ม็อบเมย์เดย์บุกทำเนียบ ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกฯ ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท

ม็อบเมย์เดย์บุกทำเนียบ ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกฯ ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท

ม็อบเมย์เดย์บุกทำเนียบ ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกฯ ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ม็อบเมย์เดย์นัดรวมพลบุกทำเนียบ ยื่น 11 ข้อเรียกร้องถึงประยุทธ์ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูประบบประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ

วันนี้ (1 พ.ค. 65) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และนายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จัดกิจกรรมเนื่องในวันกรรมกรสากล ยื่น 11 ข้อเรียกร้องต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

เมื่อเวลา 07.50 น. พบว่ากลุ่มมวลชนทยอยเดินทางมา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ, สหภาพแรงงานภาคตะวันออก, สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย), กลุ่มสหภาพแรงงาน อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย เป็นต้น

จากนั้นเวลา 09.30 น. กลุ่มมวลชนเคลื่อนตัวไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่น 11 ข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี  นางอภัณตรี กล่าวว่า การจัดงานกิจกรรมในวันนี้ ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว รวมทั้งมีการจัดจุดลงทะเบียนคัดกรองตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ขณะที่กรุงเทพมหานคร มีการนำรถสุขาเคลื่อนที่ และรถน้ำประปาดื่มได้ จากการประปานครหลวงมาจอดไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วย

นายสาวิทย์ กล่าวว่า ในทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ในอดีตของพี่น้องกรรมกรทั่วโลก ที่ร่วมกันต่อสู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อยื่นข้อเสนอของคนงานที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ต่างๆ ต่อรัฐบาล โดยข้อเรียกร้องหลักเป็นข้อเรียกร้องที่เป็นประเด็นทุกเถียงในสังคม คือค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งขอปรับขึ้นเป็น 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันให้ทำโครงสร้างค่าจ้าง ขอให้หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูประบบประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ รวมทั้งจัดตั้งธนาคารแรงงาน โรงพยาบาลประกันสังคม รับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 98 183 189 และขอให้ยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น ซึ่งไม่มั่นคง พร้อมขอให้ลูกจ้างของรัฐฯ ได้รับการบรรจุ เพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพชีวิต

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอสำหรับแรงงานข้ามชาติด้วย โดยขอรัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ หยุดขูดรีดแรงงานข้ามชาติ ไม่เลือกปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ ขอให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารประจำตัวแรงงานข้ามชาติ และคุ้มครองไม่ให้แรงงานข้ามชาติตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เป็นต้น

ด้านนายมานพ กล่าวว่า ขอฝากไปถึงรัฐบาลให้นำสิ่งที่ยื่นวันนี้ ไปใช้เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook