"หมอพรทิพย์" ชี้คดีแตงโมมีความแปลกมาตั้งแต่ต้น ย้ำครอบครัวต้องรับรู้ผลชันสูตร

"หมอพรทิพย์" ชี้คดีแตงโมมีความแปลกมาตั้งแต่ต้น ย้ำครอบครัวต้องรับรู้ผลชันสูตร

"หมอพรทิพย์" ชี้คดีแตงโมมีความแปลกมาตั้งแต่ต้น ย้ำครอบครัวต้องรับรู้ผลชันสูตร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ ย้ำครอบครัวแตงโมมีสิทธิรับรู้ผลชันสูตรศพ ยอมรับคดีนี้มีความแปลกมาตั้งแต่เริ่มต้น วอนสถาบันนิติเวชฯ ต้องชี้แจงให้ชัดเจน พร้อมให้คำแนะนำจากประสบการณ์ด้านนิติวิทยาศาสตร์

วันนี้ (14 มี.ค.) แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสริภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา และอดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ให้ความเห็นต่อการชันสูตรศพครั้งที่ 2 ของนางสาวภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม ดารานักแสดงชื่อดังที่ตกเรือเสียชีวิต ว่า ขอนำเสนอแนวทางการรวบรวมพยานหลักฐานและการผ่าศพของแพทย์นิติเวช ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์นิติเวช ที่เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้แรงกดดันต่างๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้ประชาชนไม่เกิดความระแวงสงสัย

ขณะที่เรื่องสิทธิของผู้เสียชีวิตหรือเหยื่อ ซึ่งเป็นหลักสากลที่สหประชาชาติกำหนดไว้ คือ สิทธิที่จะรับรู้ผลการตรวจชันสูตรศพของครอบครัว โดยจะนำเรื่องนี้เสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ พิจารณาควบคู่กับการตรวจสอบคดีนี้ด้วย

สำหรับความเป็นไปได้ของการชันสูตรศพรอบที่สองนั้น แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ กล่าวว่า ตามคำแนะนำที่ให้กับครอบครัวของแตงโม คือ การขอรับทราบผลตรวจทุกอย่างที่เกี่ยวกับศพ จากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ โดยตนจะเดินทางไปในฐานะกรรมาธิการฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยชี้แนะให้กับครอบครัวในการสอบถามประเด็นที่ควรทราบ เช่น รอยบาดแผลบริเวณขา ที่มีวิธีการพิสูจน์ทราบได้ว่าเกิดจากสิ่งใด และหากสถาบันนิติเวชฯ ให้ข้อมูลไม่ชัดเจนหรือยังมีประเด็นที่เป็นข้อสงสัย อาจจะต้องมีการชันสูตรศพใหม่ ซึ่งตนไม่สามารถร่วมทีมผ่าชันสูตรศพได้ เพราะไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง ทำได้เพียงให้คำปรึกษาเท่านั้น

ส่วนข้อสังเกตเรื่องบาดแผลบริเวณขาว่าเกิดก่อนหรือหลังการเสียชีวิต แพทย์หญิงคุณหญิง พรทิพย์ อธิบายว่า สิ่งแรกจะต้องพิจารณาว่าผู้ให้ข้อมูล คือ แพทย์นิติเวชที่ผ่าศพหรือผู้ตรวจชิ้นเนื้อหรือการตรวจทางพยาธิวิทยา โดยกระบวนการต้องเริ่มจากแพทย์ผ่าศพที่จะเลือกชิ้นเนื้อส่งไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะบอกได้ว่าพบเลือดหรือการอักเสบ จากนั้นแพทย์ผ่าศพจึงจะสามารถระบุได้ว่าเป็นแผลที่เกิดก่อนหรือหลังการเสียชีวิต ขณะเดียวกันทราบว่าบาดแผลไม่ถูกเส้นเลือดใหญ่ ไม่ทำให้เสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าคดีนี้ไม่ยาก แต่อยู่ที่การรวบรวมพยานหลักฐานต้องถูกต้องครบถ้วนและทันเวลา ซึ่งอยู่ที่หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จากบุคคลบนเรือทั้ง 5 คนและเรือที่เกิดเหตุ ส่วนจะได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในฐานะที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ หากมีการชันสูตรศพครั้งที่สองหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสถาบันนิติเวชวิทยา แต่ส่วนตัวได้ให้คำแนะนำในหลายประเด็นกับครอบครัวไปแล้ว

แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ ยอมรับว่า สภาพศพที่เน่าเปื่อยเป็นปัญหาต่อผลการชันสูตรศพ โดยการชันสูตรครั้งที่หนึ่งตอบคำถามไปได้มาก ขณะที่การตรวจชันสูตรครั้งที่สอง บางคำถามก็ไม่สามารถตอบได้แล้ว เช่น มีแอลกอฮอล์ในร่างกายผู้เสียชีวิตหรือไม่ เป็นต้น

ทั้งนี้ ตนไม่สามารถตั้งธงคดีได้ แต่ยอมรับว่าคดีมีความแปลกตั้งแต่เริ่มต้น จากวิธีการดำเนินงานที่ไม่นำไปสู่ความกระจ่าง เช่น การไม่เก็บหลักฐานของเรือและบุคคลบนเรือทันที ตลอดจนการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของเรือ ซึ่งขัดกับหลักนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook