ลูกสาวอึ้ง รพ.ผ่าตัดกะโหลกพ่อ เอาชิ้นส่วนอวัยวะใส่ถุงแกงรัดหนังยาง ให้เอากลับบ้าน

ลูกสาวอึ้ง รพ.ผ่าตัดกะโหลกพ่อ เอาชิ้นส่วนอวัยวะใส่ถุงแกงรัดหนังยาง ให้เอากลับบ้าน

ลูกสาวอึ้ง รพ.ผ่าตัดกะโหลกพ่อ เอาชิ้นส่วนอวัยวะใส่ถุงแกงรัดหนังยาง ให้เอากลับบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลูกสาวร้องทนายษิทรา พ่อผ่าตัดสมอง รพ.เอาชิ้นส่วนกะโหลกใส่ถุงให้เอากลับบ้าน แช่ตู้เย็นไว้ 2 วันก็ไม่สบายใจ ทำไมญาติต้องนำชิ้นส่วนอวัยวะไปเก็บไว้เองด้วย

นางสาวภัทร์สุดา และ นายอภิชิต ญาติของ นายอดุลย์ อายุ 52 ปี เข้าปรึกษา นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ กรณีที่ นายอดุลย์ประสบอุบัติเหตุขี่รถจักรยานยนต์ชนท้ายรถกระบะ แล้วเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งย่านบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งหลังผ่าตัดแล้วเสร็จ พยาบาลได้นำชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะบรรจุในถุงพลาสติกรัดหนังยางมาให้ญาตินำกลับไปเก็บรักษาเองที่บ้าน โดยไม่มีบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาตามมาตรฐานให้มาด้วย สร้างความคาใจกับทางญาติว่า ทำไมโรงพยาบาลจึงไม่เก็บรักษาอวัยวะของผู้ป่วยไว้ให้

นางสาวภัทร์สุดา และนายอภิชิต ซึ่งเป็นบุตรสาวและบุตรเขย ของนายอดุลย์ เปิดเผยว่า อุบัติเหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลดังกล่าวได้ทำการผ่าตัดบิดาหลังเกิดเหตุทันที เนื่องจากศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ซึ่งหลังผ่าตัดแพทย์บอกว่าอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว จากนั้นพยาบาลก็ได้นำชิ้นส่วนกะโหลกของบิดามาให้ไปเก็บเอง โดยบอกแค่เพียงว่าเผื่อไว้ใช้งาน ตนจึงนำไปเก็บไว้ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นที่บ้านรวมกับของสดอื่นๆ อยู่ถึง 2 วัน ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจจึงไปสอบถามกับทางโรงพยาบาลเพื่อถามว่า ทำไมญาติต้องนำชิ้นส่วนอวัยวะของญาติไปเก็บไว้เองด้วย และได้มีการโต้เถียงกับแพทย์ที่ดูแลอาการของบิดาในห้องไอซียู ก่อนที่แพทย์จะบอกว่าให้นำชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะกลับมาคืนเพื่อเก็บที่โรงพยาบาล

จากนั้นจึงนำกะโหลกศีรษะของบิดามาคืนในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ แต่บิดาก็มาเสียชีวิตวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทำให้บรรดาญาติไม่พอใจว่า การที่ไปโต้เถียงกับแพทย์ผู้รักษาอาจเป็นสาเหตุให้แพทย์ไม่ดูแลจนทำให้บิดาต้องเสียชีวิตหรือไม่ จึงมาปรึกษาทางกฏหมายกับนายษิทรา ว่ากรณีดังกล่าวเป็นวิธีการโดยทั่วไปของโรงพยาบาลเกี่ยวกับการเก็บรักษาชิ้นส่วนอวัยวะของผู้ป่วยหรือไม่ เพราะการเก็บชิ้นส่วนอวัยวะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม รวมทั้งบรรจุภัณฑ์และตู้แช่เย็นที่ปลอดเชื้อ ซึ่งทางโรงพยาบาลที่ทำการรักษาก็ไม่ได้บอกรายละเอียดวิธีการใดๆ เลย

ทางญาติจึงอยากให้โรงพยาบาลชี้แจงว่า การให้ญาตินำชิ้นส่วนอวัยวะของผู้ป่วยไปเก็บเอง มีนโยบายเช่นนี้จริงหรือไม่ เพราะคาใจว่าทำไมทางโรงพยาบาลจึงไม่เก็บรักษาไว้เองทั้งที่มีอุปกรณ์ที่พร้อมกว่า แต่ยังไม่มีความประสงค์ที่จะเอาผิดหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับทางโรงพยาบาลแต่อย่างใด

นายษิทรา เปิดเผยว่า จากการสอบถามแพทย์ จากโรงพยาบาลอื่นทราบว่า การเก็บชิ้นส่วนอวัยวะของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโรงพยาบาล แต่ส่วนใหญ่ทางโรงพยาบาลจะเก็บไว้เอง เพราะรู้วิธีการและมีอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานกว่าให้ญาตินำไปเก็บไว้เองที่บ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook