พบโฆษณาตรงโฆษณาแฝงช่อง 3-5-7-9เกินกม.

พบโฆษณาตรงโฆษณาแฝงช่อง 3-5-7-9เกินกม.

พบโฆษณาตรงโฆษณาแฝงช่อง 3-5-7-9เกินกม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มีเดียมอนิเตอร์ เผยผลสำรวจ โฆษณาตรงโฆษณาแฝง  พบ 3-5-7-9 โฆษณาตรงเกินกฎหมาย ขณะที่โฆษณาแฝงลามทุกรายการ เว้นข่าวพระราชสำนัก ประชุมรัฐสภา แย่สุดใช้เด็กเป็นร่างทรงโชว์สินค้าในรายการ

(16ธ.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม ( Media Monitor ) แถลงข่าว " จุดร่วมและทางออกโฆษณาทางฟรีทีวี : ผู้ผลิตอยู่รอด สังคมอยู่ได้อย่างเป็นธรรม "

นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการเฝ้าระวังสื่อฯ กล่าวว่า แม้ไทยใช้พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์ พ . ศ . 2551 เพื่อ ควบคุมการโฆษณา แต่ยังพบปัญหาข้อกฎหมายตามไม่ทันกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ เนื่องจากปัจจุบันมีการโฆษณาแฝงมาก ไร้กฎหมายควบคุมที่ชัดเจน อีกทั้งมีการใช้วิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบและการโฆษณา ขณะที่กรมประชาสัมพันธ์ ไม่มีอำนาจในการออกประกาศ ระเบียบ การโฆษณาเพื่อบังคับใช้กับสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ

นายธาม กล่าวว่า จากการศึกษาโฆษณาตรงทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 25-27 ก.ย. 2552 ตลอด 24 ชั่วโมง พบว่า มี 4 ช่องที่โฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1. ช่อง 9 รวม 3 วัน มีการโฆษณาเกิน 192 นาที หรือเฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง 2. ช่อง 3 โฆษณาเกิน 149 นาที 3. ช่อง 7 โฆษณาเกิน 111 นาที และ 4. ช่อง 5 โฆษณาเกิน 106 นาที ขณะที่ช่อง 11- สทท . ไม่พบการโฆษณาตรงเกินกว่าที่กำหนด นอกจากนี้เมื่อวัดจากจำนวนที่มีการโฆษณาแฝง พบมากที่สุด คือ ช่อง 5 มีการโฆษณาแฝงถึง 85.8% ช่อง 9 มีการโฆษณาแฝง 83.3 % ช่อง 7 โฆษณาแฝง 74.8% ช่อง 3 โฆษณาแฝง 68.7% และช่อง 11 โฆษณาแฝง 48.1%

นายธาม กล่าวว่า สำหรับวิธีการโฆษณาแฝงที่พบบ่อยที่สุด คือ 1 . โฆษณาแฝงสปอตสั้นหรือวีทีอาร์ โดยใช้ภาพโฆษณาสินค้า ประมาณ 4-7 วินาที ในช่วงเข้าเนื้อหารายการ 2 .โฆษณาแฝงวัตถุ โดยตั้งใจจัดฉากให้เห็นสินค้าชัดเจน โดยเฉพาะฉากละครซิทคอมที่ร้านขายสินค้าจะเป็นจุดหลักของการโฆษณา ส่วนรายการข่าวจะนิยมใช้แก้วกาแฟ กล่องนม ซองขนมปัง และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค 3.การโฆษณาแฝงภาพกราฟฟิก มีความถี่บ่อย ฉายเวียนซ้ำกันในระหว่างเบรก และ4. การโฆษณาแฝงไปกับเนื้อหา แม้จะพบในระดับที่ไม่มาก แต่มีลักษณะที่แนบเนียน

" การโฆษณาดังกล่าว ถือว่าผิดกฎหมาย ตามพรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 มาตรา 23 ว่าด้วยสัดส่วนการโฆษณาธุรกิจ เนื่องจากการโฆษณาตรงต้องออกอากาศในช่วงที่ไม่ใช่เนื้อหารายการ โดยใช้เกณฑ์การโฆษณาธุรกิจ เฉลี่ยทั้งวันต้องไม่เกิน 10 นาทีต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีหลายช่องที่โฆษณาแฝงแทบทุกรายการ ยกเว้นการถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภา ข่าวพระราชสำนัก นอกจากนี้ยังพบว่ารายการเด็กและเยาวชน มีการใช้กลยุทธโฆษณาแฝงที่แนบเนียน จัดฉากให้เด็กมีส่วนร่วมในการโชว์สินค้า เด็กหรือผู้ร่วมรายการเป็นเหมือนร่างทรง ทั้งที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ " นายธาม กล่าว

นายธาม กล่าวว่า ที่ ประชุมกรรมการวิชาการของโครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อฯ เห็นตรงกันว่า ร่างประกาศโฆษณาแฝงที่กำลังพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ . ) ไม่ทำให้โฆษณาแฝงลดลง ไม่ครอบคลุมวิธีการแฝงโฆษณาบางประเภท เช่นการแฝงโฆษณาเข้าไปกับเนื้อหา ตัวบุคคล บทสนทนา โดยไม่มีบทลงโทษหรือเอาผิดผู้ฝ่าฝืน ขัดต่อกฎหมายบางฉบับ ทั้งนี้คณะกรรมการวิชาการของโครงการฯ ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับประเทศอื่นๆ 5 ข้อ ได้แก่ 1. โฆษณาแฝง ไม่ควรมีในรายการข่าว รายการเด็กเยาวชนโดยเด็ดขาด 2.รายการที่มีโฆษณาแฝงมาก เช่น ละคร ภาพยนตร์ ซิทคอม เกมโชว์ วาไรตี้ ควรกำกับดูแลโฆษณาแฝง ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

นายธาม กล่าวว่า ข้อ3. มีบทลงโทษ ปรับ หากพบว่ามีโฆษณาแฝงในรายการที่ห้ามหรือเกินกำหนด 4. การโฆษณาแฝง หากมีในเนื้อหารายการ ต้องมีสัญลักษณ์ว่า " เป็นโฆษณา " และ 5.การโฆษณาแฝงผ่านสื่อ ควรแจ้งข้อมูลทางการเงินหรือผลตอบแทนเพื่อความโปร่งใส อย่างไรก็ตามเครือข่ายครอบครัวและองค์กรที่ทำงานด้านสื่อและเด็ก เห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวอาจมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและจะนำข้อเสนอนี้ไปให้กับ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะ ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ . ) เพื่อพิจารณาต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook