"โดรน" ในสมรภูมิรบยูเครน จุดเปลี่ยนของการทำสงครามยุคใหม่

"โดรน" ในสมรภูมิรบยูเครน จุดเปลี่ยนของการทำสงครามยุคใหม่

"โดรน" ในสมรภูมิรบยูเครน จุดเปลี่ยนของการทำสงครามยุคใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความพยายามของรัสเซียที่จะเข้ายึดครองภูมิภาคดอนบาส ที่ตั้งอยู่ติดพรมแดนรัสเซียทางทิศตะวันออก เนื่องจากภูมิภาคดอนบาสนี้เป็นที่ตั้งของเขตยึดครองของฝ่ายแบ่งแยกดินแดนชาวรัสเซีย คือ โดเนตสก์ และลูฮานสก์ ที่ประธานาธิบดีปูตินเพิ่งประกาศรับรองเป็นรัฐเอกราชไปแล้วทั้ง 2 รัฐ ซึ่งกินพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของภูมิภาคดอนบาส

เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่เพิ่งผ่านมานี้ในยุทธการที่แม่น้ำโดเนตส์เมื่อกองพัน ยานเกราะของรัสเซียข้ามสะพานลอยน้ำเพื่อที่จะตีโอบเป็นรูปคีมหนีบ

กองกำลังของยูเครนที่ประจำการอยู่ที่เมืองเซียเวียโรโดเนตสก์ โดยอีกกองพันยานเกราะจะเข้าตีขนาบ

ก่อนการสร้างสะพานลอยน้ำนั้นฝ่ายรัสเซียได้ระดมยิงระเบิดควันตลอดแนวแม่น้ำเพื่อสร้างเป็นม่านบังตาไม่ให้ฝ่ายยูเครนทราบพิกัดได้ว่าจะสร้างสะพานลอยน้ำเพื่อนำยานเกราะและทหารราบข้ามมาตรงไหน แต่ทางฝ่ายยูเครนส่งโดรนลาดตระเวนออกหาข่าวความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซียทุกวันอยู่แล้ว จึงสามารถทราบพิกัดที่สร้างสะพานลอยน้ำได้อย่างชัด แจ้งเนื่องการสร้างสะพานลอยน้ำเพื่อเคลื่อนกำลังยานเกราะข้ามแม่น้ำนั้นเป็นงานใหญ่ เพราะต้องมีการขนส่งเรือท้องแบนจำนวนมากมาสร้างเป็นฐานของสะพานลอยน้ำจึงมีเสียงอีกทึก ไม่อาจจะรอดสายตาของโดรนซึ่งบินอยู่บนอากาศได้

ฝ่ายยูเครนปล่อยให้การสร้างสะพานลอยน้ำเสร็จสิ้นลงและการลำเลียงทหาราบและยานเกราะข้ามแม่น้ำโดเนตสก์จนใกล้จะเรียบร้อย จึงเปิดฉากระดมยิงปืนใหญ่ที่ทราบพิกัดการยิงที่แน่นอนแล้วทำการละลายกองพันยานเกราะและทหารราบอีกนับพันคนไปโดยสิ้นเชิง นับเป็นความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญยิ่งของกองทัพรัสเซียในยุทธการที่แม่น้ำโดเนตสก์ โดยไม่มีโอกาสปะทะกันซึ่งหน้ากับทหารยูเครนเลย

อาวุธยุทโธปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การสงครามเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ดังที่จะเห็นได้จากการที่อัศวินเกราะเหล็กต้องล้าสมัยไปเมื่อมีการประดิษฐ์ปืนคาบศิลาขึ้นมา และในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือบรรทุกเครื่องบินก็ก้าวขึ้นเป็นราชาในการรบทางทะเลแทนที่เรือประจัญบาน

ดังนั้นในกรณีของสงครามรัสเซีย-ยูเครนขณะนี้ทำให้โลกเห็นแล้วว่าโฉมหน้าของการสงครามต่อจากนี้ไปจะต้องใช้ โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับเป็นอาวุธยุทโธปกรณ์หลักอย่างแน่นอน

FADEL SENNA / AFP

โดรนเป็นอากาศยานซึ่งไม่มีผู้ขับ ลูกเรือ หรือผู้โดยสารที่เป็นมนุษย์อยู่บนเครื่องเลย โดรนอาจบินภายใต้การควบคุมของมนุษย์ผ่านรีโมตคอนโทรล เช่น กรณีของอากาศยานที่ขับจากระยะไกลหรืออาจบินโดยมีอิสระในการบังคับตนเองหลายๆ ระดับ เช่น กรณีของออโทไพลอต (นักบินอัตโนมัติ) ไปจนถึงอิสระอย่างเต็มรูปแบบซึ่งไม่มีมนุษย์เข้าเกี่ยวข้องเลย

เดิมโดรนได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในภารกิจทางทหารที่น่าเบื่อหรือเป็นการเสี่ยงอันครายเกินไปสำหรับมนุษย์ อาทิ การลาดตระเวนค้นหาที่ตั้งของข้าศึก

เมื่อเทคโนโลยีในการควบคุมได้รับการปรับปรุงขึ้นและค่าใช้จ่ายก็ลดลงไปเรื่อยๆ การใช้งานโดรนจึงแพร่ขยายไปถึงกิจกรรมนอกกองทัพ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศ การขนส่งสินค้า การเกษตร การรักษาความสงบเรียบร้อย การลักลอบขนส่งยาเสพติดเป็นต้น

ในสงครามรัสเซียและยูเครนในขณะนี้ โดรนที่ตุรกีผลิตถือเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญที่ยูเครนใช้ในแทบทุกสมรภูมิกับรัสเซีย เนื่องจากตุรกีได้พัฒนาการใช้โดรนเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในยุทธการลับทั้งภายในตุรกีและข้ามพรมแดน เพื่อต่อต้านกองกำลังแยกดินแดนของชาวเคิร์ด หรือ พีเคเค มาตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในมิติของความสามารถในการปฏิบัติการจริงและการผลิตของตุรกี

ห้องควบคุมโดรนของกองทัพตุรกีBirol BEBEK / AFPห้องควบคุมโดรนของกองทัพตุรกี

ตุรกีเริ่มขายโดรนติดอาวุธ Bayraktar TB2 (บายรักทาร์ช ทีบีทู) ให้กับยูเครนตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ซึ่งยูเครนนำไปใช้ในการรบกับพวกแบ่งแยกดินแดนโดเนตสก์และลูฮานสก์จนเชี่ยวชาญ

การใช้โดรนที่สร้างโดยตุรกีนี้เอง ปฏิบัติการทำลายปืนใหญ่วิถีโค้ง D-30 ซึ่งเป็นของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่มีรัสเซียสนับสนุน น่าจะเป็นชนวนให้เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนแล้วเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

ครับ! โดรนเป็นอาวุธชนิดใหม่ที่ถูกนำมาใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครนอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพที่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าของสงครามในอนาคตอย่างสำคัญต่อไปอย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook