หาเสียงแล้วทำไม่ได้!? ย้อนดูนโยบายเพื่อผู้หญิง ปชป. ในห้วงวิกฤตศรัทธาจากคดีปริญญ์

หาเสียงแล้วทำไม่ได้!? ย้อนดูนโยบายเพื่อผู้หญิง ปชป. ในห้วงวิกฤตศรัทธาจากคดีปริญญ์

หาเสียงแล้วทำไม่ได้!? ย้อนดูนโยบายเพื่อผู้หญิง ปชป. ในห้วงวิกฤตศรัทธาจากคดีปริญญ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หาเสียงแล้วทำไม่ได้!? ย้อนดูนโยบายเพื่อผู้หญิง ปชป. ในห้วงวิกฤตศรัทธาจากคดีปริญญ์

หลังกรณีฉาวของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ และถูกดำเนินคดีล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง จนทำให้กรรมการบริหารพรรคหลายคนลาออกจากตำแหน่ง และเกิดแรงกระเพื่อมทางสังคม องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและความเท่าเทียมทางเพศ 16 องค์กรรวมตัวหน้าพรรคเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบประวัติการล่วงละเมิดทางเพศในกระบวนการคัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งภายในพรรค และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบ จนจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ทั้งที่ประชาธิปัตย์เองก็เป็นพรรคหนึ่งที่หยิบยกนโยบายเพื่อผู้หญิงมาหาเสียงในการเลือกตั้งปี 2562

หากย้อนไปช่วงการเลือกตั้งปี 2562 ในวันที่ 4 มีนาคม 2562 ก่อนหน้าวันสตรีสากล 4 วัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมทั้งแกนนำสตรีพรรคประชาธิปัตย์ เช่น รัชดา ธนาดิเรก จัดงาน “DEM for Women” เปิดนโยบายเพื่อผู้หญิง ที่บริเวณสกายวอล์ก สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสช่องนนทรี พร้อมกับเผยแพร่คลิปวีดิโอ นโยบายเพื่อผู้หญิง วาระประชาธิปัตย์ ที่มีผู้รับชมกว่า 3,500,000 ครั้ง  โดยมีเนื้อหาดังนี้

  1. ผู้หญิงต้องพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง มีที่ดินทํากินชัดเจนภายใต้ชื่อ “โฉนดสีฟ้า”, ประกันรายได้ 120,000 บาท/ปี, มีเงินออม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดชีวิต
  2. ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี Smart Watch เเละ AI มาช่วยป้องกัน ให้ความช่วยเหลือ และเพิ่มช่องทางการร้องทุกข์ เมื่อเกิดคดีความ ทุกสถานีตำรวจต้องมีพนักงานสอบสวนหญิง, แก้กฎหมาย ขยายเวลาให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ได้นานขึ้น เป็น 1 ปี และที่สำคัญต้องเพิ่มบทลงโทษกับผู้กระทำความผิด ควบคุมเนื้อหาของสื่อที่แสดงให้เห็นว่าการล่วงละเมิดทางเพศเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
  3. ผู้หญิงทุกคนต้องได้รับการดูแลสุภาพเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการตรวจและรักษาโรค เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เป็นต้น คนไทยทุกคนตรวจคัดกรองสุขภาพจิตประจำปีฟรีไม่จำกัดอายุ ตรวจสุขภาพกายประจำปีฟรี ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป
  4. ขยายระยะเวลาสิทธิ์ลาคลอดเป็น 6 เดือนรับเงินเดือนเต็ม เกิดปั๊บรับสิทธิ์เงินเเสนเพื่อเป็นค่าเลี้ยงดูที่ช่วยให้ลูกที่เกิดมีความสมบูรณ์แต่วันแรก มีอาหารที่มีคุณภาพ มีศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ ไปจนถึง เรียนฟรีจนถึง ปวส. ถ้าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว

แต่เมื่อหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเนื่องจากไม่สา

หาเสียงแล้วทำไม่ได้!? ย้อนดูนโยบายเพื่อผู้หญิง ปชป. ในห้วงวิกฤตศรัทธาจากคดีปริญญ์

มารถรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนเมื่อตอนหาเสียงได้ว่า จะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้สืบทอดอำนาจ อย่างไรก็ตามคำสัญญาในช่วงหาเสียงเลือกตั้งนี้ก็เหมือนจะไม่มีความหมายเมื่อ อภิสิทธิ์ ลาออก กรรมาการบริหารพรรคชุดใหม่ ภายใต้การนำของ จุรินทร์ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน ที่นำพรรคเข้าร่วมรัฐบาลและได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีใน ครม. ถึง 7 ตำแหน่ง ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และขณะนั้นจุรินทร์เองก็นั่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศด้วย

หากเช็กตามกระทรวงที่พรรคประชาธิปัตย์รับผิดชอบ เราก็ยังไม่เห็นนโยบายที่หาเสียงไปเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการประกันรายได้ต่อปี, โฉนดสีฟ้า, และแอปพลิเคชั่นร้องทุกข์-ให้ความช่วยเหลือผู้หญิง ขณะที่ จุติ ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการพรรคในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง สมัย อภิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค แม้จะไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรคต่อในยุคของจุรินทร์ แต่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งแถลงผลงานของกระทรวง พม. หลังทำงานครบรอบ 2 ปี ไปเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 มีเพียง 2 นโยบายที่สอดคล้องกับนโยบาย “DEM for Women” ที่หาเสียงไว้คือ สร้างศูนย์แม่เลี้ยงเดี่ยวเพื่อฝึกอาชีพและสร้างงาน 9 แห่ง, และมอบเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกว่า 2 ล้านคนเป็นจำนวนเงินราว 14,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 600 บาท/คน/เดือน จนถึงอายุ 6 ขวบ ให้กับเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี ซึ่งรวมแล้วจะได้เงินอุดหนุน 43,200 บาทต่อคน ซึ่งน้อยกว่านโยบายเกิดปั๊บรับสิทธิ์เงินแสน ที่เคยหาเสียงไว้อยู่ดี

 

 

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ หาเสียงแล้วทำไม่ได้!? ย้อนดูนโยบายเพื่อผู้หญิง ปชป. ในห้วงวิกฤตศรัทธาจากคดีปริญญ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook