เพจกฎหมายแรงงานเตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว เข้าข่ายประจาน อาจถูกฟ้องกลับ

เพจกฎหมายแรงงานเตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว เข้าข่ายประจาน อาจถูกฟ้องกลับ

เพจกฎหมายแรงงานเตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว เข้าข่ายประจาน อาจถูกฟ้องกลับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กฎหมายแรงงาน ระบุ โพสต์เลิกจ้างนักข่าว ผิดจรรยาบรรณสื่อ อาจเข้าข่ายประจาน เตือน ระวังถูกฟ้องกลับ

ความคืบหน้าการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ หมอปลา นำทีมผู้สื่อข่าว เข้าไป คุกคามหลวงปู่แสง และพยายามสอบถามความจริง โดยอ้างว่า ได้รับการร้องเรียนว่า “หลวงปู่แสง” มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จนถูกกระแสตีกลับ เนื่องจากมีนักข่าวสาวรายหนึ่งปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม จนเป็นที่มาของการโพสต์ลงโทษจากสำนักข่าวดังกล่าว ด้วยการประกาศเลิกจ้าง โดยให้เหตุผลว่าการกระทำการผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชนในการทำข่าว

ล่าสุดมีข้อมูลที่น่าสนใจจากเพจ “กฎหมายแรงงาน” ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยระบุว่า

เลิกจ้างนักข่าวแล้ว แต่โพสประจาน???

แยกกันให้ออกนะ เรื่องที่เขาทำผิด เขาถูกลงโทษด้วยการเลิกจ้างไปแล้ว โทษจึงล้างการกระทำของเขาไป เอาจริงๆ นะ เห็นโพสของนายจ้างแล้วก็ยังสงสัยเพราะใช้คำว่า “พ้นจากการเป็นผู้สื่อข่าว” แต่ให้ไปอยู่แผนกอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่ใช่เลิกจ้าง แต่เป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง หรือย้ายงานแทน แต่ถ้าเป็นการเลิกจ้าง การโพสชื่อ นามสกุลเขา ทางเพจของสำนักข่าวซึ่งเป็นนายจ้าง อาจต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง การโพสชื่อ นามสกุล หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นอาจเป็นการกระทำในลักษณะการประจานที่เกินขอบเขตมากไป ยิ่งเป็นสื่อที่มีผู้เข้าถึงจำนวนมาก หรือมีผู้ติดตามจำนวนมากต้องระวัง เพราะการได้มาซึ่งข่าวสารที่กระทบหรือล่วงล้ำเข้าไปในสิทธิมากเกินไปอาจทำให้สิ่งนั้นไม่ชอบธรรม

เคยมีคดีที่ลูกจ้างฟังว่านายจ้างเลิกจ้างโดยระบุความผิด และให้ฝ่ายบุคคลส่งหนังสือเลิกจ้างผ่าน E-mail ให้พนักงานในแผนกทราบสาเหตุการเลิกจ้าง ลูกจ้างเห็นว่าได้รับความอับอายและเสียเชื่อเสียงเป็นหมิ่นประและมาท จึงฟ้องนายจ้างและฝ่ายบุคคลเรียกค่าเสียหาย

แต่ศาลพิพากษาว่าการเลิกจ้างตามมาตรา 119 วรรคท้ายอันแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยนายจ้าง ไม่ผิดหมิ่นประมาทและไม่ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) (คำพิพากษาฎีกาที่ 2052/2559)

 ข้อสังเกต

1) คดีนี้เป็นเพียงการแจ้งในแผนก ต่างกับการโพสลงเพจที่มีคนเห็นหลายล้าน โดยมีคนแชร์ข่าวออกไปจำนวนมาก และเป็นบุคคลภายนอก รวมถึงการมีสื่อที่พร้อมจะทำข่าว ผลกระทบจึงเป็นวงกว้าง

2) ในแง่บรรทัดฐาน ถ้ากรณีทำได้ ต่อไปบริษัทใหนเลิกจ้างพนักงานลูกจ้างก็โพสทางเพจบริษัทเพื่อให้สาธารณะรับทราบได้ซึ่งน่าจะมีปัญหาต่อหลักการในระยะยาว และเราๆ ท่าน ๆ ที่อ่านโพสนี้อยู่หากถูกเลิกจ้างก็ไม่ควรถูกโพส ลงเพจบริษัท หรือสื่อสังคมออนไลน์

3) การกระทำเช่นนี้จึงอาจเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณสื่อมวลชนที่ซ้อนเข้ามาอีกกรณีก็เป็นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook