ้ากระดูกตรวจ DNA เพื่อยืนยันว่าใช่พ่อตัวเองหรือไม่ หลัง รพ. สลับชื่อกับคนไข้อีกราย ส่งศพไปให้อีกครอบครัวเผา

จากกรณี รพ.แห่งหนึ่งในปทุมธานี เรียกลูกสาวมาดูใจพ่อที่ป่วยหนักชื่อ "ธีระ" แต่เมื่อลูกสาวมาเยี่ยมพบว่าคนไข้บนเตียงที่ติดชื่อธีระ ไม่ใช่พ่อตนเอง แต่เป็นชายที่ชื่อ "บุญหนา" เมื่อติดตามจนพบลูกสาวของนายบุญหนา ครอบครัวของนายบุญหนาเองก็ประหลาดใจที่นายบุญหนานอนอยู่ที่ รพ. เพราะได้จัดงานฌาปนกิจศพนายบุญหนาไปแล้วตั้งแต่ 24 มกราคม ทำให้เกิดความสงสัยว่า ศพที่เผาไปเป็นศพใคร 

(10 มี.ค.65) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ชั้น 9 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ น.ส.ธัชสุภา อายุ 33 ปี เข้าพบ พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ตรวจสอบเถ้ากระดูกที่ รพ.ปทุมธานี ส่งไปเผาที่วัดหงส์ ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ด้วยโรคโควิด ว่า นายธีระ ระงับโจร อายุ 66 ปี ผู้เป็นพ่อ จริงหรือไม่ หลัง รพ.ระบุ ส่งศพเผาผิดตัว

น.ส.ธัชสุภา กล่าวว่า วันนี้ที่มาสถาบันนิติเวชเพื่อที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบพยานหลักฐานชิ้นเดียวที่มีคือเถ้ากระดูกที่ถูกเผาไปแล้วว่าเป็นพ่อตนเองหรือไม่ ซึ่งตนเองก็พอจะรู้ว่าการตรวจพิสูจน์กระดูกที่ถูกเผาไปแล้วมีความเป็นไปได้น้อยมาก แต่ก็เป็นหลักฐานชิ้นเดียวจริงๆ ที่จะทำให้มั่นใจว่าเป็นพ่อ ก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกับทางโรงพยาบาลว่ามีความผิดพลาดตรงจุดใด ก็ทราบว่ามีการผิดพลาดในส่วนของชื่อที่ติดปลายเตียง

ตนเองรับไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สลับชื่อกันได้อย่างไรในเมื่อการรักษาก็คนละอาการ ทำให้ตนคิดไปต่างๆ นานา ว่าจะรักษาตรงตามโรคจริงไหม เพราะมีการสลับชื่อไปตั้งแต่พ่อติดโควิด ส่วนการแก้ไขความผิดพลาดตอนนี้เท่าที่ทราบไม่ทำสามารถทำได้ เนื่องจากมีการทำใบมรณบัตรออกมาแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาตอนที่พ่อรักษาตัวที่ รพ.จนหายจากโควิด และถูกย้ายมาพักฟื้นที่อายุรกรรมทางโรงพยาบาลก็ไม่ให้เยี่ยม ซึ่งถ้าให้เข้าไปตั้งแต่ตอนนั้นก็น่าจะรู้ว่าเป็นพ่อเราหรือไม่ จน ณ วันนี้ตนก็ยังไม่รู้ว่าศพที่เผาไปเป็นใคร

ด้าน พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า การตรวจดีเอ็นเอที่เราเจอในวัตถุพยาน ก็ต้องขึ้นอยู่กับพยานวัตถุที่นำมาส่ง เป็นเรื่องของการตรวจกระดูกจริงๆ แล้วสามารถสกัดได้แต่บางครั้งกระดูกที่ผ่านความร้อนสูงๆ หรือเผาไหม้ไปแล้วอาจจะตรวจไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีบางส่วนเผาไหม้ไม่หมดก็จะสามารถนำมาสกัดดีเอ็นเอได้ คาดน่าจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook