รู้จัก "แอล-ทริปโตเฟน" สารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ลูกหลับอย่างมีคุณภาพ พร้อมพัฒนาสมองได้เต็มศักยภาพ

รู้จัก "แอล-ทริปโตเฟน" สารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ลูกหลับอย่างมีคุณภาพ พร้อมพัฒนาสมองได้เต็มศักยภาพ

รู้จัก "แอล-ทริปโตเฟน" สารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ลูกหลับอย่างมีคุณภาพ พร้อมพัฒนาสมองได้เต็มศักยภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ลูกไม่ยอมนอน นอนน้อย ไม่นอนกลางวัน กลางคืนตื่นบ่อย” ปัญหาโลกแตกของพ่อแม่ทั่วโลกจนเกิดงานวิจัยมากมายที่ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า คุณภาพการนอนของเด็กมีผลต่อสมอง พัฒนาการ และอารมณ์ของพวกเขาอย่างแน่นอน เพราะเวลามากกว่า 50% ของเด็กในช่วงสามขวบปีแรกของชีวิตคือการนอน


เนื่องจากการเติบโตและการพัฒนาของสมองในเด็กจะเพิ่มขนาดเกือบสองเท่าช่วงสามปีแรก ขณะหลับสมองจะตัดการรับสัญญาณรบกวนอื่น ๆ และทำการจัดเก็บความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันไปยังสมองส่วนกลีบขมับและสมองกลีบหน้า เพื่อเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้นและความทรงจำระยะยาวตามลำดับ โดยเซลล์ต่างๆ ที่จะเกิดการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เรียกว่า ไซแนปส์ (synapse) และการสร้างไมอีลิน (Myelin) หรือปลอกเยื่อหุ้มประสาททำให้สามารถดึงความรู้ที่มีอยู่ประสานกันอย่างเป็นระบบ นอกจากสมองจะทำการเชื่อมต่อเซลล์ต่างๆ ขณะหลับแล้ว ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ก็จะหลั่งมากในเวลากลางคืนด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเด็กนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่

ระยะเวลาการนอนที่สั้นหรือนอนไม่เต็มอิ่ม ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น กลไกลการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองนับพันล้านเซลล์หรือที่เรียกว่าไซแนปส์ (Synapse) จะทำงานอย่างแข็งขันขณะหลับ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน Wisconsin พบว่า ขณะที่พวกเขาหลับ สมองจะหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ จดจำ แนะนำประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งวันไปจัดเรียงข้อมูลภายในสมอง เพื่อสร้างเป็นความทรงจำระยะยาว และช่วยให้สมองสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อตื่นนอน

ที่สำคัญ คลื่นสมองของเด็กระหว่างตื่นนอนและยามหลับมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก สมองของเด็กจะตื่นตัวและพร้อมเรียนรู้ตลอดเวลาแม้ยามหลับ เท่ากับว่า ยิ่งเด็กนอนน้อย ตื่นบ่อยเท่าไร ก็เหมือนกำลังเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพของสมองนั่นเอง

เฝิงเจี้ยนเฟิง ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฟู่ต้าน ในเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโมเลคิวลาร์ ไซไคอะทรี (Molecular Psychiatry) ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการนอนหลับและโครงสร้างสมอง พบว่า ระยะเวลานอนหลับที่สั้นลง สัมพันธ์กับปริมาตรสมองที่ลดลง ในบริเวณเปลือกสมองส่วนออร์บิโทฟรอนทัล คอร์เท็กซ์ (orbitofrontal cortex) ที่เชื่อมโยงกับกระบวนการตัดสินใจ, สมองกลีบหน้าและสมองกลีบขมับ (prefrontal and temporal cortex) ที่ควบคุมการแสดงอารมณ์และการประมวลผล, สมองส่วนพรีคิวเนียส (precuneus) ที่เกี่ยวข้องกับความจำ และรอยนูนซูปรามาร์จินัล (Supramarginal gyrus) ที่เกี่ยวเนื่องกับการประมวลผลทางภาษา

งานวิจัยหลายชิ้นยังให้ข้อสรุปในทิศทางเดียวกันว่า การนอนของเด็กสัมพันธ์กับไอคิว เด็กที่นอนได้ดีตั้งแต่ยังเล็กมีไอคิวที่สูงกว่าเด็กที่มีปัญหาการนอน และเมื่อถึงวัยที่เด็กต้องไปโรงเรียน เด็กที่นอนได้ดีมีผลการเรียนที่ดีกว่าเด็กที่มีปัญหาการนอน

ดร.ไมเคิล ลิม ที่ปรึกษาแผนกกุมารเวชกรรมโรคปอดเด็กและการนอนหลับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีของการนอนที่มีคุณภาพในเด็กเล็กว่า นอกจากจะเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายยังช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และช่วยในการซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยให้เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และยังเป็นเวลาของการช่อมแซ่มหัวใจและหลอดเลือดของเด็ก

 


“โภชนาการที่ดี” กุญแจสำคัญที่ช่วยให้การนอนหลับของเด็กมีคุณภาพ

เพื่อให้การนอนหลับของลูกเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพ สมองได้ทำงานเต็มที่ และพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในยามตื่น นอกจากการฝึกนิสัยการนอน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการหลับ โภชนาการและสารอาหารสำคัญ ก็เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้การนอนหลับของเด็กมีคุณภาพ

จริงๆ แล้ว มีสารอาหารหลายชนิดที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองขณะหลับ แต่สารอาหารที่สำคัญที่สุดคือ แอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan) กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ช่วยในการสื่อสารของเซลล์ประสาทและการทำงานของสมอง และยังช่วยควบคุมการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น แต่เนื่องจากแอล-ทริปโตเฟน เป็นกรดอะมิโนชนิดจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องได้รับจากอาหาร เช่น นม เนย ไข่แดง เนื้อสัตว์ ปลา ไก่งวง ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ กล้วย โดยสมองจะเปลี่ยน แอล-ทริปโตเฟน เป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ให้เป็นสารที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบสื่อประสาท จึงช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับนาน หลับลึก และหลับอย่างมีคุณภาพ



นอกจาก แอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan) ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี 12 มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง, DHA และโคลีน สารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างการทำงานของสมอง และยังมี สฟิงโฟไมอีลิน, แอลฟา-แล็คตัลบูมิน, โอเมก้า 3,6,9 ล้วนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาได้เต็มศักยภาพทั้งยามหลับและตอนตื่นเช่นกัน

"เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งยามหลับและยามตื่น" คุณแม่ยุคใหม่ที่อยากให้สมองของลูกพัฒนาได้เต็มศักยภาพ นอกจากจะเสริมการเรียนรู้ระหว่างวันและสร้างวินัยการนอนที่ดี การเสริมด้วยสารอาหารที่จำเป็นอย่าง “แอล-ทริปโตเฟน” จะช่วยให้ลูกนอนหลับอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพสมวัยได้อย่างแน่นอน

[Advertorial] 

อ้างอิง

  1. https://science.wisc.edu/2019/09/18/sleep-in-child-development/
  2. https://sg.theasianparent.com/sleep-deprivation-in-kids/
  3. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32015467/
  4. Gilmore JH, et al. Nat Rev Neurosci. 2018 Feb 16; 19(3): 123–137.
  5. 5.. Jiang F, et al. Ann Nutr Metab. 2019;75 Suppl 1:44-54.
  6. Cheng W, et al. Mol Psychiatry. 2021 Aug;26(8):3992-4003.
  7. Shin Lee K, et al. International Journal of Behavioral Medicine. 2022
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook