"ฟิลลิป มอร์ริส" เฮ! ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดค่าปรับเลี่ยงภาษีบุหรี่ เหลือ 121 ล้าน

"ฟิลลิป มอร์ริส" เฮ! ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดค่าปรับเลี่ยงภาษีบุหรี่ เหลือ 121 ล้าน

"ฟิลลิป มอร์ริส" เฮ! ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดค่าปรับเลี่ยงภาษีบุหรี่ เหลือ 121 ล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ฟิลลิป มอร์ริส" ได้เฮ หลังศาลอุทธรณ์พิพากษาลดค่าปรับการเลี่ยงภาษีบุหรี่ จาก 1.2 พันล้าน เหลือจ่ายแค่ 121 ล้าน พร้อมสั่งจ่ายค่าสินบนนำจับ 30%

เมื่อวานนี้ (1 มิ.ย.) ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำที่ อ.185/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) จำกัด โดยนายเจอรัลด์ มาโกลีส ผู้จัดการสาขา บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 กับพวกรวม 8 ราย เป็นจำเลย ฐานสำแดงราคานำเข้าบุหรี่เป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร

ทั้งนี้ อัยการ ในฐานะโจทก์ฟ้องโดยสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 28 ก.ค. 46 - 24 มิ.ย. 49 บริษัท ฟิลลิปฯ กับพวก ได้ร่วมกันนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร (MARLBORO) และยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม (L&M) เข้ามาในราชอาณาจักร และร่วมกันบังอาจสำแดงเท็จโดยฉ้อโกงและออกอุบายด้วยการยื่นใบขนส่งสินค้าขาเข้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรมศุลกากร เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงราคาอันเป็นเท็จ ไม่ตรงตามราคาที่แท้จริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นความผิดทั้งสิ้น 272 ครั้ง โดยรวมราคาของสินค้าบุหรี่บวกกับราคาภาษีอากร ที่หลีกเลี่ยงเป็นเงินทั้งสิ้น 20,210,209,582.50 บาท โดยจำเลยทั้ง 8 ราย ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษปรับ 4 เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่มในทุกกระทงความผิดรวม 272 กระทง เป็นเงิน 1,225,990,671.50 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนจำเลยที่ 2-8 พิพากษายกฟ้อง ต่อมาอัยการโจทก์และจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จำนวนสองเท่าครึ่งของค่าอากร ที่ต้องเสียรวม 272 กระทง เป็นเงิน 121,578,788 บาท และให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับร้อยละ 30 ของค่าปรับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า หากคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สามารถยื่นฎีกาได้ภายใน 30 วันตามกฎหมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook