"เจ๊เกียว" ประกาศขายเชิดชัยทัวร์ ปิดตำนาน 65 ปี พิษโควิด-น้ำมันแพง ขาดทุนต่อเนื่อง

"เจ๊เกียว" ประกาศขายเชิดชัยทัวร์ ปิดตำนาน 65 ปี พิษโควิด-น้ำมันแพง ขาดทุนต่อเนื่อง

"เจ๊เกียว" ประกาศขายเชิดชัยทัวร์ ปิดตำนาน 65 ปี พิษโควิด-น้ำมันแพง ขาดทุนต่อเนื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"เจ๊เกียว" ประกาศขายบริษัทเชิดชัยทัวร์ ปิดตำนาน 65 ปี เจ้าแม่รถทัวร์เมืองไทย หลังเจอพิษโควิดและค่าน้ำมันแพง ขาดทุนต่อเนื่อง

วันนี้ (9 พ.ค.65) ที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถร่วมโดยสาร บขส.และเจ้าของอู่เชิดชัย และบริษัทเดินรถเชิดชัยทัวร์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งค่าน้ำมันดีเซลที่แพงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้บริษัทเดินรถของตนเอง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งบริษัทเชิดชัยทัวร์ ที่มีรถอยู่กว่า 200 คัน วิ่งทั้งสายภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ตอนนี้เหลือรถวิ่งอยู่แค่ 20-30% เท่านั้น อีกประมาณ 70% ต้องหยุดวิ่ง จอดรถทิ้งไว้ที่อู่มานานกว่า 2 ปีแล้ว เพราะประสบกับปัญหาขาดทุน เนื่องจากไม่มีผู้โดยสาร และค่าน้ำมันที่แพงวิ่งรถไม่คุ้มกับค่าโดยสาร โดยเฉพาะรถที่วิ่งสายยาว กรุงเทพฯ ไปจังหวัดต่างๆ ทั้งภาคอีสาน และภาคเหนือ

ตอนนี้หยุดวิ่งเกือบ 100% เหลือเพียงสายสั้น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และจังหวัดภาคตะวันออก เนื่องจากว่าหากนำรถออกวิ่งทุกคัน ต้องแบกรับภาระค่าน้ำมันไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4 ล้านบาท อีกทั้งค่าแรงคนงาน ค่าจ้างพนักงาน จิปาถะ ที่ต้องจ่ายอีกจำนวนมาก

ซึ่งบริษัทเชิดชัยทัวร์ ประกอบธุรกิจรถร่วมโดยสาร บขส.มานานกว่า 65 ปีแล้ว ช่วงตั้งแต่ปี 62 เป็นต้นมา เริ่มประสบกับปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง จนกระทั่งมาเจอการระบาดของไวรัสโควิด-19 และค่าน้ำมันดีเซลที่แพงขึ้นขณะนี้ ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนัก นอกจากนี้พฤติกรรมของประชาชนก็เริ่มเปลี่ยนไป หลายคนไม่นิยมขึ้นรถโดยสาร บขส.แล้ว หันไปซื้อรถเก๋ง รถกระบะ ขับเองกันหมด ส่วนการเกิดขึ้นของสายการบินโลว์คอส ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้คนเลิกขึ้นรถทัวร์ หันไปใช้บริการสายการบินโลว์คอสแทน เพราะค่าโดยสารก็ไม่ต่างกันมาก แต่ใช้เวลาเดินทางเร็วกว่า

ตนเองจึงตัดสินใจแล้วว่าจะเลิกประกอบธุรกิจรถโดยสาร บขส. โดยขายบริษัทเชิดชัยทัวร์ออกไป เพื่อไม่ให้กระทบกับธุรกิจอื่นๆ แม้ว่าจะรู้สึกเสียดาย แต่ในเรื่องธุรกิจหากทำต่อแล้วมีแต่ขาดทุน ก็ไม่รู้ว่าจะทำต่อไปทำไม อีกอย่างตอนนี้ลูกๆ ทั้ง 4 คน ก็มีกิจการเป็นของตัวเองหมดแล้ว ทุกคนก็ไม่มีใครอยากสานต่อธุรกิจเดินรถ บขส. เพราะมีแต่ปัญหาและกำไรน้อย ประกอบกับตนเองก็อายุ 85 ปีแล้ว จึงไม่อยากเหนื่อยกับการต้องทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในบริษัทที่ประสบกับปัญหาขาดทุนอย่างนี้อีกต่อไป จึงอยากวางมือกับธุรกิจรถร่วมโดยสาร บขส. และทุ่มเทเวลาไปให้กับธุรกิจอื่นๆ ที่ยังอยู่ เช่นธุรกิจต่อตัวถังรถโดยสาร, ธุรกิจขายรถยนต์ และธุรกิจให้เช่าที่ดิน เป็นต้น

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook