โฆษกดีอีเอส เผยข่าวปลอมอ้างชื่อธนาคารเริ่มไร้พลัง! พบมากแต่คนสนใจน้อย

โฆษกดีอีเอส เผยข่าวปลอมอ้างชื่อธนาคารเริ่มไร้พลัง! พบมากแต่คนสนใจน้อย

โฆษกดีอีเอส เผยข่าวปลอมอ้างชื่อธนาคารเริ่มไร้พลัง! พบมากแต่คนสนใจน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โฆษกดีอีเอสฝ่ายการเมือง สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบหลายเรื่องที่ต้องตรวจสอบเป็นประเด็นโครงการสินเชื่อ แคมเปญเงินกู้มาตรการจูงใจจากธนาคารใหญ่หลายแห่ง แต่คนสนใจน้อยจนหลุดจาก 5 อันดับข่าวที่ได้รับความสนใจมากสุด

วันนี้ (26 มี.ค.) นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์ระหว่างวันที่ 18-24 มี.ค. 65 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 11,653,791 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 245 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 130 เรื่อง โดยสัดส่วนหลักอยู่ในกลุ่มนโยบายรัฐบาล / ข่าวสารทางราชการ จำนวน 70 เรื่อง

ทั้งนี้ พบว่ายังคงมีการแชร์ข่าวธนาคารหลายแห่ง เปิดโครงการสินเชื่อหรือแคมเปญเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนยาว รวมถึงแจกเงินเนื่องในวาระพิเศษ ในจำนวนนี้มีทั้งข่าวจริง ข่าวบิดเบือน และข่าวปลอม อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ข่าวในกลุ่มนี้เริ่มเป็นที่สนใจน้อยลง และในสัปดาห์ล่าสุดนี้หลุดอันดับท็อป 5 ของข่าวที่มีผู้สนใจมากสุด

สำหรับข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจมากสุด 5 อันดับแรก ในช่วงวันที่ 18-24 มี.ค.นี้ ประกอบด้วย

อันดับ 1 รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก ให้พระสงฆ์เข้าแถวเสมอโยมชาย-หญิง เพราะมีเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้อง

อันดับ 2 เติมน้ำมันพืชแทนน้ำมันดีเซล ช่วยให้รถยนต์ประหยัดน้ำมันมากขึ้น

อันดับ 3 ลอตเตอรี่สัญลักษณ์ผีน้อย และกบไชโย มีโอกาสถูกรางวัลสูงกว่าแบบอื่น

อันดับ 4 มีติ่งเนื้อขึ้นบริเวณคอ แขน ข้อมือ เสี่ยงป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และไขมันในเลือดสูง

และอันดับ 5 กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง

“จากการมอนิเตอร์และตรวจสอบเบาะแสข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง เห็นแนวโน้มที่ดีในการตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอม และยังต้องขอความร่วมมือประชาชน เมื่อได้รับข้อมูลผ่านโซเชียล อย่าเพิ่งหลงเชื่อในทันที ขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูล โดยสามารถแจ้งข้อมูลมายังศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ และยืนยันข้อเท็จจริงต่อไป และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87” นางสาวนพวรรณ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook